"ซัมติง" (อังกฤษ: Something) เป็นเพลงของวงเดอะบีเทิลส์ ในปี ค.ศ. 1969 เป็นเพลงที่บรรจุอยู่ในอัลบั้มชุด แอบบีโรด เพลงนี้เป็นเพลงแรกที่ซิงเกิลหน้าเอที่จอร์จ แฮร์ริสันเขียน และถือเป็นซิงเกิลแรกของเดอะบีเทิลส์ที่มีเพลงที่มีอยู่แล้วในอัลบั้มบรรจุอยู่ด้วย ทั้งเพลง "ซัมติง" และเพลง "คัมทูเกตเตอร์" ที่อยู่ในอัลบั้ม แอบบีโรด และเพลง "ซัมติง" ถือเป็นเพลงเดียวที่แฮร์ริสันแต่งแล้วขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตอเมริกันขณะที่ยังอยู่ในวงเดอะบีเทิลส์

"ซัมติง"
ซิงเกิลโดยเดอะบีเทิลส์
จากอัลบั้มแอบบีโรด
ด้านเอ"ซัมติง"
ด้านบี"คัมทูเกตเตอร์"
วางจำหน่าย6 ตุลาคม 1969 (สหรัฐอเมริกา)
31 ตุลาคม ค.ศ. 1969 (สหราชอาณาจักร)
บันทึกเสียงแอบบีโรดสตูดิโอ
25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969
แนวเพลงร็อก, บลูส์, ป็อป[1]
ความยาว3:00
ค่ายเพลงแอปเปิลเรเคิดส์
ผู้ประพันธ์เพลงจอร์จ แฮร์ริสัน
โปรดิวเซอร์จอร์จ มาร์ติน
ลำดับซิงเกิลของเดอะบีเทิลส์
"เดอะบัลลาดออฟจอห์นแอนด์โยโกะ"/"โอลด์บราวน์ชู"
(1969)
"ซัมติง"
(1969)
"เลตอิตบี"/"ยูโนว์มายเนม (ลุกอัปเดอะนัมเบอร์)"
(1970)

จอห์น เลนนอนและพอล แม็กคาร์ตนีย์ ในฐานะสมาชิกหลักผู้เขียนเพลงของวง ทั้งคู่ต่างยกย่องว่าเพลง "ซัมติง" เป็นเพลงที่ดีที่สุดที่แฮร์ริสันเขียนมา ทั้งนี้เพลงยังได้รับการตอบรับที่ดี ซิงเกิลประสบความสำเร็จด้านยอดขาย ติดอันดับ 1 บนบิลบอร์ดฮอต 100 ในสหรัฐอเมริกา และยังติดท็อป 10 ในชาร์ตสหราชอาณาจักร หลังจากวงได้แตกไป ศิลปินอื่นกว่า 150 ศิลปินก็นำเพลงนี้มาทำใหม่ รวมถึง เอลวิส เพรสลีย์, เชอร์ลีย์ บาสเซย์, แฟรงก์ ซินาตรา, โทนี เบนเนตต์, เจมส์ บราวน์, ฮูลิโอ อีเกลเซียส, สโมกีย์ โรบินสัน และโจ ค็อกเกอร์ ถือเป็นเพลงที่ถูกนำมาทำใหม่มากที่สุดของวงเดอะบีเทิลส์เป็นอันดับ 2 รองจากเพลง "เยสเตอร์เดย์"[2]

การเขียนเพลง

แก้

ในช่วงระหว่างการบันทึกเสียงอัลบั้ม เดอะบีเทิลส์ ในปี ค.ศ. 1968 (อัลบั้มมีอีกชื่อว่า ไวต์อัลบั้ม ด้วย) แฮร์ริสันเริ่มทำงานเพลงจนท้ายสุดเป็นที่รู้จักในเพลง "ซัมติง" เนื้อเพลงแรก ("Something in the way she moves/Attracts me like no other lover") ดัดแปลงมาจากผลงานเพลงของศิลปินร่วมค่ายแอปเปิ้ลอย่าง เจมส์ เทย์เลอร์[3] ที่ชื่อว่า "ซัมติงอินเดอะเวย์ชีมูฟ" (อังกฤษ: Something In The Way She Moves) โดยใช้เนื้อเป็นส่วนเติมขณะที่กำลังพัฒนาเมโลดี้ของเพลงอยู่

