ซาปา (เวียดนาม: Sa Pa) เป็นเมืองชายแดนตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในจังหวัดหล่าวกาย มีจุดเด่นคือมีการทำนาขั้นบันไดมาก ทำให้มีภูมิทัศน์สวยงามแก่การท่องเที่ยว เดิมซาปาเป็นเมืองตากอากาศของเจ้านายชั้นสูงชาวฝรั่งเศสที่มาทำงานในเวียดนาม จึงมีสถาปัตยกรรมอาคารบ้านเรือนและการวางผังเมืองแบบอาณานิคมฝรั่งเศส (French Colonial) มีจุดเด่นที่ตั้งอยู่กลางเมืองคือ โบสถ์คาทอลิก

ซาปา

Thị xã Sa Pa
ทิวทัศน์เมืองซาปา
ทิวทัศน์เมืองซาปา
คำขวัญ: 
"Paulatim crescam"
พิกัด: 22°21′N 103°52′E / 22.350°N 103.867°E / 22.350; 103.867
ประเทศ เวียดนาม
ภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
จังหวัดหล่าวกาย
ศูนย์กลางการปกครองแขวงซาปา
พื้นที่
 • ทั้งหมด677 ตร.กม. (261 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง54.51 ตร.กม. (21.05 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2018)
 • ทั้งหมด81,857 คน
 • ความหนาแน่น120 คน/ตร.กม. (310 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง38,122 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง700 คน/ตร.กม. (1,800 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+7 (UTC + 7)

ภูมิศาสตร์ แก้

 
ทิวทัศน์เมืองซาปา

เมืองซาปาตั้งอยู่ในจังหวัดหล่าวกาย บริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม ซึ่งห่างจากชายแดนประเทศจีนประมาณ 380 กิโลเมตรมีภูมิประเทศแบบเทือกเขา โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาฮวงเหลียนเซิน (The Hoàng Liên Son) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกสุดของเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาแห่งนี้เป็นที่ตั้งของยอดเขาฟานซีปัง ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเวียดนามที่ระดับความสูง 3,143 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

สำหรับชุมชนเมืองซาปานั้น ตั้งอยู่ที่ระดับความสูงโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีลักษณะภูมิอากาศตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน (Köppen climate classification) แบบ Cwb มีลักษณะโดยทั่วไปคืออบอุ่นชื้นและมีฝนตกในฤดูร้อน (เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม) อบอุ่นและแห้งในฤดูหนาว โดยเมืองซาปาบางปีนั้นจะมีหิมะตกได้ในบางวัน

เมืองซาปาเป็นชุมชนชาวเขาขนาดเล็กและเป็นบ้านเกิดของชนกลุ่มน้อยหลายเผ่าพันธุ์ มีประชากรทั้งหมด 36,000 คน ประกอบไปด้วย กลุ่ม Kinh (Viet) ร้อยละ 15 และกลุ่มชาติพันธุ์หลักอีก 5 กลุ่มด้วยกัน ประกอบด้วยกลุ่ม Hmong ร้อยละ 52 กลุ่ม Dao ร้อยละ 25 กลุ่ม Tay ร้อยละ 5 กลุ่ม Giay ร้อยละ 2 และกลุ่ม Xa Pho จำนวนเล็กน้อย โดยประมาณ 7,000 คนอาศัยอยู่ในตัวเมือง ส่วนประชากรกลุ่มที่เหลือกระจายไปอาศัยอยู่ตามชุมชนย่อยในเขตชนบท

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพโดยอาศัยภูมิประเทศที่ลาดชันคล้ายขั้นบันได โดยมีผลผลิตทางเกษตรกรรมหลักคือข้าวและข้าวโพด

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้