ตำบลถลุงเหล็ก (อำเภอโคกสำโรง)
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ถลุงเหล็ก เป็นตำบลในอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
ตำบลถลุงเหล็ก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Thalung Lek |
คำขวัญ: ข้าวหอมมะลิเกรียงไกร พระสังขจายเชิดชู แหล่งค้าลูกหมูดี ประเพณีแมงตับเต่า | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลพบุรี |
อำเภอ | โคกสำโรง |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 3,752 คน |
รหัสไปรษณีย์ | 15120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 160303 |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลถลุงเหล็กตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของอำเภอโคกสำโรง และห่างจากตัวอำเภอประมาณ 4 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลอื่น ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลวังจั่น อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
- ทิศใต้ ติดกับ ตำบลวังขอนขว้าง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
- ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
- ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลดงพลับ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
ประวัติ
แก้ส่วนนี้ต้องเรียบเรียงภาษาใหม่ หรือต้องพิสูจน์อักษร |
เมื่อประมาณ 150 ปีที่ผ่านมา ได้มีกลุ่มบุคคลได้พากันย้ายบ้านเรือนของพวกตนมาจากหมู่บ้านต่างๆ ทางภาคอีสานหรือมาจากเวียงจันทน์ เป็นต้น ได้รวมกันมาตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นเป็นครั้งแรกอยู่ริมฝั่งของคลองห้วยใหญ่ (คลองสนามแจงในขณะนี้) ซึ่งอยู่ในระหว่างกึ่งกลางของหมู่บ้านดงพลับ ตำบลดงพลับ อำเภอบ้านหมี่ กับหมู่บ้านวังจั่น อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรีในขณะนี้ แล้วเขาจึงตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านวังตาคลอง”
ต่อมาพวกชาวบ้านวังตาคลองกลุ่มนี้ได้พากันมาพบเห็นป่าดงโนนมะกอก มีบริเวณเป็นพื้นที่ราบกว้างขวางมาก และบางแห่งนั้นก็มีเนินดินกองเป็นโนนสูง และฤดูฝนน้ำก็ไม่ท่วมอีกด้วย เป็นการเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนได้เป็นอย่างดี บริเวณพื้นที่รอบด้านนอกของป่าโนนมะกอกโดยทั่วไปนั้น มีพื้นที่กว้างขวางมากเป็นการเหมาะสมในการทำมาหากินทำนาทำไร่ได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยมีทั้งแหล่งน้ำต่างๆ มีทั้งห้วยหนองลำคลองน้อยใหญ่มีอยู่ทั่วไป กับทั้งปูปลาผักหญ้าก็หากินง่าย และพวกเขายังได้มาพบเห็นเศษก้อนหินเล็กๆ น้อยๆ หรือกากก้อนหินคล้ายๆ กับถูกเผาไฟมาแล้ว