ซาจิ ทาอินากะ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ซาจิ ทาอินากะ (ญี่ปุ่น: タイナカ サチ หรือเขียนในแบบอักษรคันจิว่า 田井中彩智; โรมาจิ: Tainaka Sachi) นักร้องชาวญี่ปุ่นผู้ซึ่งรู้จักกันดีในผลงานเพลงเปิดแอนิเมชันเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์
ซาจิ ทาอินากะ | |
---|---|
ปกแผ่นซิงเกิล disillusion | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | ซาจิ ทาอินากะ (Sachi Tainaka) |
รู้จักในชื่อ | ซาจิจัง |
เกิด | 30 เมษายน พ.ศ. 2529 (อายุ 31) |
ที่เกิด | เฮียวโงะ ญี่ปุ่น |
แนวเพลง | เจ-ป๊อป |
อาชีพ | นักร้อง |
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
ช่วงปี | 2549 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | Geneon |
เว็บไซต์ | http://www.tainakasachi.jp |
ประวัติ
แก้เมื่อซาจิยังเป็นเด็ก เธอมีพรสวรรค์ในด้านการร้องเพลงได้ยอดเยี่ยมมาก ซึ่งในช่วงที่เธอเข้าศึกษาในโรงเรียนชั้นประถม ซาจิได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดร้องเพลงในการประกวดของโรงเรียนในปี 2540 ในปี 2542 ซาจิก็ได้เข้าร่วมประกวดอีกครั้ง พร้อมกับพี่น้องของเธออีก 2 คน เมื่ออายุ 15 ซาจิเลือกที่จะเป็นนักร้องอาชีพ โดยที่เธอได้รับแรงบันดาลใจจากวง Dreams Come True และเพลงของ MISIA ซึ่งนั่นเองก็ทำให้เธอเริ่มแต่งเนื้อเพลง และทำนองเอง ซึ่งนั่นถือเป็นการก้าวเท้าเข้าสู่วงการของเธอเลยทีเดียว
ต่อมา ซาจิก็ยังคงเข้าร่วมประกวดกับรายการต่างๆ ไปด้วย ซึ่งในปี 2545 เธอก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของการประกวดไอดอล ASAYAN และได้รับตำแหน่งที่ 6
ก่อนปี 2546 เธอได้ออกผลงานเพลงมา 6 ชิ้น ภายใต้สังกัดของ โคลัมเบีย เรคคอร์ดส ในชื่ออัลบั้มว่า อาระ ไอ โนะ อุตะ โดยเธอใช้ชื่อว่า ซาจิ (ญี่ปุ่น: 彩智; โรมาจิ: Sachi) ซึ่งอัลบั้มนี้ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายของ ชินโด ฟุยูกิ ที่อัลบั้มนี้ของเธอมีชื่อเหมือนกับนิยายเรื่องนั้นๆ (ที่ได้วางจำหน่ายไปแล้วก่อนปี 2546)
ในปี 2547 ซาจิได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของยูนิต 4 คน ที่เรียกว่า Les Bijoux (レ・ビジュ) ซึ่งอยู่ในสังกัดของ ยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ ประเทศญี่ปุ่น
ต่อมาซาจิก็ได้ออกซิงเกิลเดบิวครั้งแรกในชื่อว่า disillusion ซึ่งเพลงนี้ก็ได้ถูกใช้เป็นเพลงเปิดของแอนิเมชั่นเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์ และซิงเกิลนี้เป็นซิงเกิลเดบิวที่สร้างชื่อเสียงให้กับซาจิเป็นอย่างมาก จนถึงขนาดติดในอันดับที่ 13 ของโอริก้อน ชาร์ต ต่อมาซิงเกิล คิราเมคุ นามิดะ วะ โฮชิ นิ ก็ได้ตามออกมาเป็นซิงเกิลชุดที่ 2 ของเธอ (และยังเป็นเพลงเปิดที่ 2 ของอะนิเมะเรื่องเดียวกันอีกด้วย) และยังได้รับกระแสตอบรับอย่างดีจนทำให้ซาจิติดอันดับที่ 9 ใน 10 อันดับแรกของเธออีกด้วย
