ซินเหวินเหลียนปัว
ซินเหวินเหลียนปัว (จีนตัวย่อ: 新闻联播; จีนตัวเต็ม: 新聞聯播; พินอิน: Xīnwén Liánbō; แปลตรงตัว: "เครือข่ายข่าว") เป็นรายการข่าวประจำวันที่ผลิตโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CCTV) สถานีโทรทัศน์ของรัฐ ออกอากาศพร้อมกันโดยสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นทุกแห่งในแผ่นดินใหญ่ของจีน ทำให้เป็นหนึ่งในรายการที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก ออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1978[1]
ซินเหวินเหลียนปัว | |
---|---|
ไฟล์:Xinwen Lianbo.jpg ชื่อเปิดรายการใช้ตัวอักษรจีนและพินอิน ฉากเปิดและเพลงประกอบซึ่งเริ่มใช้ครั้งแรกใน ค.ศ. 1988 ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก | |
อักษรจีนตัวเต็ม | 新聞聯播 |
อักษรจีนตัวย่อ | 新闻联播 |
ประเภท | ข่าว |
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่อง | เมิ่ง เว่ย์ตง |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | Together Again โดยอลาสเตอร์ แกวิน |
ประเทศแหล่งกำเนิด | จีน |
ภาษาต้นฉบับ | แมนดาริน |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | มีต้นกำเนิดจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (ดูรายละเอียดด้านล่าง) |
ออกอากาศ | 1 มกราคม ค.ศ. 1978 – ปัจจุบัน |
รายการนี้ถูกใช้เป็นสื่อกลางในการประกาศข่าวสารและการประชุมของรัฐบาล ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจและนโยบายสำคัญ และกิจกรรมของผู้นำระดับชาติ รายการนี้นำเสนอมุมมองอย่างเป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ อย่างครอบคลุม มีผู้กล่าวหาว่ารายการนี้ถูกใช้เป็นช่องทางให้พรรคเปิดเผยวาระทางการเมืองของตนมากกว่าจะเป็นการตรวจสอบเหตุการณ์ข่าวสำคัญประจำวัน รายการนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งภายในประเทศจีนและระดับนานาชาติถึงการขาดความเป็นกลาง แม้ความนิยมจะลดลง แต่รายการนี้ก็ยังคงเป็นรายการที่มีผู้ชมจำนวนมาก
รูปแบบรายการ
แก้ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดคำแปลภาษาอังกฤษที่เป็นมาตรฐานสำหรับชื่อรายการนี้ การแปลที่นิยมใช้กัน ได้แก่ "ข่าวภาคค่ำ" และ "เครือข่ายข่าวออกอากาศ"[2] พจนานุกรมออกซฟอร์ดให้คำแปลว่า news hook-up อาจแปลได้ว่า "การเชื่อมต่อข่าวสาร" หรือ "การเชื่อมโยงข่าว"[3] ชื่อภาษาจีนของรายการประกอบด้วยสองคำ ได้แก่ ซินเหวิน (新闻/新聞) หมายถึง "ข่าว" และ เหลียนปัว (联播/聯播) ซึ่งแปลได้ใกล้เคียงกับ "ออกอากาศร่วมกัน/พร้อมกัน" หมายถึงเนื้อหารายการจะถูกออกอากาศโดยสถานีโทรทัศน์ระดับมณฑลและเทศบาลทั่วประเทศจีน (ปกติจะเป็นช่องหลักของแต่ละสถานี) ทำให้รับประกันได้ว่าผู้ชมจะสามารถรับชมรายการผ่านทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินได้ทั่วประเทศ และสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นทุกแห่งมีผู้สื่อข่าวที่มีหน้าที่ส่งข่าวและรายงานพิเศษจากพื้นที่ของตนมาให้รายการนี้[4]
