ดาเตะ (จังหวัดฟูกูชิมะ)

นครในจังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น

ดาเตะ (ญี่ปุ่น: 伊達市โรมาจิDate-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 265.10 ตารางกิโลเมตร (102.36 ตารางไมล์)[1] ข้อมูลเมื่อ 1 มีนาคม ค.ศ. 2023 (2023 -03-01) นครดาเตะมีจำนวนประชากรประมาณ 56,157 คน และมีความหนาแน่นของประชากร 212 คนต่อตารางกิโลเมตร

ดาเตะ

伊達市
ทิวทัศน์นครดาเตะ
ทิวทัศน์นครดาเตะ
ธงของดาเตะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของดาเตะ
ตรา
ที่ตั้งของดาเตะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดฟูกูชิมะ
ที่ตั้งของดาเตะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดฟูกูชิมะ
ดาเตะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ดาเตะ
ดาเตะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 37°49′8.9″N 140°33′46.7″E / 37.819139°N 140.562972°E / 37.819139; 140.562972
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคโทโฮกุ
จังหวัดจังหวัดฟูกูชิมะ ฟูกูชิมะ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด265.12 ตร.กม. (102.36 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มีนาคม ค.ศ. 2023)
 • ทั้งหมด56,157 คน
 • ความหนาแน่น212 คน/ตร.กม. (550 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสท้องถิ่น07213-3
โทรศัพท์024-575-2570
ที่อยู่180 Hobaramachi aza Funabashi, Date-shi, Fukushima-ken 960-0692
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
สัญลักษณ์
เพลงดาเตะชิกะ หรือเพลงนครดาเตะ (伊達市歌; ประกาศเมื่อ ค.ศ. 2016)
สัตว์ปีกนกเด้าลม
ดอกไม้ท้อ
ต้นไม้สนแดงญี่ปุ่น (Pinus densiflora)

ประวัติศาสตร์ แก้

เมื่อ ค.ศ. 1889 ในช่วงเวลาของการประกาศใช้ระบบเทศบาล พื้นที่ที่เป็นนครดาเตะในปัจจุบันประกอบด้วยเมืองและหมู่บ้านรวม 21 แห่ง ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1955 กับ 1960 เมืองและหมู่บ้านเหล่านี้ก็ได้ควบรวมเป็น 5 เมือง ได้แก่ เมืองดาเตะ (伊達町), เมืองโฮบาระ (保原町), เมืองเรียวเซ็ง (霊山町), เมืองสึกิดาเตะ (月舘町) และเมืองยานางาวะ (梁川町) ต่อมา 5 เมืองเหล่านี้ก็ได้ควบรวมกันเป็นนครดาเตะเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2006[2]

ดาเตะอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 60 กิโลเมตร (37 ไมล์) ซึ่งเป็นที่ตั้งของภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ ค.ศ. 2011 แม้ว่าจะอยู่นอกเขตยกเว้นภัยพิบัตินิวเคลียร์ แต่ระดับรังสีในเมืองทำให้ผู้อยู่อาศัยและโดยเฉพาะเด็กต้องอยู่ในบ้าน[3]

ภูมิศาสตร์ แก้

นครดาเตะมีพื้นที่ครอบคลุมครึ่งตะวันออกของแอ่งฟูกูชิมะทางตอนเหนือของจังหวัดฟูกูชิมะ โดยมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดมิยางิ พื้นที่นี้เคยขึ้นชื่อเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แต่ได้เปลี่ยนไปปลูกผลไม้ในช่วงยุคไทโช นครดาเตะในปัจจุบันแบ่งออกเป็นห้าเมืองในอดีต ได้แก่ ดาเตะ โฮบาระ ยานางาวะ เรียวเซ็ง และสึกิดาเตะ ซึ่งแต่ละเมืองยังคงรักษาประเพณีและกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ไว้มากมาย โดยมีโฮบาระเป็นพื้นที่ส่วนกลางซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยงานเทศบาล[4]

เทศบาลที่ติดกัน แก้

ภูมิอากาศ แก้

นครดาเตะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในดาเตะอยู่ที่ 12.8 องศาเซลเซียส (55.0 องศาฟาเรนไฮต์) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,227 มิลลิเมตร (48.3 นิ้ว) โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยจะอยู่ในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 25.5 องศาเซลเซียส (77.9 องศาฟาเรนไฮต์) และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 1.4 องศาเซลเซียส (34.5 องศาฟาเรนไฮต์)[5]

