โครงสร้างกั้นระหว่างเลือดกับอัณฑะ
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
โครงสร้างกั้นระหว่างเลือดกับอัณฑะ (อังกฤษ: blood–testis barrier) เป็นโครงสร้างกั้นทางกายภาพระหว่างหลอดเลือดและหลอดสร้างอสุจิของอัณฑะสัตว์ ชื่อ "โครงสร้างกั้นเลือด–อัณฑะ" ทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะโครงสร้างกั้นนี้ไม่ได้กั้นระหว่างเลือดและอวัยวะโดยสมบูรณ์ แต่เป็นการก่อตัวขึ้นระหว่างเซลล์เซอร์โตลีของหลอดสร้างอสุจิ และแยกระยะต่อ ๆ ไปของเซลล์สืบพันธุ์ออกจากเลือด โดยคำที่ถูกต้องมากขึ้นควรเป็น "โครงสร้างกั้นเซลล์เซอร์โตลี" (SCB)
โครงสร้างกั้นเลือด–อัณฑะ | |
---|---|
เยื่อบุผิวต้นกำเนิดของอัณฑะ. 1 เบซาลลามินา, 2 สเปอร์มาโทโกเนีย, 3 สเปอร์มาโทไซต์ลำดับที่ 1, 4 สเปอร์มาโทไซต์ลำดับที่ 2, 5 สเปอร์มาทิด, 6 สเปอร์มาทิดที่สมบูรณ์, 7 เซลล์เซอร์โตลี, 8 ไทต์จังก์ชัน (โครงสร้างกั้นเลือด–อัณฑะ) | |
ตัวระบุ | |
MeSH | D001814 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
โครงสร้าง
แก้ผนังของหลอดสร้างอสุจิบุด้วยชั้นของเซลล์สืบพันธุ์ดั้งเดิมและเซลล์เซอร์โตลี[1] โครงสร้างกั้นนี้เกิดขึ้นจากไทต์จังก์ชัน แอดเฮียเรนส์จังก์ชัน และ แกปจังก์ชัน ระหว่างเซลล์เซอร์โตลี ซึ่งเป็นเซลล์พยุงของหลอดสร้างอสุจิและแบ่งหลอดสร้างอสุจิออกเป็นส่วนฐาน (basal compartment) ซึ่งเป็นส่วนด้านนอกของกลีบย่อย สัมผัสกับเลือดและน้ำเหลือง และส่วนในช่องภายในหลอด (adluminal compartment) ซึ่งเป็นส่วนด้านในของกลีบย่อย ไม่สัมผัสกับเลือดและน้ำเหลือง ส่วนไทต์จังก์ชันเกิดจากโมเลกุลยึดติดระหว่างเซลล์ระหว่างเซลล์ที่ยึดติดกับเส้นใยแอคตินภายในเซลล์ สำหรับการมองเห็นเส้นใยแอคตินภายในหลอดสร้างอสุจินั้น ดูได้ที่การศึกษาด้านการดูด้วยกล้องอิมมูโนฟลูออเรสเซนส์ของเชอร์มา และคณะ[2]
หน้าที่
แก้การมีอยู่ของโครงสร้างกั้นเซลล์เซอร์โตลีนั้น ช่วยให้เซลล์เซอร์โตลีสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมของช่องภายในหลอดได้ ซึ่งเป็นที่ที่เซลล์สืบพันธุ์ (สเปอร์มาโทไซต์, สเปอร์มาทิด และ ตัวอสุจิ) พัฒนาขึ้นโดยอิทธิพลขององค์ประกอบทางเคมีของของเหลวภายในช่องภายในหลอด นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเคลื่อนผ่านของสารที่พิษต่อเซลล์เข้าสู่หลอดสร้างอสุจิด้วย
ของเหลวในช่องภายในหลอดของหลอดสร้างอสุจินั้นค่อนข้างต่างจากน้ำเลือด ซึ่งมีโปรตีนและกลูโคสเพียงเล็กน้อย แต่อุดมไปด้วยฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนเอสโทรเจน โพแทสเซียม อิโนซิทอลและกลูตามิก และ กรดแอสปาร์ติก องค์ประกอบจะถูกควบคุมโดยโครงสร้างกั้นเลือด–อัณฑะ[1]
