ต๋าจี่ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ ถันกี ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เอกสารไทยโบราณเรียกเพี้ยนเป็น ขันกี (จีน: 妲己; พินอิน: Dájǐ; เวด-ไจลส์: Ta2-chi3; ยฺหวิดเพ็ง: Taan2 Gei2) เป็นชายาคนโปรดของโจ้วหวัง (紂王; ฮกเกี้ยนว่า "ติวอ๋อง") กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ชาง (商朝) แห่งจีนโบราณ

ต๋าจี่
妲己  (จีน)
ภาพสลักต๋าจี่ที่วัด Ping Sien Si ในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย
เกิดประมาณ 1076 ปีก่อน ค.ศ.
ตายหลัง 1046 ปีก่อน ค.ศ.
สวามีพระเจ้าชางโจ้ว
พระนามเต็ม

อย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (唐朝) เกิดร่ำลือกันว่า ต๋าจี่เป็นปิศาจจิ้งจอก (狐狸精)[2] ข่าวลือยิ่งโด่งดังเมื่อได้รับการใส่ไว้ในนวนิยายหลายเรื่องในสมัยราชวงศ์หมิง (明朝) เช่น อู่หวังฝาโจ้วผิงฮฺว่า (武王伐紂平話; "เล่าเรื่องอู่หวังปราบโจ้ว"), เฟิงเฉินหยั่นอี้ (封神演義; "วีรคติเรื่องสถาปนาเทวดา"), และ ตงโจวเลี่ยกั๋วจื้อ (東周列國志; "บันทึกเรื่องรัฐต่าง ๆ สมัยโจวตะวันออก")[3] ทำให้นางเป็นที่จดจำในวัฒนธรรมจีนในฐานะตัวอย่างของหญิงงามล่มเมือง

นอกจากนี้ ช่วงราชวงศ์ซ่ง (宋朝) ยังเกิดลัทธิบูชาปิศาจจิ้งจอกซึ่งหลายกลุ่มนับถือตาจี๋ ทางการกำหนดให้เป็นลัทธินอกกฎหมาย และใน ค.ศ. 1111 จักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง (宋徽宗) ยังรับสั่งให้ทำลายศาลปิศาจจิ้งจอกหลายแห่งในนครหลวงเปี้ยนจิง (汴京) รวมถึงศาลของต๋าจี่[4] แต่ไม่เคยปราบปรามสำเร็จ[5]

อ้างอิง

แก้
  1. Guoyu
  2. Huntington, Rania (2003). Alien kind : foxes and late imperial Chinese narrative. Cambridge: Harvard University Press. p. 195. ISBN 9780674010949.
  3. Epstein, Maram (2001). Competing discourses: Orthodoxy, authenticity, and endangered meanings in late Imperial Chinese fiction. Cambridge: Harvard University Asia Center. p. 136. ISBN 9780674005129.
  4. Lin, Fu-shih. ""Old Customs and New Fashions": An Examination of Features of Shamanism in Song China". Modern Chinese Religion I. Leiden: Brill. pp. 262–263. ISBN 9789004271647.
  5. Kang, Xiaofei (2006). The cult of the fox: Power, gender, and popular religion in late imperial and modern China. New York: Columbia University Press. pp. 37–39. ISBN 9780231133388.