ต่อมาแฮร์ริสันออกมาเปิดเผยว่า "ขณะที่ผมกำลังหยุดพักระหว่างที่พอลกำลังบันทึกเสียงซ้ำอยู่ ผมก็ไปสตูดิโอว่าง ๆ แล้วเริ่มเขียนเพลง ทั้งหมดเกิดขึ้นที่นั่น ยกเว้นตรงกลางที่แยกออกมาตะหาก มันไม่ได้บรรจุอยู่ใน ไวต์อัลบั้ม เพราะว่าเราทำเพลงครบแล้วสำหรับอัลบั้มดังกล่าว"[4] เดโมของเพลงนี้ในช่วงนี้มีบรรจุอยู่ในอัลบั้มชุดรวมเพลง บีตเทิลส์แอนโธโลจี 3 ที่ออกจำหน่ายในปี ค.ศ. 1996

มีหลายคนคิดว่า เพลงนี้แฮร์ริสันได้รับแรงบันดาลใจการแต่งมาจากภรรยาของเขาในเวลานั้นที่ชื่อ แพตตี บอยด์ ซึ่งบอยด์ก็ระบุเช่นกันในงานอัตชีวประวัติของเธอในปี ค.ศ. 2007 ที่ชื่อ วันเดอร์ฟูลทูไนต์ โดยเธอเขียนไว้ว่า "เขาบอกฉัน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งว่า เขาเขียนเพลงนี้ให้ฉัน"[5]

อย่างไรก็ตาม แฮร์ริสันเอ่ยถึงแรงบันดาลใจอื่นที่ต่างกัน จากบทสัมภาษณ์ในปี ค.ศ. 1996 เขาตอบคำถามว่าเพลงนี้เกี่ยวกับแพตตีหรือไม่ เขาตอบว่า "เปล่า ผมไม่ได้เขียนเพลงนี้ให้เธอ ผมแค่เขียนมันและมีบางคนนำมาใส่ในวิดีโอ เขาใส่ภาพของผมกับแพตตี พอลและลินดา ริงโก้และเมอรีน จอห์นกับโยโกะ พวกเขาได้ทำวิดีโอประมาณนั้น จากนั้นทุก ๆ คนก็เดาว่าผมเขียนเพลงนี้เกี่ยวกับแพตตี แต่จริง ๆ แล้วตอนที่ผมเขียน ผมนึกถึงเรย์ ชาร์ลส"[6]

แต่เดิมแฮร์ริสันตั้งใจจะเสนอเพลงให้ แจ็กกี โลแมกซ์ ที่เขาร่วมเรียบเรียงเพลงก่อนหน้าของแฮร์ริสัน ในเพลงที่ชื่อ "ซาวร์มิลก์ซี" แต่ก็ยกเลิกไป เพลงให้โจ ค็อกเกอร์ไป (เขานำเพลงของเดอะบีเทิลส์ไปทำใหม่ก่อนหน้านี้ในเพลง "วิธอะลิตเทิลเฮลป์ฟอร์มมายเฟรนส์") เพลงในเวอร์ชันของค็อกเกอร์ออกก่อนเดอะบีเทิลส์ 2 เดือน และในระหว่างบันทึกเสียงอัลบั้มชุด เกตแบ็ก ที่ในที่สุดใช้ชื่อว่า เลตอิตบี แฮร์ริสันพิจารณาว่าจะให้มีเพลง "ซัมติง" บรรจุอยู่ในอัลบั้ม แต่ท้ายสุดก็ยกเลิกไปเนื่องจากกลัวไม่ได้รับการเอาใจใส่ในการบันทึกเสียงอย่างเพียงพอ ซึ่งก่อนหน้านั้นเพลง "โอลด์บราวน์ชู" ก็ไปได้ไม่ดีสำหรับวง[7] เดอะบีเทิลส์ก็ได้บันทึกเสียงในระหว่างการบันทึกอัลบั้ม แอบบีโรด ที่พวกเขาเริ่มเอาจริงเอาจังกับเพลง "ซัมติง"

