ดาวิด เบ็น-กูรีย็อน

ดาวิด เบ็น-กูรีย็อน (ฮีบรู: דָּוִד בֶּן־גּוּרִיּוֹן, [daˈvid ben ɡuʁˈjon] ( ฟังเสียง), ชื่อเกิด ดาวิท กรืน; 16 ตุลาคม ค.ศ. 1886 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1973) เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศอิสราเอล เขาเป็นผู้นำที่สำคัญของไซออนนิสม์ และเป็นหัวหน้าผู้บริหารขององค์กร ในปี ค.ศ.1946 เขาได้เป็นหัวหน้าของชาวยิวในปาเลสไตน์ ในภายหลังได้เป็นผู้บริหารหน่วยงานของชาวยิวในปาเลสไตน์และเขายังช่วยให้ชาวยิวในปาเลสไตน์เป็นอิสระ ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ.1948 เขาได้ประกาศจัดตั้งประเทศอิสราเอลและลงนามประกาศอิสรภาพของอิสราเอลเป็นครั้งแรก

ดาวิด เบ็น-กูรีย็อน
דוד בן-גוריון
เบ็น-กูรีย็อนใน ค.ศ. 1960
นายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1955 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1963
ประธานาธิบดี
ก่อนหน้าโมเช ชาเรตต์
ถัดไปเลวี เอชโคล
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 – 7 ธันวาคม ค.ศ. 1953
ประธานาธิบดี
ก่อนหน้าตำแหน่งใหม่
ถัดไปโมเช ชาเรตต์
ประธานสภาแห่งรัฐเฉพาะกาลอิสราเอล
ดำรงตำแหน่ง
14 – 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1948
ก่อนหน้าตำแหน่งใหม่
ถัดไปChaim Weizmann
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1963
นายกรัฐมนตรี
  • โมเช ชาเรตต์
  • ตนเอง
ก่อนหน้าปินฮัส ลาวอน
ถัดไปเลวี เอชโคล
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 – 26 มกราคม ค.ศ. 1954
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าตำแหน่งใหม่
ถัดไปปินฮัส ลาวอน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ดาวิท กรืน

16 ตุลาคม ค.ศ. 1886(1886-10-16)
Płońsk คองเกรสโปแลนด์ จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต1 ธันวาคม ค.ศ. 1973(1973-12-01) (87 ปี)
รามัตกาน ประเทศอิสราเอล
สัญชาติ
พรรคการเมือง
คู่สมรสเปาลา มุนไวส์ (สมรส 1917; เสียชีวิต 1968)
บุตร3
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอิสตันบูล
ลายมือชื่อ

เป็น ผู้ก่อตั้งหลักของรัฐอิสราเอลและนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ เขาถือกำเนิดจากพ่อแม่ชาวโปแลนด์เชื้อสายยิวที่ Płońsk ซึ่งในเวลานั้นเป็นส่วนหนึ่งของคองเกรสโปแลนด์ เขาอพยพไปยังภูมิภาคปาเลสไตน์ของจักรวรรดิออตโตมันใน ค.ศ. 1906 หลังใช้ชื่อเบ็น-กูรีย็อนใน ค.ศ. 1909 เขาขึ้นมาเป็นผู้นำที่โดดเด่นของชุมชนยิวในปาดลสไตน์ในอาณัติตั้งแต่ ค.ศ. 1935 จนกระทั่งสถาปนารัฐอิสราเอลใน ค.ศ. 1948 ที่เข้ามาปกครองจนถึง ค.ศ. 1963 โดยพักระยะสั้นใน ค.ศ. 1954–55

ความสนใจในขบวนการไซออนิสต์ของเบ็น-กูรีย็อนพัฒนาขึ้นในช่วงต้นของชีวิต นำพาเขาให้เป็นผู้นำไซออนิสต์คนหลักและหัวหน้าผู้บริหารองค์กรไซออนนิสต์โลกใน ค.ศ. 1946[1] เขากลายเป็นผู้นำชุมชนยิวในปาเลสไตน์โดยพฤตินัยและส่วนใหญ่เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวเพื่อรัฐยิวอิสระในปาเลสไตน์ในอาณัติ ในฐานะหัวหน้า Jewish Agency ตั้งแต่ ค.ศ. 1935 และภายหลังเป็นประธาน Jewish Agency Executive

ณ วันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 เขาประกาศสถาปนาประเทศอิสราเอลอย่างเป็นทางการ และเป็นบุคคลแรกที่ลงนามคำประกาศอิสรภาพอิสราเอลที่เขามีส่วนช่วยเขียน ในสมัยของเบ็น-กูรีย็อน สงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 พบการรวมตัวกันของกองกำลังติดอาวุธชาวยิวต่าง ๆ เข้าสู่กองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) และการขับไล่กับอพยพหนีของประชากรอาหรับปาเลสไตน์ส่วนใหญ่ ภายหลังเขาเป็นที่รู้จักในฐานะ "บิดาผู้ก่อตั้งอิสราเอล"[2] หลังสงคราม เบ็น-กูรีย็อนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอิสราเอล ในฐานะนายกรัฐมนตรี เขาช่วยสร้างสถาบันของรัฐ เป็นประธานในโครงการระดับชาติที่มุ่งพัฒนาประเทศ เขายังควบคุมการเข้ามาของผู้อพยพชาวยิว นโยบายต่างประเทศที่สำคัญของเขาคือการปรับปรุงความสัมพันธ์กับประเทศเยอรมนีตะวันตกผ่านข้อตกลงค่าปฏิกรรมสงคราม เพื่อชดเชยการยึดทรัพย์สินชาวยิวของพวกนาซีในช่วงฮอโลคอสต์[3]

อ้างอิง

แก้
  1. Brenner, Michael; Frisch, Shelley (April 2003). Zionism: A Brief History. Markus Wiener Publishers. p. 184.
  2. "1973: Israel's founding father dies". BBC. 1 December 1973. สืบค้นเมื่อ 31 August 2018.
  3. George Lavy, Germany and Israel: moral debt and national interest (1996) p. 45

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้