รายการนี้ยังได้รับการแปลเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อย เช่น เวอร์ชันภาษาเกาหลีที่ออกอากาศในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลี หยันเปียน มณฑลจี๋หลิน ซึ่งมีชื่อว่า "ข่าวในและต่างประเทศ" (เกาหลี: 국내외뉴스; ฮันจา: 國內外뉴스)[5]
รายการนี้เป็นรายการข่าวประจำวันยาวประมาณ 30 นาที เริ่มจากการนำเสนอหัวข้อข่าวสำคัญแล้วจึงรายงานรายละเอียดของแต่ละข่าว[6] ในสถานการณ์พิเศษ เวลาออกอากาศอาจถูกขยายออกไปเกินกว่า 30 นาทีเมื่อเห็นว่าจำเป็น ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 1997 การถึงแก่อสัญกรรมของเติ้ง เสี่ยวผิง ทำให้ซินเหวินเหลียนปัวออกอากาศเกินเวลาปกติเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ผู้ประกาศข่าวปรากฏตัวในท่านั่งโดยมีฉากหลังเป็นกระจกใสที่มองเห็นห้องควบคุมอยู่เบื้องหลัง[7] รูปแบบแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยตลอดสามทศวรรษ แม้กระทั่งรายละเอียดเล็กน้อย ภาษาจีนกลางถูกใช้ตลอดรายการตามนโยบายด้านภาษาของรัฐบาล และใช้ภาษาที่เป็นทางการและสุภาพตลอดการออกอากาศ การนำเสนอนั้นแข็งทื่อ ไร้ซึ่งการพูดคุยที่เป็นกันเองหรืออารมณ์ขัน[1]
ก่อนเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 ซินเหวินเหลียนปัวไม่เคยนำเสนอรูปแบบการสัมภาษณ์สดหรือการรายงานสดจากสถานที่ (ยกเว้นกรณีพิเศษ เช่น การถ่ายทอดสดการปล่อยดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ 2 เมื่อ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2010) รายงานสดฉบับแรกถูกเผยแพร่เมื่อ 26 มกราคม ค.ศ 2013 รายการนำเทคโนโลยีสร้างภาพกราฟิกจากซอฟต์แวร์ Vizrt ในการออกอากาศข่าวมาใช้เป็นหลักตั้งแต่ 25 กันยายน ค.ศ. 2011 เป็นต้นมา ณ ค.ศ. 2023 ฉากเปิดและดนตรีประกอบแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ มาตั้งแต่ ค.ศ. 1988[6][8][โปรดขยายความ]
รายการนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าสมควรแก่ชื่อเสียง ด้วยระบบการเผยแพร่ที่ครอบคลุมทั่วถึงจนทำให้ วอชิงตันโพสต์ยกย่องให้เป็นหนึ่งในรายการข่าวที่ผู้คนทั่วโลกชมมากที่สุด การคำนวณจากสถิติอย่างเป็นทางการชี้ว่ามีผู้ชมรายการนี้อย่างน้อยวันละ 135 ล้านคน ซึ่งก็เป็นเรื่องสมเหตุสมผลหากพิจารณาจากจำนวนประชากรของประเทศจีน[2] ใน ค.ศ. 2006 เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลทำการวิเคราะห์ว่ารายการนี้มีผู้ชมมากกว่ารายการข่าวที่ได้รับเรตติงสูงสุดของสหรัฐถึง 14 เท่า
การออกอากาศครั้งแรกในเวลา 19:00 น. ตามเวลา UTC+8 ถูกเผยแพร่พร้อมกันทางช่อง CCTV-1, CCTV-7 และ CCTV-13 (ออกอากาศพร้อมกันทาง CCTV) รวมถึงช่องหลักของสถานีโทรทัศน์ระดับมณฑลและเทศบาลทั่วประเทศ ตลอดจนสถานีวิทยุกระจายเสียงบางแห่งทั่วประเทศ ตามปกติแล้ว CCTV-13 จะออกอากาศซ้ำ (หรือออกอากาศสดหากการออกอากาศครั้งแรกมีข้อผิดพลาด) ในเวลา 21:00 น. ขณะที่ CCTV-4 มักออกอากาศซ้ำในเวลาหลังจากนั้น และ CCTV-1 มักออกอากาศซ้ำในเวลา 05:00 น. มีการพากย์เสียงภาษาชนกลุ่มน้อยในภายหลังสำหรับผู้ชมในภูมิภาคนั้น ๆ สิ่งนี้ทำให้แน่ใจว่าผู้ชมรายการทั้งแบบฟรีทีวีและแบบเสียเงินในประเทศอาจจะได้รับชมรายการนี้ได้ประมาณครึ่งหนึ่งของช่องทั้งหมดที่มี