การทำงาน

แก้

"ซัมติง" บันทึกเสียงในระหว่างการทำงานชุด แอบบีโรด บันทึก 52 ครั้งใน 2 ช่วงเวลาหลักใหญ่ ๆ ครั้งแรกของการบันทึกเดโมเกิดขึ้นในวันเกิดครบรอบ 26 ปีของแฮร์ริสัน ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969 ตามมาด้วยอีก 13 ชุดของการอัดตัดเสียงร้องในวันที่ 16 เมษายน ส่วนการบันทึกครั้งใหญ่ครั้งที่ 2 บันทึก 39 ครั้งโดยเริ่มเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1969 บันทึกท่อนหลักของเพลงกับการบันทึกกว่า 36 ครั้ง จนเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1969 หลังจากหลายวันในการทำการบันทึกเสียงซ้ำ[8]

ต้นฉบับเพลงดั้งเดิมที่เดอะบีเทิลส์ใช้ในช่วงสุดท้ายมีความยาว 8 นาที ที่เลนนอนเล่นเปียโนในตอนจบ (ซึ่งบันทึกเสียงภายหลัง เพราะเลนนอนไม่ได้อยู่ร่วมระหว่างการบันทึกเสียงหลายครั้งแรก ๆ) ในส่วนกลางมีเคาน์เตอร์-เมโลดี้ (สอดแทรกประสานเมโลดี้) ในงานดั้งเดิม แต่ทั้งเคาน์เตอร์-เมโลดี้และเสียงเปียโนของเลนนอนก็ถูกตัดออกในตอนสุดท้าย แต่เสียงเปียโนของเลนนอนก็ไม่ได้ลบออกจนหมด บางส่วนสามารถได้ยินในท่อนมิดเดิลเอจต์ (หรือท่อนเชื่อม) โดยเฉพาะในท่อนที่เล่นลดต่ำลงเหลือบันไดเสียงซีเมเจอร์ ตัวอย่างเช่น ท่อนเชื่อมโซโลกีตาร์ของแฮร์ริสัน ส่วนเสียงเปียโนของเลนนอนที่ถูกตัดออกไป ภายหลังเป็นส่วนสำคัญในเพลง "รีเมมเบอร์" ของเลนนอน

สำหรับในวิดีโอประชาสัมพันธ์ของเพลง "ซัมติง" ถ่ายขึ้นในระยะเวลานั้น ๆ ก่อนที่จะแตกวง ซึ่งในช่วงนั้นวงได้แยกกันแล้ว ดังนั้นในส่วนวิดีโอมีภาพคลิปที่แยกกันไปของสมาชิกแต่ละครเดินที่บ้านตัวเอง รวมถึงภรรยา และนำมาตัดต่อเข้าด้วยกัน[9]

องค์ประกอบ

แก้

นักร้องนำของเพลง "ซัมติง" คือจอร์จ แฮร์ริสัน เพลงมีจังหวะความเร็วประมาณ 66 ครั้งต่อนาที และมีจังหวะต่อเนื่องเช่นนี้ตลอดทั้งเพลง เมโลดี้เริ่มต้นที่คีย์ ซีเมเจอร์ ต่อเนื่องในคีย์นี้ตลอดในส่วนอินโทรและ 2 ท่อนร้องแรก จนท่อนแยก (ท่อนบริดจ์) ที่มีความยาว 8 ห้องจะเป็นคีย์ เอเมเจอร์ หลังจากท่อนแยก เมโลดี้จะกลับมาที่คีย์ซีเมเจอร์ ในท่อนโซโลกีตาร์แล้วมาท่อนร้องท่อนที่ 3 จึงถึงท่อนออกเพลง[10] และถึงแม้ว่าเดอะบีเทิลส์เริ่มทีจะพยายามทำในรูปแบบอคูสติกที่ดูคมกว่า แต่ก็ถูกกลบไปกับท่อนแทรกประสาน เดโมในเวอร์ชันอคูสติกที่มีท่อนแทรกประสานต่อมานำมาออกในส่วนหนึ่งของอัลบั้มชุด แอนโธโลจี 3 ในส่วนท่อนแทรกที่เป็นท่อนแทรกประสาน ภายหลังกลายเป็นท่อนพักของเครื่องดนตรีแทน และทำให้เพลงดูเบาลงโดยใช้เครื่องสายนำ เรียบเรียงโดยจอร์จ มาร์ติน โปรดิวเซอร์ของวงเดอะบีเทิลส์[11]