กองกระจัดกระจายเป็นกองสูงอยู่ทั่วไปอยู่ที่บนโนนมะกอก จึงได้พากันสันนิษฐานว่าป่าดงมะกอกแห่งนี้คงเคยได้เป็นเตาหลอมเหล็กของบ้านคนเราในสมัยโบราณเป็นเวลานานมาแล้วประมาณหลายร้อยปี หรือเป็นพันปีที่ได้ผ่านมาแล้ว ชาวบ้านวังตาลองก็ได้ย้ายบ้านเรือนของตนออกมาจากหมู่บ้านวังตาคลอง แล้วได้มาทำการสร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่อยู่ทางทิศตะวันออกของป่าโนนมะกอกเป็นครั้งแรกของหมู่บ้านถลุงเหล็ก แล้วพวกเขาก็พากันตั้งชื่อบ้านว่า คุ้มบ้านโนนมะกอก ส่วนว่าบ้านวังตาคลองเมื่อคนพากันอพยพบ้านเรือนออกหนีไปหมดแล้ว พวกชาวบ้านโดยทั่วไปพากันเรียกท่าน้ำแห่งนี้ว่า วังบ้านเก่าวังตาคลอง ต่อมา
การตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นในหมู่บ้านถลุงเหล็กครั้งแรกนั้น โดยการนำพาของบุคคลหลายเชื้อสาย อาทิเช่น คนเชื้อสายพ่อเฒ่าจีน แม่เฒ่ากองศรี ต้นนามสกุล “จินดา” คนเชื้อสายพ่อเฒ่าสี แม่เฒ่าหน่อย ต้นนามสกุล “นำใน” คนเชื้อสายพ่อเฒ่าอินทร์ แม่เฒ่าดี ต้นนามสกุล “พรมรักษา” คนเชื้อสายของพ่อเฒ่าคง แม่เฒ่ามิ ต้นสกุล “คงชาวนา” คนเชื้อสายพ่อเฒ่าอ่อน แม่เฒ่ามี ต้นสกุล “พิมพ์ทองงาม” คนเชื้อสายพ่อเฒ่าทอง แม่เฒ่าจันดา ต้นสกุล “แสงก่ำ” คนเชื้อสายพ่อเฒ่าสุข แม่เฒ่ากันหา ต้นสกุล “สุขสบาย” และเชื้อสายของบุคคลอื่นๆ อีกเป็นต้น ข้าพเจ้าคนเขียนไม่สามารถจะจดจำเรื่องราวของคนเฒ่าคนแก่เล่าเรื่องให้ฟังจนหมดได้ ในสมัยของคนเราได้พากันมาตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นอยู่ในหมู่บ้านถลุงเหล็กในครั้งแรกนั้น คนไทยเรายังไม่มีการใช้นามสกุล ในสมัยนั้นทางราชการบ้านเมืองได้เอาชื่อพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ของเราเป็นการแทนนามสกุลมาเป็นเวลานาน ต่อมาจนถึงในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ท่านได้ตราพระราชบัญญัติขึ้นให้คนไทยเรามีการใช้นามสกุลเป็นครั้งแรก ประมาณวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 จึงได้มีนามสกุลของคนเชื้อสายดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
หลังจากพวกชาวบ้านวังตาคลองมาตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นที่คุ้มบ้านโนนมะกอกเป็นครั้งแรกแล้ว และต่อมาก็ได้มีคนทั่วไปได้พากันอพยพครอบครัวของพวกเขาเข้ามาอยู่รวมกับคุ้มบ้านเนินมะกอกเรื่อยๆ เป็นต้นว่ามาจากบ้านดงแกเครือ , บ้านพุคา , บ้านกุดขี่ , บ้านท่าแค , บ้านดงสวอง-หนองแขม , บ้านครัว (สระบุรี) , บ้านคลองมะขามเทศ (ท่าวุ้ง) , บ้านเช่า (บ้านหมี่) , หล่มสัก (เพชรบูรณ์) , ภาคอีสาน และคนมาจากเมืองจันทน์ เป็นต้น ได้พากันทยอยเข้ามาเรื่อยๆ แล้วได้มาสร้างบ้านเรือนรวมกันเป็นกลุ่มๆ อยู่ในบริเวณพื้นที่ของป่าโนนมะกอก