เมื่อ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 ซินเหวินเหลียนปัวเปลี่ยนระบบภาพเป็นความละเอียดสูงแบบ 16:9[9]
ประวัติ
แก้ต้นกำเนิด
แก้เมื่อ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1958 สถานีวิทยุโทรทัศน์ปักกิ่ง สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของจีน เริ่มออกอากาศรายการ "สรุปข่าว" (News Bulletin) ในเวลา 18:50–19:00 น. ของทุกวันอาทิตย์ โดยนำเสนอข่าวสารทางการเมืองที่สำคัญในประเทศ ข้อมูลเกี่ยวกับพลวัตทางสังคม และรายงานเกี่ยวกับบุคคลตัวอย่าง ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของ "เครือข่ายข่าว" ในอนาคต
เมื่อ 29 มีนาคม ค.ศ. 1976 การประชุมนักข่าวโทรทัศน์แห่งชาติซึ่งจัดขึ้นที่ปักกิ่งเสนอให้ "รวมศูนย์สถานีโทรทัศน์ทั่วประเทศและสร้างรายการข่าวโทรทัศน์แห่งชาติ" ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 สถานีวิทยุโทรทัศน์ปักกิ่งออกอากาศ "เครือข่ายข่าวโทรทัศน์แห่งชาติ" (National Television News Network) เป็นครั้งแรกโดยส่งสัญญาณไปยังสถานีโทรทัศน์ระดับมณฑลมากกว่า 10 สถานีผ่านสายไมโครเวฟ
ผู้ประกาศข่าว
แก้รายการดำเนินโดยผู้ประกาศข่าวสองคน ปกติเป็นชายหญิงอย่างละหนึ่งคน ตั้งแต่ ค.ศ. 1989 ถึง 2006 ผู้ประกาศข่าวหลักคือสิง จื้อปิน และหลัว จิง[2] โดยมีผู้ช่วยอีกสี่คน[1] วันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 2006 มีการแนะนำผู้ประกาศข่าวคนใหม่สองคนคือหลี จื่อเหมิง และคัง ฮุย[1]
ปัจจุบัน
แก้- เป๋า เสี่ยวเฟิง (หญิง, 寶曉峰/宝晓峰)
- กัง เฉียง (ชาย, 剛強/刚强)
- พาน เทา (ชาย, 潘涛)
- เหยียน ยฺหวีซิ่น (ชาย, 嚴於信/严於信)
- หวัง อินฉี (หญิง, 王音棋)
- เจิ้ง ลี่ (หญิง, 鄭麗/郑丽)
อดีต
แก้- ตู้ เซี่ยน (หญิง, 杜憲/杜宪) ถูกปลดหลังแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989[10]
- กัว จื้อเจียน (ชาย, 郭志堅/郭志坚)
- ไห่ เสีย (หญิง, 海霞)
- คัง ฮุย (ชาย, 康輝/康辉)
- หลาง หย่งฉุน (ชาย, 郎永淳)
- หลี่ รุ่ยอิง (หญิง, 李瑞英)
- หลี่ ซิวผิง (หญิง, 李修平)
- หลี จื่อเหมิง (หญิง, 李梓萌)
- หลัว จิง (ชาย, 羅京/罗京), เสียชีวิต
- โอวหยาง เซี่ยตาน (หญิง, 歐陽夏丹/欧阳夏丹)
- สิง จื้อปิน (หญิง, 邢質斌/邢质斌)
- เซฺว เฟย์ (ชาย, 薛飛/薛飞) ถูกปลดหลังแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989[10]
- หวัง หนิง (ชาย, 王寧/王宁)
- จาง หงหมิน (ชาย, 張宏民/张宏民)
ความสำคัญทางการเมือง
แก้คุณค่าข่าว
แก้ซู จ้าวหรง นักข่าวของสำนักข่าวซินหัว ได้เสนอมุมมอง 4 ประการเกี่ยวกับเกณฑ์การตัดสินใจเลือกข่าวสำคัญในปัจจุบันของนักข่าวจีนที่ทำงานในสื่อทางการหรือสื่อโฆษณาชวนเชื่อ (การประชุมวิชาการด้านวารสารศาสตร์ประจำปี 1998):
- 1. กิจกรรมสำคัญ การเปลี่ยนแปลงบุคลากร และการประชุมของพรรคและรัฐบาล เช่น งานเลี้ยงฉลองวันชาติ การประชุมของพรรคและการประชุมของสภาประชาชนแห่งชาติ;
- 2. กิจกรรมของผู้นำพรรคและประเทศ เช่น การเดินทางตรวจเยี่ยม การพบปะกับแขกต่างประเทศ การประชุมกับผู้แทนในประเทศ การเดินทางเข้าออกประเทศ และงานเลี้ยงน้ำชาที่ผู้นำพรรคเป็นเจ้าภาพ;
- 3. นโยบาย แนวปฏิบัติ กฎหมาย กฎระเบียบ และเอกสารสำคัญของพรรคและรัฐ;
- 4. ความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์และนโยบายที่สำคัญ...