ไซมอน เลงพูดว่า ธีมของเพลงนี้น่ากังขาและคลุมเครือ[12] ริชชี อันเตอร์เบอร์เกอร์แห่งออลมิวสิก บรรยายไว้ว่า "เป็นเพลงรักที่ตรงไปตรงมาอย่างไม่แสดงความขวยเขินและซาบซึ้ง" ในขณะเดียวกัน "เพลงส่วนมากของเดอะบีเทิลส์จะมีเนื้อหาไม่โรแมนติกหรือแสดงเนื้อเพลงที่กำกวมและพูดเป็นนัย เมื่อพวกเขาเขียนเพลงรัก"[11]

การตอบรับ

แก้

อัลบั้ม แอบบีโรด ถือเป็นอัลบั้มแรกอย่างเป็นทางการที่มีเพลง "ซัมติง" บรรจุอยู่ ซึ่งออกวางขายเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1969 ในสหราชอาณาจักร โดยในสหรัฐอเมริกาออกขายหลังจากนั้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม และสามารถติดชาร์ตอันดับ 1 ทั้ง 2 ประเทศ[13][14]

หลังจากนั้นไม่กี่วัน ในวันที่ 6 ตุลาคม มีการออกวางขาย "ซัมติง" ในรูปแบบซิงเกิลหน้าเอคู่ กับเพลง "คัมทูเกตเตอร์" ในสหรัฐอเมริกา ถือเป็นซิงเกิลแรกของแฮร์ริสันที่เขาแต่งและติดอันดับ 1 ของวงเดอะบีเทิลส์[15]

ถึงแม้ว่าซิงเกิลจะติดชาร์ตหลังจากการออกขายเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ก็เกิดความสงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ซิงเกิล "ซัมติง" ที่ติดชาร์ตอันดับ 1 บนชาร์ตอเมริกัน ผลการนับของยอดขายและยอดการออกอากาศที่ หน้าเอ และ หน้าบี แยกกัน ที่ตามหลักแล้วเพลงจะแยกอันดับกัน โดย "คัมทูเกตเตอร์" เป็นคู่แข่งของ "ซัมติง" ในเรื่องความนิยม และเป็นการยากลำบากที่ใน 2 เพลงนี้ของซิงเกิลจะขึ้นอันดับ 1 อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ชาร์ตบิลบอร์ดก็เริ่มรวมอันดับเพลงของทั้งหน้าเอ และหน้าบี เข้าสู่การนับผล ในซิงเกิลเดียวกัน ผลก็คือซิงเกิล "คัมทูเกตเตอร์/ซัมติง" ขึ้นเป็นอันดับ 1 บนชาร์ตอเมริกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จนกระทั่งหลุดออกจากชาร์ตไปในอีก 2 เดือนถัดมา (ส่วนในชาร์ต แคชบ็อกซ์ซิงเกิลส์ชาร์ต ที่ยังนับผลของทั้ง 2 หน้าของซิงเกิลแยกกัน เพลง "ซัมติง" ขึ้นสูงสุดอันดับ 2 ส่วนเพลง "คัมทูเกตเตอร์" ติดอันดับ 1 นาน 3 สัปดาห์) ซิงเกิลยังมียอดขายระดับแผ่นเสียงทองคำ หลังจาก 3 สัปดาห์ที่ออกวางขาย และต่อมาในปี 1999 ก็มีการปรับระดับยอดขายเป็นแผ่นเสียงทองคำขาว[15]

ในสหราชอาณาจักร "ซัมติง" ออกจำหน่ายวันที่ 31 ตุลาคม ถือเป็นซิงเกิลแรกของวงเดอะบีเทิลส์ที่เป็นเพลงของแฮร์ริสันในหน้าเอ และยังเป็นซิงเกิลแรกของวงที่มีบรรจุอยู่ในอัลบั้มแล้ว[16] "ซัมติง" ติดชาร์ตสัปดาห์แรกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน และไต่อันดับสูงสุดที่อันดับ 4 ก่อนที่จะตกลงไปจากชาร์ตหลังจากอยู่ในชาร์ตนานร่วม 3 เดือนหลังออกจำหน่าย ในสหราชอาณาจักร เชอร์ลีย์ บาสเซย์ นำเพลงนี้มาทำใหม่ติดอันดับสูงสุดที่อันดับ 4[9]