แล้วจึงพากันตั้งชื่อบ้านของพวกตนว่า คุ้มบ้านโนนมะกอก , คุ้มบ้านหนองป่าชี ฐ คุ้มบ้านต้นมะขามใหญ่ , คุ้มบ้านโนนวัดร้าง เป็นต้น รวมแล้วมี 4 คุ้มบ้านด้วยกัน แต่ว่าในขณะนั้นคุ้มบ้านดังกล่าวยังไม่มีวัดจะให้พระสงฆ์และสามเณรอยู่เพื่อประกอบการทางศาสนาแต่อย่างใด แต่มาพวกชาวบ้านคุ้มต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว ได้ร่วมกันปรึกษาหารือกัน คิดจุสร้างวัดไว้เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่อไป
จึงได้พากันไปหาเพื่อเป็นการปรึกษาหารือกับท่านพระสงงฆ์ที่ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยนั้น มาช่วยพิจารณาเลือกสถานที่ที่จะทำการก่อสร้างวัดต่อไป กับท่านพระสงฆ์องค์หนึ่งท่านมีฉายานามว่า “พระจันทะบาล” บางคนเรียกว่าพระพุทธบาล ท่านเป็นคนที่มีเชื้อสายอยู่ในกลุ่มบุคคลที่ได้มาตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นในหมู่บ้านถลุงเหล็กเป็นครั้งแรก แต่ในขณะนั้นท่านอยู่วัดในอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี แต่จะเป็นวัดอะไรนั้นไม่ทราบ มีแต่คนรุ่นเก่าได้เล่าต่อๆ กันมา ว่าท่านพระจันทะบาลองค์นี้ท่านเป็นพี่ชายของหลวงพ่อแป้น และหลวงพ่อแป้นองค์นี้ในขณะนั้นท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดหนองบัว และวัดคลองเกตุ อำเภอโคกสำโรงในขณะนั้น
ท่านพระจันทะบาลก็ได้มาช่วยเลือกหาดูสถานที่ที่จะทำการก่อสร้างวัดได้เป็นครั้งแรกนั้น คือบริเวณพื้นที่วัดศิริมงคล วัดถลุงเหล็กใหญ่ของพวกเราอยู่ในขณะนี้ เพราะว่าในขณะนั้นพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นป่าดงโพรงหญ้าและป่าไม้น้อยใหญ่มีอยู่ทั่วไป ประกอบด้วยตามบริเวณพื้นที่ดังกล่าวมีสันดินเป็นเนินสูง และมีหนองน้ำใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกของสถานที่นั้นด้วย พวกชาวบ้านเรียกว่าหนองสำโรงใหญ่ เพราะมีต้นสำโรงใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหนองน้ำนั้น และเป็นหนองน้ำสำหรับที่กักเก็บน้ำไว้กินไว้ใช้ของชาวบ้าน คุ้มบ้านโนนมะกอก , คุ้มบ้านหนองป่าขี่ , คุ้มบ้านต้นมะขามใหญ่ , คุ้มบ้านโนนวัดร้าง อยู่ก่อนแล้ว คุ้มบ้านดังกล่าวได้ช่วยทำการก่อสร้างวันขึ้นเป็นครั้งแรกในสถานที่ดังกล่าวแล้ว เพื่อจะให้พระสงฆ์และสามเณรอยู่ในวัด ได้ช่วยกันดูแลรักษาหนองน้ำไว้ ไม่ให้วัวควายลงมากินน้ำนอนในน้ำเหมือนแต่ก่อนที่ผ่านมา
