ตุ้มน้ำหนัก (อังกฤษ: weight หรือ mass) คือวัสดุที่ใช้สำหรับเทียบค่าน้ำหนัก ซึ่งกำหนดให้มีรูปร่างลักษณะทางชั่งตวงวัดโดยเฉพาะ ตามกฎหมายประเทศไทย สำนักชั่งตวงวัด สังกัดกรมการค้าภายใน[1] เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแล มาตรฐานตุ้มน้ำหนักของไทย ได้กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัดไทย พ.ศ. 2542[2] ว่า ตุ้มน้ำหนัก คือ ตุ้มแสดงน้ำหนักที่ใช้ในการชั่ง ทั้งยังกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับตุ้มนำหนักด้วย ตาม พรบ.ดังกล่าวมีตุ้มนำหนักอยู่ 2 ชนิด คือตุ้มน้ำหนักที่ไม่ได้ใช้ชั่งอัญมณี และตุ้มน้ำหนักที่ใช้ชั่งอัญมณี

หน่วยน้ำหนักเมตริก แก้

เนื่องจากนิยามหน่วยน้ำหนัก ที่กำหนดโดยสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (International Bureau of Weights and Measures; BIPM หรือ IBWM) ตามอนุสัญญาเมตริก (Convention du Mètre หรือ Metre Convention) หรือสนธิสัญญาเมตริก งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาเมตริกและรับเอาวิธีเมตริกมาเป็นหลักการชั่งตวงวัดของประเทศเมื่อ พ.ศ. 2455  เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน กำหนดให้ใช้หน่วยเป็น กิโลกรัม ซึ่งหมายถึง แท่งโลหะต้นแบบหรือตุ้มน้ำหนักต้นแบบ (เรียก แบบประถมสากลหน่วยกิโลกรัม[3]) ที่กำหนดร่วมกันระหว่างสมาชิก เป็นกิโลกรัม และต่อมาได้จำลองน้ำหนักให้กับตุ้มกิโลกรัมอื่น ๆ เพื่อนำไปเป็น ต้นแบบให้กับการผลิตตุ้มน้ำหนักอื่น ๆ สำหรับนำไปกำหนดเป็นค่าน้ำหนักให้กับเครื่องชั่งชนิดต่างในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องชั่ง[3]

เนื่องจากความหลากหลายในงานและความต้องการ จึงมีความพยายามที่จะแบ่งระดับชั้นตุ้มน้ำหนัก ให้หลากหลาย เพื่อการใช้งานต่าง ๆ จึงได้ร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิก กำหนดมาตรฐานตุ้มน้ำหนักออกเป็นประเภทต่าง คือ E1,E2, F1, F2, M1, M1-2, M2, M2-3, M3 โดยใช้ความสามารถในการรักษาค่าผลผิดเป็นตัวกำหนด ซึ่งความสามารถเช่นนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุ รูปร่าง ขนาด ความหนาแน่น การเก็บรักษาจัดการตุ้มน้ำหนัก เป็นต้น

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สำนักงานกลางชั่งตวงวัด". www.cbwmthai.org.
  2. พระราชบัญญัติชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 สำนักงานกลางชั่งตวงวัด, กรมการค้าภายใน.
  3. 3.0 3.1 คำนิยามและความเป็นมาของหน่วยมวล (DEFINITION AND REALIZATION OF THE UNIT OF MASS) "สำนักงานกลางชั่งตวงวัด". www.cbwmthai.org.