สัก (พรรณไม้)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สัก เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สักมักจะได้รับความเข้าใจผิดเสมอว่าเป็นไม้เนื้อแข็งเนื่องจากว่ามันมีลักษณะพิเศษที่เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความทนทานกว่าไม้เนื้อแข็งหลาย ๆ ชนิด ชื่อสามัญอื่นอื่น: เซบ่ายี้, ปีฮือ, ปายี้, เป้อยี สีขายขนมเส้น
สัก | |
---|---|
ผลและใบของต้นสัก | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | แอสเทอริด Asterids |
อันดับ: | กะเพรา Lamiales |
วงศ์: | วงศ์กะเพรา Lamiaceae |
สกุล: | Tectona Tectona L.f. |
สปีชีส์: | Tectona grandis |
ชื่อทวินาม | |
Tectona grandis L.f. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้- ลำต้น : เป็นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ
- ใบ : เป็นใบเดี่ยวใหญ่มาก ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายใบแหลมโคนมน ยาว 25 - 30 เซนติเมตร กว้างเกือบเท่ายาว ใบของต้นอ่อนจะใหญ่กว่า นี้มาก ผิวใบขนสากคายสีเขียวเข้ม ขยี้ใบสดจะมีสีแดงเหมือนเลือด มีการสลัดใบทิ้งเมื่อถึงฤดูหนาว
- ดอก : มีขนาดเล็ก สีขาวนวลออกเป็นช่อตาม ปลายกิ่ง ออกดอกและเป็นผลเดือน มิถุนายน - ตุลาคม
- ผล : เป็นผลแห้งค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ภายในมี 1 - 3 เมล็ด
การขยายพันธุ์
แก้การเพาะเมล็ด
แก้นำเมล็ดแช่น้ำ 2 วัน สลับผึ่งแดด 1 วัน รวม 15 วัน แล้วหว่านในแปลงเพาะให้กระจัดกระจายทั่วกัน กลบด้วยวัสดุเพาะชำ สูงประมาณ 3-5 มิลลิเมตร หรืออาจทำร่องแล้วหว่านลงในร่องจะสะดวกในการกลบ และเมล็ดจะงอกอย่างเป็นระเบียบ แปลงเพาะควรอยู่กลางแจ้ง เมล็ดสักจะงอกไม่พร้อมกัน บางเมล็ดงอกภายใน 3 สัปดาห์ บางเมล็ด 2 ปีจึงงอก
การปักชำ
แก้เลือกไม้สายพันธุ์ดีที่ต้องการขยายพันธุ์ (ต้นแม่พันธุ์) เลือกตัดชิ้นส่วนของไม้ที่พัฒนาเป็นกล้าไม้ได้ง่าย นำไปกระตุ้นการออกรากและลำต้นด้วยสารเคมี (สารเคมีมีขายตามท้องตลาด)
นำส่วนของพืชที่ได้รับการกระตุ้นแล้วไปไว้ในโรงเรือนที่สามารถควบคุมความชื้นและอุณหภูมิได้ และดูแลจนกว่าส่วนของพืชที่นำมาปักชำจะสร้างรากและลำต้น นำกล้าไม้ที่ออกรากและลำต้นไปอนุบาลจนกล้าไม้เริ่มแข็งแรง นำกล้าไม้ออกไปกลางแจ้งเพื่อให้กล้าไม้ปรับตัวและแข็งแรงพอที่จะนำไปปลูกได้
ประโยชน์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ต้นสักที่ใหญ่และมีอายุมากที่สุดในโลก
แก้ต้นสักที่ใหญ่และมีอายุมากที่สุดในโลกมีอายุมากกว่า 1,500 ปี ได้รับชื่อพระราชทานนามว่า มเหสักข์ อยู่ภายในวนอุทยานต้นสักใหญ่ บ้านปางเกลือ ตำบลน้ำไคร้ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความสูง 47 เมตร ลำต้นเส้นวงรอบ 10 เมตร 23 เซนติเมตร ใช้ 9 คนโอบโดยรอบ ขนาดความโต 1020 .7 เซนติเมตร ซึ่งเฉลี่ยโตขึ้นปีละ 1.3 เซนติเมตร[2][3]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Tectona grandis L.f. — The Plant List". The Plant List. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-03. สืบค้นเมื่อ 2016-07-21.
- ↑ https://mgronline.com/local/detail/9540000041622
- ↑ http://www.fm91bkk.com
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Beach, Chandler B., บ.ก. (1914). . . Chicago: F. E. Compton and Co.