เมื่อพวกชาวบ้านในหมู่บ้านดังกล่าวได้ช่วยกันทำการสร้างวัดขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่วัดนั้นยังไม่มีพระอุโบสถหรือโบสถ์ของวัดไว้เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของพระสงฆ์และพวกชาวบ้านในขณะนั้น พวกชาวบ้านพร้อมด้วยพระสงฆ์ได้พากันไปทำการสร้างศาลาหลังเล็กๆ ไว้ในหนองน้ำอยู่ติดกับลำคลองห้วยน้อยหรือคลองโพนทองอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัด ไกลจากวัดประมาณ 100 เมตร เป็นครั้งแรกแล้วเรียกว่า “ฉิม” ไว้แทนพระอุโบสถ เพื่อทำพิธีกรรมทางศาสนาของพระสงฆ์ในขณะนั้น ต่อมาพวกชาวบ้านทั่วไปเรียกหนองน้ำแห่งนี้ว่าท่าฉิมต่อมาถึงทุกวันนี้ ต่อมาพวกชาวบ้าน คุ้มบ้านโนนมะกอก , คุ้มบ้านหนองป่าขี่ , คุ้มบ้านต้นมะขามใหญ่ , คุ้มบ้านโนนวัดร้าง ได้ช่วยกันทำการขุดสระน้ำที่หนองน้ำต้นสำโรงใหญ่เป็นครั้งแรกแล้วเรียกว่าสระน้ำต้นสำโรงใหญ่ เพราะมีต้นสำโรงใหญ่อยู่ริมสระน้ำ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2479 ต้นสำโรงใหญ่ดังกล่าวถูกลมพายุพัดอย่างแรงมาก ได้หักโค่นล้มลงทับศาลาการเปรียญเสียหายไปด้วย สระน้ำดังกล่าวนี้อยู่ที่วัดศิริมงคล (วัดถลุงเหล็กใหญ่) ในขณะนี้
หลังจากนั้นต่อมาได้มีพ่อเฒ่าสุก แม่เฒ่ากันหา ต้นสกุลสุขสบาย , พ่อเฒ่าเท่อ แม่เฒ่าซารี่ ต้นสกุล , พ่อเฒ่าทอง แม่เฒ่าจันดา ต้นสกุลแสงก่ำ พร้อมด้วยครอบครัวของคนอื่นๆ อีกหลายครอบครัวในสมัยนั้นได้พากันย้ายบ้านเรือนของตนออกมาจากคุ้มบ้านโนนมะกอก , คุ้มบ้านหนองป่าขี่ , คุ้มบ้านต้นมะขามใหญ่ , คุ้มบ้านโนนวัดร้าง และมาจากบ้านอื่นๆ อีก มาตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นใหม่เป็นครั้งแรก อยู่ทางทิศตะวันตกของวัดที่ทำการสร้างขึ้นครั้งแรกนั้น คือวันศิริมงคล วัดถลุงเหล็กใหญ่อยู่ในขณะนี้ แล้วตั้งชื่อบ้านว่าบ้านใหม่ บางคนก็เรียกว่าบ้านใต้วัดต่อมาจนถึงทุกวันนี้
ต่อมาพวกชาวบ้านทั่วไปหากันเรียกคุ้มบ้านโนนมะกอก , คุ้มบ้านหนองป่าขี่ , คุ้มบ้านต้นมะขามใหญ่ , คุ้มบ้านโนนวัดร้าง รวมเข้ากันเรียกว่าหมู่บ้านเก่า ตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันนี้ ต่อมาพวกชาวบ้านเก่ากับพวกชาวบ้านใหม่ ได้ร่วมกันทำการก่อสร้างพระอุโบสถขึ้นในวัด 1 หลัง ขณะนี้อยู่ที่วัดศิริมงคล (วัดถลุงเหล็กใหญ่) ไว้เพื่อประกอบทำพิธีทางศาสนาของพระสงฆ์และพวกชาวบ้านต่อมาเป็นเวลาหลายสิบปีที่ได้ผ่านมา การก่อสร้างพระอุโบสถของวัดในครั้งแรกนั้นจะเป็นวัน เดือน ปีพ.ศ.อะไรนั้นไม่ทราบได้ เพราะไม่เห็นหลักฐานในการสร้างพระอุโบสถดังกล่าวนั้น
ต่อมาได้มีคนหลายกลุ่มได้พากันย้ายครอบครัวของตนมาจากหมู่บ้านต่างๆ มาตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นใหม่อยู่ในระหว่างกึ่งกลางของหมู่บ้านเก่ากับหมู่บ้านใหม่ติดต่อกัน แล้วเรียกชื่อบ้านว่าบ้านกลางต่อมาเท่าทุกวันนี้ ในขณะนั้นได้มีบ้านเรือนของคนที่อยู่ในบ้านกลางในสมัยคนเขียนยังเป็นเด็กและได้รู้ได้เห็นพอจำความได้ คือมีบ้านเรือนพ่อเฒ่ากำนันเสน บ้านเรือนพ่อเฒ่าผู้ใหญ่นก บ้านเรือนพ่อเฒ่าดี บ้านเรือนพ่อเฒ่าสีทา บ้านเรือนพ่อเฒ่าเสา บ้านเรือนพ่อเฒ่าสอน บ้านเรือนพ่อเฒ่าสี บ้านเรือนพ่อเฒ่าทอง บ้านเรือนพ่อเฒ่าสีดา บ้านเรือนพ่อเฒ่าแสง บ้านเรือนพ่อเฒ่าหรั่ง บ้านเรือนพ่อเฒ่าเมฆ บ้านเรือนพ่อเฒ่าทมมา บ้านเรือนแม่เฒ่าพุก และบ้านเรือนของคนอื่นๆ อีก รวมแล้วมีประมาณ 17-18 หลังคาเรือน ในขณะนั้นเป็นเวลานานมากกว่า 70 ปี ที่ได้ผ่านมา ขณะนี้ พ.ศ. 2536
