ตระกูลโอสถานุเคราะห์
ตระกูลโอสถานุเคราะห์ เป็นตระกูลนักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทโอสถสภา จากการจัดอันดับของนิตยสาร ฟอบส์ ฉบับประเทศไทย ติดอยู่ใน 10 อันดับ มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2023 ที่อันดับ 10 ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 8.70 หมื่นล้านบาท[1]
โอสถานุเคราะห์ | |
---|---|
ตระกูลบรรพบุรุษ | แซ่ลิ้ม |
ประเทศ | ประเทศไทย |
ถิ่นพำนักปัจจุบัน | กรุงเทพมหานคร |
ถิ่นกำเนิด | ประเทศจีน |
ต้นตระกูล | แป๊ะ แซ่ลิ้ม |
ทรัพย์สิน | โอสถสภา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
ประวัติ
แก้ต้นตระกูล
แก้ต้นตระกูลคือ นายแป๊ะ แซ่ลิ้ม เป็นชาวจีนที่มาตั้งรกรากในประเทศไทย เริ่มแรกทำงานรับจ้าง แต่งงานกับหญิงสาวชาวไทยที่ชื่อ แหวน จน พ.ศ. 2434 นายแป๊ะได้เช่าตึกแถว 1 คูหา ย่านสำเพ็ง เปิดเป็นร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ด อย่าง เครื่องถ้วย นาฬิกา ร่ม ฯลฯ และตั้งชื่อร้านว่า เต๊กเฮงหยู จนเมื่อห้างบี.กริมม์ แอนด์ โก นำยาชื่อ "ปัถวีพิการ" ซึ่งมีสรรพคุณแก้เมื่อย แก้แพ้ มาฝากขายที่ร้านเต๊กเฮงหยู แป๊ะจึงมองเห็นโอกาสค้าขายของตัวเองเพิ่มขึ้น โดยได้นำสูตรยาโบราณของบรรพบุรุษติดตัวมาด้วย ทำยาตราการค้าของตัวเองชื่อ ยากฤษณากลั่น ตรากิเลน[2]
กระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยานี้ก็ยังได้รับความนิยมต่อเนื่อง และเป็นยาที่ใช้รักษาเสือป่าในยุคนั้นด้วย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเข็มเสือป่าแก่แป๊ะและแต่งตั้งให้มีตำแหน่งเป็นมหาดเล็ก จากนั้นเมื่อพระองค์พระราชทานนามสกุลใหม่ให้แป๊ะว่า "โอสถานุเคราะห์" แป๊ะ โอสถานุเคราะห์ เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2461
รุ่นที่ 2
แก้สวัสดิ์ โอสถานุเคราะห์ (ลูกคนที่สาม ลูกชายคนที่สอง) รับหน้าที่สานต่อกิจการด้วยวัย 17 ปี จากนั้นก็เน้นไปที่ธุรกิจยา แทนการขายสินค้าเบ็ดเตล็ด พ.ศ. 2475 สวัสดิ์เปลี่ยนชื่อกิจการเป็น โอสถสถาน เต๊กเฮงหยู ก่อนเป็น โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู) ใน พ.ศ. 2492 กระทั่ง พ.ศ. 2538 ก็เปลี่ยนชื่อบริษัทอีกครั้งเป็น "โอสถสภา" ซึ่งเป็นชื่อในปัจจุบัน[3]
รุ่นที่ 3
แก้สวัสดิ์มีบุตร 4 คน ได้แก่ สุวิทย์ สุรัตน์ สุรินทร์ และเสรี โดยสุวิทย์ และสุรัตน์ มีการสลับกันเป็นผู้นำองค์กร แต่บทบาทเด่นจะตกที่สุรัตน์ค่อนข้างมาก สุรัตน์ยัง เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นอกจากนั้นสุรัตน์และภรรยาชื่อ ปองทิพย์ ได้ช่วยกันก่อตั้งวิทยาลัยไทยเทคนิคขึ้นมาใน พ.ศ. 2505 ก่อนที่จะได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สุรัตน์เป็นผู้นำเครื่องดื่มชูกำลังมาบุกเบิกตลาดในไทยเป็นรายแรกนำสินค้ามาผลิตในไทยภายใต้แบรนด์ "ลิโพวิตัน-ดี"
รุ่นที่ 4
แก้รุ่นที่ 4 เพชร โอสถานุเคราะห์ เป็นบุตรของสุรัตน์และปองทิพย์ เป็นนักร้อง นักดนตรี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ อดีตประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)[4] เพชรได้นำโอสถสภาแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561[5] เพชรมีน้องชายชื่อ รัตน์ ได้เข้ามาบริหารธุรกิจครอบครัวต่อ ผลงานของรัตน์เช่น ทำตลาดเครื่องดื่มชูกำลังเอ็ม-150 ปรับแบรนด์อุทัยทิพย์มาเป็นยูทิป เป็นต้น[6] จากข้อมูล พ.ศ. 2566 นิติ โอสถานุเคราะห์ (บุตรของสุรินทร์ โอสถานุเคราะห์) เป็นผู้ถือหุ้นโอสถสภามากที่สุด หลังจากเพชร โอสถานุเคราะห์ ขายหุ้นให้
รุ่นที่ 5
แก้นาฑี โอสถานุเคราะห์ เป็นบุตรของรัตน์ นอกจากเป็นกรรมการของโอสถสภา ยังเป็นมือกีตาร์วงเก็ตสึโนวา นาฑีสมมรสกับอิงฟ้า ดำรงชัยธรรม จึงมีศักดิ์เป็นเขยของไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "การจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2566". ฟอบส์ประเทศไทย.
- ↑ สุทธาสินี จิตรกรรมไทย เจียจันทร์พงษ์. "แป๊ะ แซ่ลิ้ม กำเนิด "ยากฤษณากลั่น" รักษาเสือป่า จน ร.6 พระราชทานนามสกุล "โอสถานุเคราะห์"". ศิลปวัฒนธรรม.
- ↑ "แป๊ะ แซ่ลิ้ม ยารักษาเสือป่าในรัชกาลที่ 6 สู่ "โอสถสภา" อาณาจักรหมื่นล้าน". เดอะพีเพิล.
- ↑ "เพชร โอสถานุเคราะห์ ทายาทโอสถสภา นักธุรกิจชื่อดังผู้สร้างตำนานระดับแสนล้าน". สนุก.คอม.
- ↑ "ตระกูลโอสถานุเคราะห์". ฟอบส์.
- ↑ สาวิตรี รินวงษ์. "คัมภีร์เคลื่อนโอสถสภาองค์กรร้อยปี "เพชร โอสถานุเคราะห์"". กรุงเทพธุรกิจ.
- ↑ "OSP หุ้นใหญ่สายเอ็นฯ.!". ข่าวหุ้น.