ถึงแม้ว่าแฮร์ริสันจะมองข้ามเพลงของเขาเอง โดยต่อมาเขากล่าวว่า "เขาเก็บเพลงนี้ไว้ราว 6 เดือนเพราะคิดว่ามันง่ายเกินไป"[17] ทั้งเลนนอนและแม็กคาร์ตนีย์ต่างก็ออกมากล่าวว่า พวกเขาคิดว่า "ซัมติง" เป็นเพลงที่ดี เลนนอนยังพูดว่า "ผมคิดว่า จริง ๆ แล้วมันดูเหมือนเป็นเพลงที่ดีที่สุดในอัลบั้ม" ขณะที่แม็กคาร์ตนีย์พูดว่า "สำหรับผมแล้ว เป็นเพลงที่ดีที่สุดที่เขาเขียนเลย"[4] ทั้งคู่เคยเมินเฉยต่อการแต่งเพลงของแฮร์ริสันก่อนหน้าการแต่ง "ซัมติง" ขณะที่เพลงที่พวกเขาแต่งเองดูเป็นจุดสนใจมากกว่า ซึ่งต่อมาเลนนอนออกมาอธิบายว่า

รางวัล

แก้

ในปี ค.ศ. 1970 ในปีเดียวกับที่เดอะบีเทิลส์ประกาศแยกตัวไป "ซัมติง" ได้รับรางวัลไอเวอร์โนเวลโลในสาขาเพลงด้านดนตรีและเนื้อร้องยอดเยี่ยม[18] เพลงยังได้รับรางวัลด้านดนตรีอีกหลายครั้งในอีกหลายทศวรรษหลังจากออก โดยเว็บไซต์บีบีซี ให้เป็นเพลงยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่เคยมีมาในอันดับ 64 โดยบีบีซีกล่าวว่า ""ซัมติง" ได้แสดงให้เห็นชัดกว่าเดิม มากกว่าเพลงอื่นทั่วไปของเดอะบีเทิลส์ว่า มีนักแต่งเพลงที่ยอดเยี่ยม 3 คน จากวงที่ดูเหมือนจะมีแค่ 2 คนที่แต่ง"[17] เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวงเดอะบีเทิลส์ยังกล่าวว่า ""ซัมติง" ได้แสดงความสำคัญให้เห็นอำนาจของจอร์จ แฮร์ริสันในฐานะผู้ผลักดันการเขียนเพลงอย่างมาก"[19] ในปี ค.ศ. 1999 องค์กรเผยแพร่ดนตรี (Broadcast Music Incorporated (BMI)) ให้ "ซัมติง" อยู่อันดับที่ 17 ของเพลงที่ถูกเล่นมากที่สุดในศตวรรษที่ 20 กับการเล่นกว่า 5 ล้านครั้ง ส่วนเพลงอื่นของเดอะบีเทิลส์ที่ติดอันดับในรายชื่อคือเพลง "เยสเตอร์เดย์" และ "เลตอิตบี" ที่ทั้งสองเพลงแต่งโดยพอล แม็กคาร์ตนีย์ (ถึงแม้ว่าจะระบุเครดิตว่า เลนนอน/แม็กคาร์ตนีย์ก็ตาม) [20] ในปี 2004 นิตยสารโรลลิงสโตนยังให้เพลงนี้อยู่อันดับที่ 273 ในหัวข้อ 500 เพลงที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล[21]

ผู้มีส่วนร่วมทำเพลง

แก้
เดอะบีเทิลส์
ผู้มีส่วนร่วมอื่น ๆ

การนำมาทำใหม่

แก้

มีการนำเพลงนี้มาทำใหม่แล้วมากกว่า 150 เวอร์ชัน "ซัมติง" ถือเป็นเพลงที่ถูกนำมาทำใหม่มากที่สุดของเดอะบีเทิลส์เป็นอันดับที่ 2 รองจากเพลง "เยสเตอร์เดย์"[2] โดยเริ่มมีการนำมาทำใหม่โดยศิลปินอื่นแทบจะโดยทันทีหลังจากที่ออกโดยเดอะบีเทิลส์ โดยลีนา ฮอร์นนำมาทำใหม่เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1969 สำหรับอัลบั้มที่เธอบันทึกเสียงกับนักกีตาร์ที่ชื่อกาบอร์ ซาโบ ชื่ออัลบั้ม ลีนาแอนด์กาบอร์ ส่วนในฉบับอื่นหลังจากนั้นไม่นาน อย่างเช่นในเวอร์ชันของเพรสลีย์ (ซึ่งก็รวมอยู่ในรายการการแสดงพิเศษทางโทรทัศน์อโลฮาฟรอมฮาวาย ), ซินาตรา, ดิโอเจส์ และชาร์ลส ซึ่งแฮร์ริสันได้นึกนักร้องคนนี้ไว้ในใจเมื่อคราวที่เขียนเพลง "ซัมติง" แต่อย่างไรก็ตาม ต่อมาแฮร์ริสันก็ออกมาพูดภายหลังว่า เวอร์ชันที่เขาชื่นชอบที่สุดเป็นของเจมส์ บราวน์และสโมกีย์ โรบินสัน[22]

