ซันเฉิ่งลิ่วปู้

โครงสร้างระบบบริหารราชการหลักของจักรวรรดิจีน

ซันเฉิ่งลิ่วปู้ (จีน: 三省六部; พินอิน: Sānshěng Liùbù; "สามเฉิ่งหกปู้") เป็นระบบบริหารราชการส่วนกลางของจักรวรรดิจีนที่จัดโครงสร้างเป็น เฉิ่ง (省; "แผนก") สามแห่ง และ ปู้ (部; "กระทรวง") หกแห่ง

โครงสร้าง แก้

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จักรพรรดิ
皇帝
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เหมินเซี่ยเฉิ่ง
(門下省; "แผนกใต้ประตู")
 
 
 
 
 
ช่างชูเฉิ่ง
(尚書省; "แผนกช่างชู")
 
 
 
 
 
จงชูเฉิ่ง
(中書省; "แผนกเสมียนกลาง")
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กงปู้
(工部; "กระทรวงโยธาธิการ")
 
ปิงปู้
(兵部; "กระทรวงยุทธนาการ")
 
ลี่ปู้
(吏部; "กระทรวงขุนนาง")
 
สิงปู้
(刑部; "กระทรวงราชทัณฑ์")
 
หลี่ปู้
(禮部; "กระทรวงพิธีการ")
 
ฮู่ปู้
(戶部; "กระทรวงครัวเรือน")

เฉิ่ง แก้

ลำดับเหตุการณ์
ฉิน (221–206 ปีก่อนคริสตกาล)ตั้งช่างชูเฉิ่ง
ฮั่นตะวันตก (206 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 9)ฮั่นอู่ตั้งจงชูเฉิ่ง
เว่ย์ (ค.ศ. 220–265)เฉา พี ตั้งจงชูเฉิ่งอย่างเป็นทางการ
จิ้น (ค.ศ. 265–420)ตั้งเหมินเซี่ยเฉิ่ง
ซ่ง (ค.ศ. 960–1279)ยุบเหมินเซี่ยเฉิ่ง
ยฺเหวียน (ค.ศ. 1271–1368)
  • ยุบช่างชูเฉิ่ง
  • ยฺเหวียนอู่จงตั้งช่างชูเฉิ่งขึ้นใหม่ (หลังจากนี้ไม่ได้รื้อฟื้นขึ้นอีก)
หมิง (ค.ศ. 1368–1644)หงอู่ยุบจงชูเฉิ่ง

เฉิ่ง (แผนก) ทั้งสามเป็นหน่วยงานสูงสุดในระบบราชการ มีหน้าที่หลักในทางธุรการมากกว่าบริหารรัฐกิจ หัวหน้าของเฉิ่งมักเรียก ไจ่เซี่ยง (宰相; "ข้าหลวงปกครอง") ซึ่งก็คือ อัครมหาเสนาบดี