— หลี สี่กวง
แท้จริงแล้วซินเหวินเหลียนปั คือเครื่องมือในการสื่อสารของพรรคและรัฐ เช่นเดียวกับรายการข่าวทั้งหมดในแผ่นดินใหญ่ของจีน ลำดับการนำเสนอจะถูกกำหนดโดยความสำคัญทางสังคมและการเมืองของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง (มากกว่าจะพิจารณาจากคุณค่าข่าวอื่น ๆ) ดังนั้น กิจกรรมของเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงมักถูกนำเสนอเป็นรายการแรกเสมอ ตามด้วยรายงานเกี่ยวกับสมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญของกรมการเมืองซึ่งเรียงตามลำดับอาวุโส[2] กิจกรรมทางการทูตมักได้รับการนำเสนอก่อนกิจกรรมภายในประเทศ หลังการนำเสนอหัวข่าวแล้วจะมีการอ่านแถลงการณ์จากคณะรัฐมนตรีหรือพรรคคอมมิวนิสต์จีน[11] เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญหรือการกล่าวสุนทรพจน์ที่ควรได้รับการรายงาน กล้องจะค่อย ๆ ปัดไปตามกรรมาธิการสามัญกรมการเมือง[12]
รายการนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากรูปแบบการนำเสนอที่ตายตัว การให้ความสำคัญกับผู้นำพรรคและรัฐเป็นอย่างมาก และขาดการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ โดยเฉลี่ยแล้ว ประมาณครึ่งหนึ่งของรายการทั้งหมดนั้นอุทิศให้กับเนื้อหาทางการเมือง เป็นต้นว่า ประกาศจากพรรคการเมือง การประชุมรัฐบาล หรือกิจกรรมของผู้นำ[13]
การวางแนวข่าว
แก้รายการนี้มีบทบาทในกลไกการสื่อสารของพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั้งในระดับมวลชนและชนชั้นนำ จ้าน เจียง อาจารย์มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเมืองเยาวชนแห่งประเทศจีน สรุปเนื้อหาของรายการอย่างชัดเจนในสามประโยค คือ "ผู้นำกำลังยุ่งกับการทำงาน ประเทศชาติกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว และประเทศอื่นกำลังวุ่นวาย"[14]
ในแง่หนึ่ง รายการนี้เป็นแหล่งข่าวที่เข้าถึงประชาชนจำนวนมากที่สุดในประเทศจีน ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์มีโอกาสในการส่งอิทธิพลต่อมวลชน[15] ตามที่หลี่กล่าวไว้ การรับชมรายการข่าวประจำวันนั้นเป็นเสมือน "พิธีการแห่งชาติ" ที่ปฏิบัติกันมาโดยตลอดในช่วงมื้อค่ำร่วมกันของครอบครัว
อีกด้านหนึ่ง มันถูกใช้เป็นกลไกในการส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องในนโยบายและบุคลากร นโยบายใหม่ ๆ ถูกนำมาใช้โดยมีลักษณะพิเศษ เช่น "กรอบแนวคิดของผู้บริหารตัวอย่าง" ที่ใช้เพื่อส่งเสริมทฤษฎีสามตัวแทนใน ค.ศ. 2002 ลำดับภาพของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองแสดงให้เห็นถึงอำนาจสัมพัทธ์ของแต่ละคน ผู้เชี่ยวชาญสื่อจีนกล่าวว่า "ผู้นำแต่ละคนได้รับการจัดสรรเวลาปรากฏตัวบนหน้าจอเป็นจำนวนวินาที โดยฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อของพรรคจะเป็นผู้ควบคุมเวลาของแต่ละคนอย่างรอบคอบ"[2] ความเป็นทางการอย่างมากของรายการนี้มีสาเหตุมาจากความกังวลว่าหากเกิดความเข้าใจผิดใด ๆ ขึ้นมาอาจนำไปสู่ผลกระทบร้ายแรง
ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ การรายงานข่าวเหตุการณ์การประท้วงและการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินใน ค.ศ. 1989 ที่นำไปสู่การปลดผู้ประกาศข่าวชื่อดังอย่างตู้ เซี่ยน และเซฺว เฟย์ หลังทั้งคู่สวมชุดสีดำและอ่านข่าวช้ากว่าปกติ[16]