ต่อมาพ่อเฒ่ากำนันวันทา แม่เฒ่าชา อยู่ในหมู่บ้านใหม่หรือบ้านใต้วัดในขณะนั้น ได้นำพาญาติพี่น้องและลูกหลานและชาวบ้านหลายคนได้ร่วมช่วยกันทำการก่อสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในพื้นที่นาของพ่อเฒ่ากำนันวันทา แม่เฒ่าชา อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านเก่าเป็นครั้งแรก ต่อมาเป็นเวลาหลายสิบปีได้ผ่านมา ก็ได้เปลี่ยนชื่อวัดอีกว่าวัดราชวันทนาราม วัดถลุงเหล็กน้อยจนเท่าถึงทุกวันนี้ การสร้างวัดดังกล่าวนี้จะเป็นวัน เดือน ปี พ.ศ.อะไรนั้นจำไม่ได้ ต่อมาพวกชาวบ้านโดยทั่วไปพากันเรียกว่าหมู่บ้านเก่า วัดใหม่ หมู่บ้านใหม่วัดเก่า ต่อมาจนถึงทุกวันนี้
เจ้าอาวาสของวัดราชวันทนาราม หรือวัดถลุงเหล็กน้อยเท่าที่จำได้คือ พระอาจารย์ชาเนี้ยว พระอาจารย์ออน พระอาจารย์ชาทุย พระอาจารย์ชารุณ พระอาจารย์บู้ พระอาจารย์สุมิตรหรือพระครูปัญญาคุณวัตร เป็นต้น วัดราชวันทนารามหรือวัดถลุงเหล็กน้อย อยู่ในหมู่ที่ 6 บ้านถลุงเหล็ก ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ขณะนี้ พ.ศ. 2536
ต่อมาได้มีคนหลายกลุ่มมาจากหมู่บ้านต่างๆ พากันมาตั้งบ้านสร้างเรือนขึ้นใหม่อีกอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสระน้ำของวัดศิริมงคล หรือวัดถลุงเหล็กใหญ่ในขณะนี้แล้วเรียกว่าบ้านหัวสระต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ก็เป็นเวลานานกว่า 70 ปีที่ได้ผ่านมา ตามที่ข้าพเจ้าคนเขียนได้รู้ได้เห็นพอจะได้ มีบ้านเรือนพ่อเฒ่าผู้ใหญ่เคี้ยว บ้านเรือนพ่อเฒ่าวงษ์ บ้านเรือนพ่อเฒ่าบัว บ้านเรือนพ่อเฒ่าม้าน บ้านเรือนพ่อเฒ่าพลู บ้านเรือนแม่เฒ่าหมอน บ้านเรือนแม่เฒ่าด้วง และมีบ้านเรืองของคนอื่นๆ อีก รวมแล้วมีประมาณ 18-19 หลังคาเรือน ในขณะนั้นคนเขียนยังเป็นเด็ก จำนามสกุลของบุคคลดังกล่าวไม่ค่อยได้ จึงไม่เขียนนามสกุลของท่านไว้ในที่นี้ ต่อแม่พ่อเฒ่าสร้อย แม่เฒ่าถิน สุขสบาย ได้ย้ายบ้านเรือนของตนออกมาจากคุ้มบ้านโนนมะกอก อยู่ในหมู่บ้านเก่าในขณะนี้ มาปลูกสร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่ในครั้งแรกที่ทุ่งนาของตน อยู่ใกล้กับหนองน้ำใหญ่ที่มีผักแว่นมากขณะนั้น อยู่ในระหว่างกึ่งกลางของวัดถลุงเหล็กใหญ่กับวัดถลุงเหล็กน้อยติดต่อกัน เป็นเวลา เป็นเวลานานผ่านมาแล้วได้ตั้งชื่อบ้านว่าบ้านหนองผักแว่นมาจนถึงทุกวันนี้