โครงสร้างกั้นยังปกป้องเซลล์สืบพันธุ์จากสารรบกวนที่อยู่ในเลือด[1] ป้องกันไม่ให้สารที่เกิดจากแอนติเจนเข้าสู่การไหลเวียนและสร้างการตอบสนองภาวะภูมิต้านตนเอง[1] และยังอาจช่วยสร้างการไล่ระดับการออสโมซิสที่เอื้อต่อการไหลของของเหลวภายในช่องว่างภายในหลอดด้วย[1]
หมายเหตุ
แก้สเตอรอยด์เจาะทะลุโครงสร้างกั้นได้ โปรตีนบางตัวสามารถทะลุผ่านเซลล์เซอร์โตลีไปยังเซลล์ไลดิชได้ เพื่อทำหน้าที่ในการพาราครีน[1]
นัยสำคัญทางคลินิก
แก้การตอบสนองต่อภูมิตนเอง
แก้โครงสร้างกั้นเลือด–อัณฑะอาจได้รับความเสียหายได้จากการบาดเจ็บที่อัณฑะ (รวมถึงการบิดและการกระแทก) โดยการผ่าตัด หรือเป็นผลมาจากการตัดหลอดนำอสุจิ เมื่อโครงสร้างกั้นเลือด–อัณฑะแตกออก ตัวอสุจิจะเข้าสู่กระแสเลือด ระบบภูมิคุ้มกันจะสร้างการตอบสนองต้านตนเองต่อตัวอสุจิขึ้น เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันไม่อาจยอมรับต่อสารก่อภูมิต้านทานอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวอสุจิได้ โดยสารภูมิต้านทานต้านตัวอสุจิที่ระบบภูมิคุ้มกันสร้างขึ้นมาจะสามารถจับกับสารก่อภูมิต้านทานต่าง ๆ บนพื้นผิวของตัวอสุจิที่กำลังพัฒนาในอัณฑะได้ หากเกิดจากจับที่หัวของตัวอสุจิ ตัวอสุจิอาจมีความสามารถในการผสมกับเซลล์ไข่ได้น้อยลง และหากจับที่หาง การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิจะลดลง
ดูเพิ่ม
แก้- โครงสร้างกั้นระหว่างเลือดกับอากาศ – เยื่อที่แบ่งระหว่างอากาศในถุงลมกับเลือดในหลอดเลือดฝอยปอด
- โครงสร้างกั้นระหว่างเลือดกับสมอง – ขอบเขตหลอดเลือดฝอยแบบซึมผ่านได้บ้างที่เลือกสารจากเลือดเข้าสู่สมอง
- โครงสร้างกั้นระหว่างเลือดกับตา – โครงสร้างกั้นทางกายภาพระหว่างหลอดเลือดในพื้นที่และพื้นที่ส่วนใหญ่ของตา
- โครงสร้างกั้นระหว่างเลือดกับจอตา – ส่วนหนึ่งของโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดกับตาที่ป้องกันสารบางชนิดเข้าสู่จอตา
- โครงสร้างกั้นระหว่างเลือดกับต่อมไทมัส – โครงสร้างกั้นที่เกิดจากหลอดเลือดฝอยที่ต่อเนื่องกันในเปลือกของต่อมไทมัส
- การสร้างสเปิร์ม – การสร้างตัวอสุจิ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Barrett KE, Barman SM, Boitano S, Brooks H (2012). Ganong's Review of Medical Physiology 24th Edition. McGraw-Hill Education. pp. 419–20. ISBN 978-1-25-902753-6.
- ↑ Sharma S, Hanukoglu A, Hanukoglu I (April 2018). "Localization of epithelial sodium channel (ENaC) and CFTR in the germinal epithelium of the testis, Sertoli cells, and spermatozoa". J. Mol. Histol. 49 (2): 195–208. doi:10.1007/s10735-018-9759-2. PMID 29453757.