สามเดือนต่อมา ซาจิก็ได้ออกซิงเกิลชุดที่ 3 คือ ไซโค โนะ คาตาโอโมอิ ที่ได้ถูกใช้เป็นเพลงปิดของแอนิเมชันเรื่อง Saiunkoku Monogatari แต่ที่น่าแปลกใจคือ ซิงเกิลชุดนี้กลับไม่ได้รับความนิยมเหมือนกับ 2 ชุดก่อน ซึ่งทำได้แค่เพียงติดอยู่ในอันดับที่ 50 ของโอริก้อนชาร์ตเท่านั้น ต่อมาซิงเกิลชุดที่ 4 ไอไตโยะ / คิมิ โตะ โนะ อาสุ ของเธอก็ได้วางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งในซิงเกิลนี้ก็ได้มีเพลง คิมิ โตะ โนะ อาสุ ที่ได้ถูกนำไปใช้เป็นเพลงปิดของแอนิเมชันเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์ ในตอนสุดท้าย ที่ได้ออกอากาศไปในเดือน มิถุนายน 2549 ต่อมาซาจิก็ได้ออกอัลบั้มแรกของเธอ Dear... ในเดือนมีนาคม ซึ่งที่น่าสนใจคือเพลงเปิดแอนิเมชันทั้งสองเพลงของเธอนั้นได้ถูกนำมาเรียบเรียงใหม่ให้เป็นเพลงเดียวกัน อยู่ในอัลบั้มนี้ด้วย
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ได้มีการประกาศว่าซาจิจะร้องเพลง ที่จะใช้เป็นเพลงประกอบของแอนิเมชันเรื่อง Seirei no Moribito ที่ได้ออกอากาศไปในเดือน เมษายน ซึ่งเพลงนั้นคือเพลง อิโตชี่ ฮิโตะ เอะ (และเรื่องนี้ยังได้วงร็อคชื่อดังอย่าง L'Arc~en~Ciel มาร้องเพลงเปิดให้อีกด้วย) ซึ่งเพลงนี้ของซาจิก็จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก และความหนักแน่นของเมโลดี้ที่เอ่อล้นออกมาจากทำนองเพลง
และในเวปไซต์หลักของตัวเธอเอง ก็ได้มีการบอกไว้ว่าเธอได้แต่งเพลงและทำนองมามากกว่า 60 เพลง ในตลอดช่วงที่เธอเดบิวนี้
ผลงาน
แก้ซิงเกิล
แก้- [22 กุมภาพันธ์ 2549] disillusion
- [31 พฤษภาคม 2549] คิราเมคุ นามิดะ วะ โฮชิ นิ (きらめく涙は星に, Kirameku Namida wa Hoshi ni)
- [30 สิงหาคม 2549] ไซโค โนะ คาตาโอโมอิ (最高の片想い, Saikou no kataomoi)
- [7 กุมภาพันธ์ 2550] ไอไตโยะ / คิมิ โตะ โนะ อาสุ (会いたいよ。/ 君との明日, Aitaiyo / Kimito no Asu)
- [6 มิถุนายน 2550] อิโตชี่ ฮิโตะ เอะ (愛しい人へ , Itoshi Hito e)
- [7 พฤศจิกายน 2550] ลิปสติก / อิชิบังโบชิ (Lipstick/一番星 , Lipstick/Ichibanboshi)
- [23 มกราคม 2551] Visit of love
- [23 กรกฎาคม 2551] โม คิซุ ซะเระชัตตะ (もう キスされちゃった, Mou Kisu Sarechatta)
- [22 ตุลาคม 2551] มะตะ อะชิตะ เนะ/โค้ด (また明日ね/code, Mata Ashita ne / Code)
- [26 สิงหาคม 2552] อุนเมย์บิโตะ (運命人, Unmeibito)
อัลบั้ม
แก้- [7 มีนาคม 2550] Dear...
- [13 กุมภาพันธ์ 2551] Love is...
- [16 พฤศจิกายน 2552] Destiny
- [23 ธันวาคม 2552]Mariage -tribute to Fate-
อื่นๆ
แก้- เธอได้ยอมรับว่า เพลง ไอไตโยะ ที่เธอแต่งนั้นเป็นเพลงที่เธอใช้สื่อความรู้สึกของเธอ ในตอนนั้นที่เธอต้องจากคนที่เธอรักในช่วงหน้าร้อนปี 2549 เธอยังเปิดเผยอีกว่ารอยคราบน้ำตาในแผ่นต้นฉบับเนื้อเพลงนี้ นั้นเป็นของเธอเองหลังจากที่เธอแต่งเพลงนี้เสร็จ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่นักร้องจะสามารถถ่ายทอดความรู้สีกของตนเองผ่านออกมาทางทำนองและเพลงที่ตนเองขับร้องออกมา[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ USA นิวไทป์ "ไอไตโยะ บทเพลงแห่งความหวังของ ทาอินากะ ซาจิ" โดย คาวาซากิ นาโอโกะ
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (ญี่ปุ่น)