เสื่อมความนิยม
แก้....ผู้ชมหลักของรายการนี้คือข้าราชการและเจ้าหน้าที่พรรคจำนวนมากของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับมณฑล และนักธุรกิจที่ต้องการติดตามนโยบายและทัศนคติที่จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของพวกเขา
— เอ็ดเวิร์ด โคดี, วอชิงตันโพสต์, อ้างอิงจากโจว เสี่ยวผู จากมหาวิทยาลัยเหรินหมิน[2]
รายการทั้งหมดของ CCTV ต่างเผชิญแรงกดดันทางการค้า แต่ซินเหวินเหลียนปัวนั้นกลับได้รับผลกระทบน้อยกว่ารายการอื่น ๆ รายการนี้มีคู่แข่งน้อยราย แม้จะมีรายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ Phoenix Television ของฮ่องกง และ Dragon TV ของเซี่ยงไฮ้เข้ามาแข่งขัน[17] นอกจากนี้ซินเหวินเหลียนปัวยังเป็นหนึ่งในรายการที่สร้างรายได้หลักให้แก่ CCTV[ต้องการอ้างอิง] แม้จะไม่มีโฆษณาแทรกระหว่างรายการ แต่ช่วงโฆษณาที่ตามมาทันทีหลังรายการนั้นมีการขายไปในราคาสูงถึง 100,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อช่วงเวลา[18] และช่วง 5 วินาทีก่อนเวลา 19:00 น. นั้นถือเป็นช่วงที่โฆษณามีราคาแพงที่สุดที่ CCTV เคยเสนอขาย โดยมีมูลค่าถึง 24 ล้านหยวนใน ค.ศ. 2003 (คิดเป็นประมาณร้อยละ 7 ของรายได้จากการโฆษณาประจำปีของ CCTV)[19]
ไชนาเดลีรายงานว่าความสนใจในรายการนี้ลดลง โดยได้รับส่วนแบ่งผู้ชมเพียงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับร้อยละ 40 ก่อน ค.ศ. 1998 สาเหตุหนึ่งมาจากการรายงานข่าวประกาศอย่างเป็นทางการของรัฐบาลซึ่งไม่ได้ดึงดูดความสนใจนัก หลัง 20 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ซินเหวินเหลียนปัวให้ความสำคัญกับการรายงานข่าวเชิงวิพากษ์และเรื่องราวที่สะท้อนความเป็นมนุษย์มากขึ้น[20]
เวลาออกอากาศ
แก้เวลาทั้งหมดคือ (UTC+08:00)
ออกอากาศสด
แก้- CCTV-1 (ฟรีทีวี), CCTV-13 (ช่องข่าว) และ CCTV-7 (ช่องกลาโหมและทหาร): ทุกวัน เวลา 19:00—19:30 น. ตามเวลามาตรฐานจีน (CST) เป็นช่องในเครือของสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน
ออกอากาศซ้ำ
แก้- CCTV-4 (ช่องต่างประเทศ): วันถัดไป เวลา 22:30–23:00 น., 02:00–02:30 น. (เอเชีย), 03:00–03:30 น. (ยุโรป), 05:30–06:00 น. (อเมริกา) ตามเวลามาตรฐานจีน
- CCTV-13: ทุกวัน เวลา 21:00-21:30 น. ตามเวลามาตรฐานจีน
- CCTV-1 (ฟรีทีวี): วันถัดไป เวลา 05:00–05:30 น. ตามเวลามาตรฐานจีน
เวอร์ชันภาษาต่างประเทศ
แก้- ญี่ปุ่น:
- CCTVDaifu พร้อมเสียงบรรยายภาษาญี่ปุ่น: ทุกวัน เวลา 20:00–20:30 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น (JST) (19:00–19:30 น. ตามเวลามาตรฐานจีน )
ข้อโต้แย้ง
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Jason Dean and Geoffrey A.Fowler (9 June 2006). "Two Youthful Anchors Give China's TV News A Jolt of Personality". Wall Street Journal.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Edward Cody (23 March 2007). "In a Changing China, News Show Thrives With Timeworn Ways". Washington Post. p. A01.