แฟรงก์ ซินาตรา ประทับใจในเพลง "ซัมติง" เป็นอย่างมาก โดยเขาเรียกเพลงนี้ว่า "เป็นเพลงรักที่ยอดเยี่ยมที่สุด" เขาร้องเพลงนี้นับร้อยครั้งในหลายคอนเสิร์ต อย่างไรก็ตามเขาก็เคยเอ่ยถึงเพลง "ซัมติง" ครั้งหนึ่งว่า เป็นเพลงที่เขียนโดย เลนนอน/แม็กคาร์ตนีย์ ที่เขาชื่นชอบที่สุดตลอดกาล (เขาไม่รู้ว่าใครแต่งเพลงนี้) และยังแนะนำเพลงนี้อยู่เป็นประจำอีกด้วย[23] แฮร์ริสันไม่รังเกียจที่ซินาตรา ได้เปลี่ยนแปลงเนื้อเพลง ที่เดิมเพลงเขียนว่า "You stick around now it may show" โดยซินาตราร้องว่าเป็น "You stick around, Jack, she might show" ซึ่งแฮร์ริสันก็ยังนำเนื้อร้องในเวอร์ชันของซินาตราไปขับร้องในส่วนหนึ่งของการแสดงในทัวร์ของเขา[24]

เวอร์ชันของนักร้องคันทรีจอห์นนี ร็อดริเกซ ขึ้นติดท็อป 10 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอตคันทรีซิงเกิลส์ชาร์ต ในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1974[25] เพลงนี้ยังปรากฏในอัลบั้มอุทิศให้วงเดอะบีเทิลส์ในปี ค.ศ. 1995 ที่ชื่อ คัมทูเกตเตอร์: อเมริกาซาลูตส์เดอะบีเทิลส์ ร้องโดยทันย่า ทักเกอร์ นอกจากนี้มิวสิกโซลไชลด์ยังเคยนำเพลงนี้มาทำใหม่ด้วย

ในปี ค.ศ. 2002 หลังจากที่แฮร์ริสันเสียชีวิต แม็กคาร์ตนีย์และอีริก แคลปตันนำเพลง "ซัมติง" มาร้องในคอนเสิร์ตที่ชื่อ "คอนเสิร์ตฟอร์จอร์จ" การขับร้องครั้งนี้ทำให้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ในสาขาเพลงร่วมร้องป็อปยอดเยี่ยม[26] แม็กคาร์ตนีย์ยังร้องเพลงนี้โดยเล่นเครื่องดนตรียูเคเลเลเพียงอย่างเดียวในการแสดงในทัวร์ของเขาที่ชื่อ "แบ็กอินดิยูเอส" และ "แบ็กอินเดอะเวิลด์" เขายังร้องเพลงเพื่ออุทิศให้แฮร์ริสัน ในปี ค.ศ. 2008 ในคอนเสิร์ตลิเวอร์พูซาวด์ แสดงเพลงนี้ในลักษณะคล้ายกับที่แสดงใน "คอนเสิร์ตฟอร์จอร์จ" โดยเริ่มดนตรีด้วยยูเคเลเลอย่างเดียว หลังจากท่อนบริดจ์จึงเล่นเต็มวงและจบลงเหมือนกับเพลงต้นฉบับ[27][28][29] นอกจากนั้นบ็อบ ดีแลนยังร้องสดเพลงนี้เพื่ออุทิศให้แฮร์ริสันสำหรับการเสียชีวิตของเขา[30][31]

