ดัชชีลิมบืร์ค (ค.ศ. 1839–1867)

ดัชชีลิมบืร์ค (ดัตช์: Hertogdom Limburg) ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1839 จากส่วนหนึ่งของจังหวัดลิมบืร์คอันเป็นผลบังคับจากสนธิสัญญาลอนดอน โดยรวมอาณาเขตของลิมบืร์คส่วนหนึ่งซึ่งยังอยู่ในการปกครองของเนเธอร์แลนด์ (ในขณะที่ครึ่งหนึ่งทางตะวันตกกลายมาเป็นของเบลเยียม) ยกเว้นเขตเมืองมาสทริชท์และเวนโล

ดัชชีลิมบืร์ค

Hertogdom Limburg (ดัตช์)
1839–1867
ธงชาติลิมบืร์ค
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของลิมบืร์ค
ตราแผ่นดิน
การแลกเปลี่ยนดินแดนในปีค.ศ. 1839 ด้วยการโอนย้ายลักเซมเบิร์กตะวันตก ออกจากเยอรมัน (4) เพื่อรวมเป็นเบลเยียม (3) จึงเป็นผลให้เนเธอร์แลนด์ (1) ก่อตั้งดัชชีลิมบืร์คขึ้นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน (2) (บริเวณนี้อยู่ในอาณัติของเบลเยียมจนถึงปีค.ศ. 1839)
การแลกเปลี่ยนดินแดนในปีค.ศ. 1839 ด้วยการโอนย้ายลักเซมเบิร์กตะวันตก ออกจากเยอรมัน (4) เพื่อรวมเป็นเบลเยียม (3) จึงเป็นผลให้เนเธอร์แลนด์ (1) ก่อตั้งดัชชีลิมบืร์คขึ้นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน (2) (บริเวณนี้อยู่ในอาณัติของเบลเยียมจนถึงปีค.ศ. 1839)
สถานะจังหวัดในเนเธอร์แลนด์,
รัฐในสมาพันธรัฐเยอรมัน ปกครองโดยกษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์
เมืองหลวงมาสทริชท์
ภาษาทั่วไปดัตช์, ลิมบืร์ค (ไม่เป็นทางการ)
ศาสนา
คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
ดยุก 
• 1839–1840
พระเจ้าวิลเลิมที่ 1
• 1840–1849
พระเจ้าวิลเลิมที่ 2
• 1849–1866
พระเจ้าวิลเลิมที่ 3
ประวัติศาสตร์ 
19 เมษายน 1839
11 พฤษภาคม 1867
ก่อนหน้า
ถัดไป
จังหวัดลิมบืร์ค
จังหวัดลิมบืร์ค (เนเธอร์แลนด์)

ดัชชีลิมบืร์คเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และในขณะเดียวกันก็เป็นรัฐสมาชิกในสมาพันธรัฐเยอรมัน

ประวัติ

แก้

การก่อตั้ง

แก้

สืบเนื่องจากการต่อตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันจากการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาใน ค.ศ. 1815 ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มรัฐเยอรมันทั้ง 39 รัฐเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของรัฐในสมาชิก[1] โดยประสบความสำเร็จในการจัดตั้งตลาดร่วมในรัฐสมาชิกในระหว่าง ค.ศ. 1818–1834 ถึงแม้ดัชชีลิมบืร์คจะไม่ได้เป็นสมาชิกก่อตั้งของสมาพันธรัฐเยอรมัน แต่ได้เข้าร่วมกับสมาพันธ์ใน ค.ศ. 1839 ภายหลังจากการปฏิวัติเบลเยียมซึ่งเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1830 โดยการรวมกลุ่มของเสรีชนและชาวคาทอลิก เพื่อแยกเบลเยียมให้เป็นอิสระจากการปกครองของเนเธอร์แลนด์

ผลของสนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1839) ซึ่งทำให้กษัตริย์ของเนเธอร์แลนด์จะต้องยกดินแดนฝั่งตะวันตกของลักเซมเบิร์กให้กับเบลเยียม โดยลักเซมเบิร์กในขณะนั้นถือเป็นรัฐสมาชิกในสมาพันธรัฐเยอรมัน ภายหลังการเสียดินแดนให้เบลเยียมทำให้สูญเสียจำนวนประชากรถึง 150,000 คน สมาพันธรัฐเยอรมันจึงยืนกรานให้เนเธอร์แลนด์ชดใช้ดินแดนส่วนอื่นให้แทน จึงเป็นต้นกำเนิดของดัชชีลิมบืร์คซึ่งประกอบด้วยจังหวัดลิมบืร์ค(เดิม) แต่ไม่รวมถึงเขตเมืองมาสทริชท์และเวนโล เพื่อให้พอดีกับจำนวนประชากรที่เสียไป[2]

การล่มสลาย

แก้

สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียใน ค.ศ. 1866 นำไปสู่การล่มสลายของสมาพันธรัฐเยอรมัน เพื่อที่จะจัดการกับสถานะของลักเซมเบิร์กและดัชชีลิมบืร์คซึ่งถือเป็นดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองกษัตริย์ของเนเธอร์แลนด์มาก่อนและยังถือเป็นรัฐสมาชิกของสมาพันธรัฐเยอรมันด้วยนั้น สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1867) ยืนยันว่าดัชชีลิมบืร์คเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ลักเซมเบิร์กเป็นรัฐอิสระแบบมีประมุขร่วมกับราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ ค.ศ. 1839 เป็นต้นมา

นามของดัชชีลิมบืร์คยังมีที่ใช้ในทางการจนถึงช่วง ค.ศ. 1907 มรดกที่ตกทอดมาในสมัยนี้รวมถึงการเรียกตำแหน่งผู้สำเร็จราชการสำหรับลิมบืร์คว่า "ผู้ว่าราชการ" แทน

อ้างอิง

แก้