ต่อมาพ่อเฒ่าจุ่น แม่เฒ่านารี ทองอร่าม ก็ได้ย้ายบ้านเรือนของตนออกไปจากหมู่บ้านใหม่หรือใต้วัด ไปสร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่อยู่บริเวณของต้นมะขามใหญ่ อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านหัวสระเป็นครั้งแรก แล้วเรียกว่าบ้านโนนมะขามเฒ่า เป็นเวลาหลายสิบปีที่ได้ผ่านมา
การตั้งหมู่บ้านสร้างเรือนของหมู่บ้านดังกล่าวได้มาแล้ว แต่ละหมู่บ้านนั้นจะเป็นวัน เดือน ปี พ.ศ.อะไรนั้นไม่ทราบได้ เพราะว่าไม่มีผู้ใดทำหลักฐานไว้ นับแต่หมู่บ้านเก่า หมู่บ้านใหม่หรือใต้วัด หมู่บ้านกลาง หมู่บ้านหัวสระ หมู่บ้านหนองผักแว่น และบ้านโนนมะขามเฒ่า หมู่บ้านดังกล่าวนี้ได้รวมเข้าเป็นหมู่บ้านเดียวกันแล้วเรียกว่าบ้านถลุงเหล็ก ให้สอดคล้องต้องกันกับคนในสมัยโบราณมาก่อนอยู่ที่โนนมะกอกนั้นเป็นหลักฐาน และหมู่บ้านดังกล่าวทั้งหมดนี้ก็ได้รวมกันอยู่ในบริเวณเดียวกันที่ป่าดงโนนมะกอกดังกล่าว จึงเรียกชื่อบ้านรวมกันว่าบ้านถลุงเหล็กมาจนถึงทุกวันนี้
เขตการปกครอง
แก้ตำบลถลุงเหล็กมีจำนวน 8 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านหนองบัวหิ่ง(ด้านทิศเหนือ)
- หมู่ที่ 2 บ้านหัวสระ
- หมู่ที่ 3 บ้านใหม่หรือบ้านใต้วัด(ด้านทิศเหนือ)
- หมู่ที่ 4 บ้านใหม่หรือบ้านใต้วัด(ด้านทิศใต้)
- หมู่ที่ 5 บ้านกลางและบ้านหนองผักแว่น
- หมู่ที่ 6 บ้านเก่า(ด้านทิศตะวันออก)
- หมู่ที่ 7 บ้านเก่า(ด้านทิศตะวันตก)
- หมู่ที่ 8 บ้านหนองบัวหิ่ง(ด้านทิศใต้)
ประชากร
แก้จำนวนประชากรในเขต อบต. 3,752 คน และจำนวนหลังคาเรือน 886 หลังคาเรือน
วัฒนธรรม
แก้ชาวตำบลถลุงเหล็กมีวัฒนธรรมที่ดีที่สืบทอดมาจากปู่ย่าตายายและสู่รุ่นลูกหลานโดยเฉพาะทางด้านภาษา โดยมีภาษาพื้นบ้านคือ ภาษาไทยอีสานหรือภาษาลาว นอกจากนี้ยังมีประเพณีที่และความเชื่อสืบทอดมาจากบรรพบุรุษหลายอย่างเช่น ประเพณีรำแมงตับเต่า ประเพณีบุญกลางบ้าน และสารทลาว
อาชีพ
แก้- อาชีพหลัก เกษตรกรรมทำนา
- อาชีพเสริม เจียระไนแร่แมกกะไซด์ นำไปประกอบเป็นเครื่องประดับ
สถานศึกษา
แก้ตำบลถลุงเหล็กมีสถานศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านถลุงเหล็ก เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3
วัด
แก้- วัดศิริมงคล (วัดถลุงเหล็กใหญ่) ม.3 ต.ถลุงเหล็ก
- วัดราชวันทนาราม (วัดถลุงเหล็หน้อย) ม.6 ต.ถลุงเหล็ก
- วัดหนองบัวหิ่ง ม.8 ต.ถลุงเหล็ก
สถานที่สำคัญ
แก้- องค์การารบริหารส่วนตำบลถลุงเหล็ก
- ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี ม.8 ต.ถลุงเหล็ก
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- โบราณสถาน วัดโคกคราม ม.7 ต.ถลุงเหล็ก
อ้างอิง
แก้- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/xstat/pop51_1.html 2552. สืบค้น 8 สิงหาคม 2552.