อ็องตวน วาโต
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ฌ็อง-อ็องตวน วาโต [ ฝรั่งเศส: Jean-Antoine Watteau; 10 ตุลาคม พ.ศ. 2227 (ค.ศ. 1684) – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2264 (ค.ศ. 1721) ] เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของ “ชนชั้นสูง” (fêtes galantes) อ็องตวน วาโตเป็นหนึ่งนักวาดภาพร่างยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของศิลปะยุโรป
ชีวิตในตอนต้น
แก้เขาเกิดที่วาล็องเซียน (Valenciennes) ในพ.ศ. 2227 ตอนอายุ 18 ปี อ็องตวน วาโตหนีไปที่ปารีสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พ.ศ. 2247 (ค.ศ. 1704) เขาเริ่มทำงานในสตูดิโอของโกลด ฌีโย (Claude Gillot) ผู้ออกแบบและสร้างสำหรับเวที ฌีโยแนะนำอ็องตวนสู่โลกของนักมายากลและตัวตลก และกระตุ้นความสนใจของเขาในดุลยภาพทางศิลปะต่อมารยาทสง่างาม จิตใจของวาโตได้แรงบันดาลใจโดยโรงละครฝรั่งเศสคลาสสิกกอเมดีฟร็องแซซ (Comédie Française) แต่เขารักความสว่างของโรงละครปารีเซียงในประเพณีตลกของโรงละครสด (commedia dell’arte) มากกว่า
วัยผู้ใหญ่
แก้พระเจ้าฟรีดริชมหาราช พระราชาแห่งปรัสเซีย ทรงประทับในพระราชวังชาร์ลอทเทนบูร์ก (Charlottenburg Palace) สวนมีเสน่ห์ของวังอยู่บนภาพวาดต่างๆ โดยวาโต พระเจ้าฟรีดริชทรงนับถือ “ชนชั้นสูง” ของจิตรกร และทรงเก็บรวบรวมงานต่าง ๆ ของเขา สำเนาของ “เลเปลซีร์ดูว์บาล” (Les Plaisirs du Bal) ซึ่งเป็นงานที่ถูกลอกมากสุดของวาโต ถูกแขวนในพระราชวังซ็องซูซี แกลเลอรีเล็ก ๆ ที่ซ็องซูซีเพ่งทั้งหมดบนศิลปินผู้วาดในรูปแบบโรโคโค งานของวาโตสามชิ้นแสดงที่นี่
ผลงาน
แก้ภาพวาด “การเริ่มดำเนินการสำหรับไซเธอรา ” เป็นงานที่อ็องตวน วาโตได้รับความเป็นสมาชิกราชสถาบันศิลปะ (royal academy) เต็มตัวในพ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) มันสร้างสร้างชื่อให้เขาว่าเป็น “ผู้เชี่ยวชาญของชนชั้นสูง” เป็นผู้บันทึกเหตุการณ์เศร้าโศกและแปลกประหลาดในวันของเขา
เป็นไปได้ว่า “ฌีลเป็นปีแยโร” (Gilles as Pierrot) เป็นภาพวาดที่รู้จักดีและน่าอัศจรรย์สุดโดยวาโต ซึ่งเขาวาดคนขนาดเท่าตัวจริงและตั้งเขาบนขอบนอกของภาพราวกับว่าอยู่บนหน้าเวที จากงานทั้งหมดของวาโต “ฌีล” พิสูจน์ว่าดลใจศิลปินท่านอื่น ๆ มากสุด
ไม่นานก่อนความตายของเขา วาโตวาด “พินัยกรรมทางศิลปะ” ของเขา ป้ายร้านของแฌร์แซ็ง (L'Enseigne de Gersaint, Gersaint’s Sign Shop) ซึ่งเป็นหนึ่งในภาพวาดสุดท้ายของวาโต แฌร์แซ็งเองบรรยายว่า
“หลังจากการกลับปารีสของเขาใน เมื่อผมอยู่ในธุรกิจไม่กี่ปี วาโตมาที่ผมเพื่อจะถามว่าผมสามารถเสนอที่พักแก่เขาได้หรือไม่และผมจะยอมให้เขาอุ่นนิ้วมือของเขาหรือไม่ เพราะเขาเองจะใช้มันผลิตภาพวาดที่ผมสามารถแขวนด้านนอก ผมกังวลเล็กน้อยเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบของผมแก่เขา เนื่องจากผมจะชอบทรัพย์สินที่มากกว่า แต่เมื่อผมเห็นว่ามันจะให้ความพอใจแก่เขา ผมยินยอม ความสำเร็จของภาพวาดเป็นที่รู้กันดี ทั้งหมดวาดจากชีวิตจริง ท่าทางจริงมากและเป็นธรรมชาติมาก องค์ประกอบโดยธรรมชาติมาก กลุ่มถูกวาดดีมาก ขนาดที่พวกมันดึงดูดสายตาของคนเดินผ่าน เขาใช้หนึ่งสัปดาห์ เขาทำงานกับมันในตอนเช้า เพราะสุขภาพอ่อนแอของเขาไม่ให้มันครอบครองเวลาของเขาเป็นช่วงนานกว่านี้ ตามที่เขายอมรับอย่างเปิดเผยต่อผม มันเป็นงานเดียวที่ยกอัตตาของเขา”
พระเจ้าฟรีดริชมหาราชไม่เพียงทรงครอบครอง “ล็องแซน เดอ แฌร์แซ็ง” แต่ทรงครอบครองฉบับที่สองของภาพวาดที่ทำให้วาโตมีชื่อเสียงเช่นกัน “การเดินทางไปแสวงบุญที่ไซเธอรา” ผู้เชี่ยวชาญถกเถียงเสมอว่าการเริ่มดำเนินการสำหรับการเดินทางไปหรือกลับ และฉบับไหนมืดมนมากกว่าและอีกภาพบอกความร่าเริงและความสุขของดินแดนวิเศษแห่งความรักมากกว่าหรือไม่