  • ช่างชูเฉิ่ง (แผนกช่างชู) เป็นเฉิ่งแรกที่จัดตั้งขึ้น โดยจัดตั้งในสมัยราชวงศ์ฉิน (221–206 ปีก่อนคริสตกาล) ให้ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุ คำว่า "ช่างชู" (尚書) แปลว่า เสมียนผู้ช่วย ต่อมาในสมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581–618) ให้ช่างชูเป็นหัวหน้าของปู้ (กระทรวง) ตำแหน่งช่างชูจึงกลายเป็นเจ้ากระทรวงไป และช่างชูเฉิ่งกลายเป็นหน่วยงานควบคุมปู้ทั้งหก ถือเป็นองค์กรสูงสุดในการบริหารราชการ แต่ถูกยุบเลิกในสมัยราชวงศ์ยฺเหวียน (ค.ศ. 1271–1368) กระทั่งรื้อฟื้นขึ้นใหม่ในรัชสมัยจักรพรรดิยฺเหวียนอู่จง (元武宗) เพื่อให้ดูแลการคลัง เมื่อสิ้นราชวงศ์ยฺเหวียนแล้ว ช่างชูเฉิ่งก็ไม่ได้รื้อฟื้นขึ้นอีก[1]
  • จงชูเฉิ่ง (แผนกเสมียนกลาง) เป็นเฉิ่งที่สองที่จัดตั้งขึ้น โดยจัดตั้งในรัชกาลจักรพรรดิฮั่นอู่ (漢武帝) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 9) ให้เป็นหน่วยประสานงานระหว่างที่ปรึกษาของจักรพรรดิกับรัฐบาลโดยรวม ครั้นสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25–220) มีการจัดตั้งสำนักที่ปรึกษาและผู้ตรวจการ (office of advisors and reviewers) ขึ้น ถึงสมัยรัฐเว่ย์ (ค.ศ. 220–265) จักรพรรดิเฉา พี (曹丕) ประกาศจัดตั้งจงชูเฉิ่งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยเอาสำนักงานที่ปรึกษาฯ ดังกล่าวเป็นพื้นฐาน เพื่อคานอำนาจกับช่างชูเฉิ่ง หน้าที่หลักเป็นการจัดทำนโยบาย ความรับผิดชอบโดยมากเป็นการถวายฎีกาและร่างรับสั่ง แต่บทบาทที่แท้จริงนั้นแตกต่างออกไปในแต่ละยุคสมัย เช่น ช่วงราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960–1279), ราชวงศ์เหลียว (ค.ศ. 907–1125), และ ราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 1115–1234) เฉิ่งทั้งสามเป็นหน่วยงานที่ใช้อำนาจบริหารของจักรพรรดิ พอถึงราชวงศ์ยฺเหวียน (ค.ศ. 1271–1368) จงชูเฉิ่งกลายเป็นองค์กรหลักหนึ่งเดียวในการบริหารราชการ ส่วนเฉิ่งที่เหลือทั้งสองยุบเลิกไปสิ้นแล้ว[2] จงชูเฉิ่งมายุบเลิกเอาในราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368–1644) หลังจากจักรพรรดิหงอู่ (洪武帝) ทรงประหารอัครมหาเสนาบดีหู เหวย์ยง (胡惟庸)
  • เหมินเซี่ยเฉิ่ง (แผนกใต้ประตู) เป็นเฉิ่งที่สามที่จัดตั้งขึ้น โดยจัดตั้งในราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 265–420) เป็นหน่วยงานตรวจสอบราชการ ตรวจราชโองการและคำสั่งราชการ ถวายความเห็นต่อจักรพรรดิ และให้คำปรึกษาแก่จงชูเฉิ่ง เนื่องจากมีความสำคัญน้อยสุด จึงยุบเลิกไปในช่วงราชวงศ์ซ่ง

ปู้ แก้

ปู้ (กระทรวง) ทั้งหกเป็นหน่วยงานบริหารรัฐกิจโดยตรง ปู้แต่ละแห่งมีหัวหน้าหนึ่งคน เรียกว่า ช่างชู (尚書; "เสมียนผู้ช่วย") เดิมเป็นคำเรียกเสมียนเก็บรักษาจดหมายเหตุ แต่ภายหลังนำมาใช้เรียกตำแหน่งหัวหน้าของปู้ ทำให้ช่างชูกลายเป็นขุนนางเจ้ากระทรวงไป นอกจากนี้ ปู้ยังมีรองหัวหน้าสองคน เรียกว่า ชื่อหลาง (侍郎; "นายสนอง")