- ↑ Manser, Martin H. (1999). Concise English-Chinese Chinese-English Dictionary (New ed.). Oxford University Press/Commercial Press. pp. 345, 联.
- ↑ "为每晚七点都要转播中央电视台新闻联播?" [Why "Xinwen Lianbo" must simulcast on 7pm?]. Guangzhou Daily. 22 มกราคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Korean-language broadcasting in China". North Korea Tech. 22 July 2021.
- ↑ 6.0 6.1 See the Duowei external link below, passim.
- ↑ See this edition at 00:16, where a lady clearly walks behind the window: CCTV (4 September 2007). "- YouTube" 新闻联播20070904 (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2007-09-11 – โดยทาง YouTube.แม่แบบ:Dead YouTube link
- ↑ 1991年的新闻联播 (Flash) (ภาษาจีน). via 6rooms. 1991. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13.
- ↑ "Xinwen Lianbo" for 18 July 2020 (YouTube) (ภาษาจีน). 18 July 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21. สืบค้นเมื่อ 2 November 2020.
- ↑ 10.0 10.1 "北京避谈1989年天安门屠杀纪念日 (Chinese)". Voice of America (China). June 4, 2018. สืบค้นเมื่อ 8 June 2018.
- ↑ See this edition at 01:09, where a Party announcement related to the 17th Party Congress preceded coverage of the one-year countdown to the Beijing Olympics: CCTV (9 August 2007). "- YouTube" 新闻联播20070809 (ภาษาจีน). via Duowei and Youtube. สืบค้นเมื่อ 2007-09-11.แม่แบบ:Dead YouTube link
- ↑ See this edition, where Standing Committee members are mentioned by rank at 00:42 and shown at approx. 01:50: CCTV (7 June 2007). "- YouTube" 新闻联播20070625 (ภาษาจีน). via Duowei via YouTube. สืบค้นเมื่อ 2007-09-11.แม่แบบ:Dead YouTube link
- ↑ Zhu, Ying (2009). TV China. Indiana University Press. pp. 50–1. ISBN 978-0-253-22026-4.
- ↑ Zhan, Jiang (2009-08-05). "展江:轻松和包装不是央视新闻的出路". Yangtze Commercial Times via People's Daily. สืบค้นเมื่อ 2011-02-08.
- ↑ "No news is bad news". The Economist. 6 February 2016. สืบค้นเมื่อ 5 February 2016.
- ↑ Tsai, Wen-Hsuan; Liao, Xingmiu (2020-06-08). "A Mechanism of Coded Communication: Xinwen Lianbo and CCP Politics". Modern China (ภาษาอังกฤษ). 47 (5): 569–597. doi:10.1177/0097700420920204. ISSN 0097-7004. S2CID 225785676.
- ↑ . Note that the station's Chinese name translates as "Eastern TV" or "Oriental TV". It is the flagship station of the Shanghai Media Group.
- ↑ Dean and Fowler, op.cit. CCTV commercial spots have sold through a complex auction process, so this is likely to be an estimate.
- ↑ Zhao Yuan (3 December 2003). "Ads Tender Reflects Booming Economy". CCTV. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13.
- ↑ CCTV to revamp flagship news program, China Daily, June 10, 2009
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ของรายการ (จีน)