ตำบลคลองเขื่อน

ตำบลในอำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย

คลองเขื่อน เป็นตำบลในอำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันมีเขตการปกครอง 6 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 35.12 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรทั้งหมด 3,380 คน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการของอำเภอคลองเขื่อน

ตำบลคลองเขื่อน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Khlong Khuean
ประเทศไทย
จังหวัดฉะเชิงเทรา
อำเภอคลองเขื่อน
พื้นที่
 • ทั้งหมด35.12 ตร.กม. (13.56 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด3,380 คน
 • ความหนาแน่น96.24 คน/ตร.กม. (249.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 24000
รหัสภูมิศาสตร์241102
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขื่อน
อบต.คลองเขื่อนตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา
อบต.คลองเขื่อน
อบต.คลองเขื่อน
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขื่อน
พิกัด: 13°46′27.3″N 101°09′57.9″E / 13.774250°N 101.166083°E / 13.774250; 101.166083
ประเทศ ไทย
จังหวัดฉะเชิงเทรา
อำเภอคลองเขื่อน
พื้นที่
 • ทั้งหมด35.12 ตร.กม. (13.56 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด3,380 คน
 • ความหนาแน่น96.24 คน/ตร.กม. (249.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06241102
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ที่ 4 ตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000
เว็บไซต์www.khlongkhuean.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

ตำบลคลองเขื่อนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

แก้

พื้นที่ในสมัยก่อนมีคลองสายหนึ่งแยกมาจากแม่น้ำบางปะกงตรงข้ามกับปากลัดบางคล้า เป็นคลองยาวประมาณ 3 เส้นเศษ (1 เส้นเท่ากับ 40 เมตร) ปลายคลองตื้นเขิน ชาวบ้านเรียกหมู่บ้านบริเวณแถบนี้ว่า คลองเขิน แต่เนื่องจากคงฟังไม่เพราะจึงเรียกใหม่ว่า คลองเขื่อน[1]

พื้นที่ตำบลคลองเขื่อนอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงตอนบนของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ได้แก่ ทำนาข้าว สวนมะม่วงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีผลผลิตที่ขึ้นชื่อ คือ มะม่วงน้ำดอกไม้ มะพร้าว ที่มีความอร่อย เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนที่มากับแม่น้ำบางปะกง ทำให้ผลผลิตด้านการเกษตรมีคุณภาพดีซึ่งได้รับรางวัลจากการประกวดแข่งขันทั้งระดับจังหวัดและระดับประเทศ

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

พื้นที่ตำบลคลองเขื่อนประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 3,380 คน แบ่งเป็นชาย 1,632 คน หญิง 1,748 คน (เดือนธันวาคม 2566)[2] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในอำเภอคลองเขื่อน

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[3] พ.ศ. 2565[4] พ.ศ. 2564[5] พ.ศ. 2563[6] พ.ศ. 2562[7] พ.ศ. 2561[8] พ.ศ. 2560[9]
ลาดปลาเค้า 908 916 922 945 982 976 994
วังควาย 659 663 668 664 661 651 650
คลองเขื่อน 582 595 610 617 604 604 613
พลับ 494 501 503 503 499 518 513
หัวลำพู 420 417 414 415 418 425 434
หัวลำพูเก่า 317 324 336 330 327 331 333
รวม 3,380 3,416 3,453 3,474 3,491 3,505 3,537

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ปัจจุบันตำบลคลองเขื่อนทั้งตำบลอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขื่อน ซึ่งเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลคลองเขื่อนในปี พ.ศ. 2517[10] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลคลองเขื่อนมี 6 หมู่บ้าน พื้นที่ 35.12 ตารางกิโลเมตร ประชากร 3,891 คน และ 967 ครัวเรือน[11] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลคลองเขื่อนอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขื่อน[12]

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติชื่อ "คลองเขื่อน" ที่มาของชื่ออำเภอและตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  5. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  11. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลคลองเขื่อน กิ่งอำเภอคลองเขื่อน อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539