ปู้ทั้งหก ประกอบด้วย

  • กงปู้ (กระทรวงโยธาธิการ) รับผิดชอบงานโยธาของรัฐ จ้างช่างและคนงานชั่วคราว ผลิตอุปกรณ์ของรัฐ ดูแลเส้นทางคมนาคม ดูแลมาตรฐานการชั่งตวงวัด ตลอดจนระดมทรัพยากรจากหัวเมือง[3]
  • ปิงปู้ (กระทรวงยุทธนาการ) รับผิดชอบการแต่งตั้ง อวยยศ เลื่อนยศ ลดยศ และถอดยศข้าราชการทหาร รวมถึงกิจการทหารต่าง ๆ เช่น การรบ การป้องกันประเทศ ฯลฯ ตลอดจนงานไปรษณีย์[4] ในช่วงสงคราม มักแต่งตั้งขุนนางผู้ใหญ่ในปิงปู้เป็นที่ปรึกษาของผู้บัญชาการทหารแนวหน้า บางครั้งก็ตั้งให้ไปบัญชาการแนวหน้าโดยตรง
  • ลี่ปู้ (กระทรวงขุนนาง) รับผิดชอบการแต่งตั้ง อวยยศ เลื่อนยศ ลดยศ และถอดยศข้าราชการพลเรือน[5]
  • สิงปู้ (กระทรวงราชทัณฑ์) รับผิดชอบกระบวนการยุติธรรมและราชทัณฑ์ แต่ไม่รวมถึงการตรวจสอบหรือทัดทานราชการ[3]
  • หลี่ปู้ (กระทรวงพิธีการ) รับผิดชอบรัฐพิธี ราชพิธี พิธีการทูต ทะเบียนนักบวช และการสอบขุนนาง[6] ทั้งยังรับผิดชอบด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ก่อนจะจัดตั้งจ๋งหลี่หยาเหมิน (總理衙門) ขึ้นใน ค.ศ. 1861 เพื่อรับงานด้านนี้แทน
  • ฮู่ปู้ (กระทรวงครัวเรือน) รับผิดชอบสำมะโนครัวเรือน รวมถึงเก็บภาษีและบริหารรายจ่ายแผ่นดิน[7]

หน่วยงานอื่น ๆ แก้

นอกจากเฉิ่งทั้งสามข้างต้นแล้ว ยังมีเฉิ่งอื่น ๆ ซึ่งมีฐานะเท่าเทียมกัน แต่มิได้ข้องเกี่ยวกับราชการแผ่นดินโดยตรงนัก คือ

  • เตี้ยนจงเฉิ่ง (殿中省; "แผนกท้องพระโรงกลาง") ดูแลความเป็นอยู่ของราชวงศ์และราชวัง
  • มี่ชูเฉิ่ง (秘書省; "แผนกมี่ชู") ดูแลเอกสารด้านโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ คำว่า "มี่ชู" แปลว่า "สารลับ" เป็นชื่อตำแหน่งขุนนางประเภทเลขานุการ
  • เน่ย์ชื่อเฉิ่ง (內侍省; "แผนกบ่าวใน") จัดหาขันทีเข้าเป็นข้ารับใช้ในวัง

อนึ่ง ยังมี "ซือ" (司; "กอง") อีกมากมายซึ่งรับผิดชอบราชการระดับรากหญ้า เช่น กลุ่มซันซือ (三司; "สามกอง")

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Lu, 235.
  2. Imperial China 900-1800, by Frederick W. Mote, p477-478
  3. 3.0 3.1 Hucker, 36.
  4. Hucker, 35.
  5. Hucker, 32.
  6. Hucker, 33-35.
  7. Hucker, 33.

บรรณานุกรม แก้

  • Denis C. Twitchett, John K. Fairbank (Hrsg.) (1979). The Cambridge History of China, Vol. 3, Sui and T'ang China, 589–906. Cambridge, England: Cambridge University Press. p. 179. ISBN 0-521-21446-7.
  • Hucker, Charles O. "Governmental Organization of the Ming Dynasty," Harvard Journal of Asiatic Studies (Volume 21, December 1958): 1-66.
  • Li, Konghuai (2007). History of Administrative Systems in Ancient China (ภาษาจีน). Joint Publishing (H.K.) Co., Ltd. ISBN 978-962-04-2654-4.
  • Lu, Simian (2008). The General History of China (ภาษาจีน). New World Publishing. ISBN 978-7-80228-569-9.
  • Wang, Yü-Ch'üan (June 1949). "An Outline of the Central Government of the Former Han Dynasty". Harvard Journal of Asiatic Studies. Harvard-Yenching Institute. 12 (1/2): 134–187. doi:10.2307/2718206. JSTOR 2718206.