ซูเปอร์ฟลายเวท (อังกฤษ: Super flyweight) ชื่อเรียกน้ำหนักรุ่นมวยระหว่างรุ่นฟลายเวทกับรุ่นแบนตัมเวท โดยนักมวยที่จะชกในรุ่นนี้ต้องมีน้ำหนักมากกว่า 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม) และไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม)[1] โดยสถาบันที่เริ่มก่อตั้งรุ่นนี้คือ สภามวยโลก (WBC) ในปี ค.ศ. 1980 โดยเรียกรุ่นนี้ว่า ซูเปอร์ฟลายเวท และในสถาบันสมาคมมวยโลก (WBA) สหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) และ องค์กรมวยโลก (WBO) จะเรียกว่า จูเนียร์แบนตัมเวท (Junior bantamweight) แชมป์โลกที่ป้องกันตำแหน่งแชมป์ในรุ่นนี้ไว้ได้มากที่สุดในโลก คือ เขาทราย แกแล็คซี่ โดยป้องกันไว้ได้ทั้งหมด 19 ครั้ง และเป็นสถิติที่มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของเอเชีย[2] และได้รับการยกย่องให้เป็นแชมป์โลกตลอดกาลในรุ่นนี้ ของสมาคมมวยโลก (WBA) ด้วย[3] (ในปัจจุบัน สมาคมมวยโลกเปลี่ยนการเรียกชื่อรุ่นเป็นซูเปอร์ฟลายเวทร่วมกันกับสภามวยโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1998)

สำหรับนักมวยไทยที่เคยครองแชมป์โลกในรุ่นนี้มีทั้งหมด 6 คน ได้แก่ พเยาว์ พูนธรัตน์, เขาทราย แกแล็คซี่, หยกไทย ศิษย์ อ., เทพฤทธิ์ สิงห์วังชา, สุริยัน ศ.รุ่งวิสัย, ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย และเด่นเก้าแสน เก้าวิชิต (เป็นแค่แชมป์เฉพาะกาล)

สำหรับนักมวยต่างชาติที่มีชื่อเสียงที่ชกในพิกัดนี้ อาทิ จิโร วาตานาเบะ, ราฟาเอล โอโรโน, ฆิลเบร์โต โรมัน, อิสราเอล กอนเตรรัส, เอ็ลลียัซ ปีกัล, มุน ซ็อง-กิล,คัตสึยะ โอนิซูกะ, จอห์นนี ทาเปีย,เลโอ กาเมซ, แดนนี โรเมโร , โนนิโต โดแนร์, ไดกิ คาเมดะ,คาซูโตะ อิโอกะ,โคเซ ทานากะ เป็นต้น[4]

อ้างอิง

แก้
  1. ["(อังกฤษ) 115 pound". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-06. สืบค้นเมื่อ 2012-01-15. (อังกฤษ) 115 pound]
  2. คอลัมน์ คุยนอกสนาม โดย พิจิตร กาญจนกุล หน้า 15 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับที่ 22,088 ประจำวันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553
  3. บทสัมภาษณ์จากไทยรัฐ
  4. คนเหล็ก. ย้อนอดีตมวยดัง:จิโร วะตะนะเบะ หอกข้างแคร่ของพเยาว์ พูนธรัตน์. นิตยสารมวยโลก. ฉบับที่ 1208. พฤศจิกายน 2550. หน้า 40 - 41