อ้างอิง

แก้
  1. Richie Unterberger. "Allmusic review". สืบค้นเมื่อ 15 April 2011.
  2. 2.0 2.1 Time เก็บถาวร 2012-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Robert Sullivan, His Magical, Mystical Tour, 10 December 2001. retrieved 2 October 2008.
  3. MacDonald, Ian (2003). Revolution in the Head:The Beatles' Records and the Sixties (Second Revised ed.). Pimlico. p. 348. ISBN 9781844138289.
  4. 4.0 4.1 "Album: Abbey Road". Retrieved 30 March 2006.
  5. Boyd, Pattie; Penny Junor (2007). Wonderful Tonight. Harmony Books. p. 117. ISBN 0-307-39384-4.
  6. Paul Cashmere (1996). "George Harrison Gets "Undercover". Retrieved 1 January 2008.
  7. Cross, Craig (2006). "Beatles History - 1969" เก็บถาวร 2014-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 1 April 2006.
  8. norwegianwood.org เก็บถาวร 2013-03-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 1969: Abbey Road. retrieved 2 October 2008
  9. 9.0 9.1 9.2 Cross, Craig (2006). "British Singles" เก็บถาวร 2015-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 30 March 2006.
  10. Pollack, Alan W. (1999). "Notes on 'Something. Retrieved 27 August 2009.
  11. 11.0 11.1 Unterberger, Richie (2006). ""Something"". สืบค้นเมื่อ 30 March 2006.
  12. Leng, Simon (2006). While My Guitar Gently Weeps: The Music of George Harrison. Hal Leonard. p. 41. ISBN 1-4234-0609-5.
  13. Cross, Craig (2006). "British Albums" เก็บถาวร 2014-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 2 April 2006.
  14. Cross, Craig (2006). "American Albums" เก็บถาวร 2014-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 2 April 2006.
  15. 15.0 15.1 Cross, Craig (2006). "American Singles" เก็บถาวร 2014-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 30 March 2006.
  16. "เลิฟมีดู" และ "พลีสพลีสมี" ออกขายก่อนที่จะบรรจุอยู่ในอัลบั้ม พลีสพลีสมี แต่ "ซัมติง" ได้บรรจุอยู่ใน แอบบีโรด ก่อนที่จะออกเป็นซิงเกิล
  17. 17.0 17.1 "Something". Retrieved 2 April 2006.
  18. "The Ivor Novello Awards for the Year 1970"[ลิงก์เสีย] Retrieved 2 April 2006.
  19. ""Something"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-02-06. สืบค้นเมื่อ 2003-02-06.
  20. "Awards: The BMI Top 100 Songs". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-02-11. สืบค้นเมื่อ 2004-02-11.
  21. "The RS 500 Greatest Songs of All Time". Rolling Stone. 2004-12-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-22. สืบค้นเมื่อ 2008-04-10.
  22. George Harrison - In His Own Words
  23. "The Movable Buffet: Los Angeles Times". Vegasblog.latimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-05. สืบค้นเมื่อ 2008-10-02.
  24. Marck, John T. (2006). "Oh Look Out! Part 12, Abbey Road". สืบค้นเมื่อ 1 April 2006.
  25. Whitburn, Joel, "Top Country Songs: 1944-2005," 2006
  26. "Grammy Win For 'The Concert For George เก็บถาวร 2006-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 2 April 2006.
  27. Paul McCartney Back in the US DVD review. Retrieved 22 February 2008.
  28. Back in the US tour fan page. Retrieved 22 February 2008.
  29. Back in the World tour fan page. Retrieved 22 February 2008.
  30. Pareles, Jon. "Dylan's After-Hours Side," New York Times. Retrieved 28 February 2007.
  31. Bob Dylan's official website: Nov 13, 2002 concert at Madison Square Garden setlist. Retrieved 20 September 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า ซัมติง ถัดไป
"เวดดิงเบลบลูส์"
โดย เดอะฟิฟธ์ไดเมนชัน
  ซิงเกิลอันดับ 1 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100
(29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969 (1 สัปดาห์))
  "นานาเฮย์เฮย์ (คิสฮิมกูดบาย)"
โดย สตีม
"เทรซี" โดย เดอะคัฟฟ์ลิงส์   ซิงเกิลอันดับ 1 แคนาดา นิตยสารอาร์พีเอ็ม
(15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969 - 6 ธันวาคม ค.ศ. 1969 (4 สัปดาห์))
  "แอนด์เวนไอดาย" โดย บลัด, สเวตแอนด์เทียส์