ข้อมูลภูมิอากาศของยานางาวะ นครดาเตะ (1991−2020 สภาวะปกติ, สภาวะรุนแรง 1976−ปัจจุบัน)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 16.6
(61.9)
21.5
(70.7)
25.4
(77.7)
32.2
(90)
35.9
(96.6)
36.6
(97.9)
39.1
(102.4)
39.7
(103.5)
36.5
(97.7)
30.8
(87.4)
26.0
(78.8)
20.9
(69.6)
39.7
(103.5)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 5.9
(42.6)
7.2
(45)
11.2
(52.2)
17.7
(63.9)
23.0
(73.4)
25.7
(78.3)
28.9
(84)
30.4
(86.7)
26.2
(79.2)
20.6
(69.1)
14.6
(58.3)
8.7
(47.7)
18.34
(65.02)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 1.3
(34.3)
2.0
(35.6)
5.2
(41.4)
10.9
(51.6)
16.4
(61.5)
20.1
(68.2)
23.7
(74.7)
24.9
(76.8)
20.9
(69.6)
14.8
(58.6)
8.6
(47.5)
3.6
(38.5)
12.7
(54.86)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -3.0
(26.6)
-2.6
(27.3)
-0.4
(31.3)
4.6
(40.3)
10.3
(50.5)
15.5
(59.9)
19.8
(67.6)
21.0
(69.8)
16.7
(62.1)
9.9
(49.8)
3.2
(37.8)
-1.0
(30.2)
7.83
(46.1)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -12.6
(9.3)
-12.1
(10.2)
-10.2
(13.6)
-4.4
(24.1)
0.4
(32.7)
5.8
(42.4)
10.3
(50.5)
11.6
(52.9)
5.7
(42.3)
-1.7
(28.9)
-5.2
(22.6)
-16.2
(2.8)
−16.2
(2.8)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 49.9
(1.965)
33.0
(1.299)
64.1
(2.524)
75.1
(2.957)
83.0
(3.268)
109.4
(4.307)
159.2
(6.268)
143.9
(5.665)
158.4
(6.236)
123.4
(4.858)
52.3
(2.059)
41.5
(1.634)
1,095.4
(43.126)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 7.9 6.5 8.2 8.0 8.9 10.8 13.2 10.7 11.0 8.7 6.7 8.1 108.7
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 133.2 142.5 172.1 186.6 192.0 145.5 135.6 157.3 127.1 132.0 127.6 119.2 1,765.3
แหล่งที่มา: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[6][7]

ประชากร แก้

ตามข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[8] จำนวนประชากรของนครดาเตะลดลงในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1950 80,527—    
1960 76,361−5.2%
1970 73,767−3.4%
1980 74,186+0.6%
1990 74,200+0.0%
2000 71,817−3.2%
2010 66,027−8.1%
2020 58,240−11.8%

การเมืองการปกครอง แก้

 
ศาลาว่าการนครดาเตะ

ดาเตะมีการปกครองรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานครซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติระบบสภาเดียวมีจำนวนสมาชิก 22 คน ในการเมืองระดับจังหวัด เทศบาลนครดาเตะ พร้อมทั้งเทศบาลทั้ง 3 แห่งในอำเภอดาเตะ ประกอบกันเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดฟูกูชิมะจำนวน 3 คน ในการเมืองระดับชาติ นครดาเตะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งฟูกูชิมะเขต 1 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

การขนส่ง แก้

รถไฟ แก้

ทางหลวง แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สถิติทางการของนครดาเตะ" (ภาษาญี่ปุ่น). ประเทศญี่ปุ่น: นครดาเตะ.
  2. "伊達市の歴史 - 福島県伊達市ホームページ". www.city.fukushima-date.lg.jp. สืบค้นเมื่อ 2019-03-20.
  3. Takahiko Hyuga and Shigeru Sato (11 May 2011). "Fukushima Students Wear Masks as Radiation Looms". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 11 May 2011.
  4. "歴史めぐりマップ 生誕七百年 北畠顕家卿" (PDF). Date-shi.jp. Retrieved 4 January 2019.
  5. ข้อมูลภูมิกาศดาเตะ
  6. 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ March 19, 2022.
  7. 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ March 19, 2022.
  8. สถิติประชากรดาเตะ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้