ชิงกันเซ็ง E3 ซีรีส์
E3 ซีรีส์ เป็นรุ่นของรถไฟความเร็วสูง ชิงกันเซ็งของญี่ปุ่น สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับการทำขบวนแบบ โคมาจิ ซึ่งเริ่มให้บริการเมื่อ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2540 พร้อมกับการเปิดตัวใหม่ของ อากิตะชิงกันเซ็ง "มินิชิงกันเซ็ง" สายแรก สาเหตุที่เรียกว่ามินิก็เนื่องจากชินกันเซ็งสายนี้จะมีขนาดความกว้างของตัวถังที่แคบกว่า โดยอะกิตะ ชินกันเซ็ง เป็นการขยายความกว้างรางระหว่างสถานีโมริโอกะ ถึง สถานีอากิตะ จากขนาดราง 1,067 มม. เป็น รางมาตรฐาน 1,435 มม.
E3 ซีรีส์ | |
---|---|
E3 ซีรีส์ ทำขบวนในสายอากิตะชิงกันเซ็ง รูปแบบ โคะมะชิ , มีนาคม 2008 | |
ประจำการ | 1997-ปัจจุบัน |
ผู้ผลิต | Kawasaki Heavy Industries, Tokyu Car Corporation |
ตระกูล | มินิชินกังเซ็ง |
สายการผลิต | 1995-2009 |
จำนวนที่ผลิต | 261 ตู้ (41 ขบวน) |
จำนวนในประจำการ | 261 ตู้ (41 ขบวน) |
รูปแบบการจัดขบวน | 6 หรือ 7 ตู้ต่อขบวน |
หมายเลขตัวรถ | R1-R26, L51-L53, L61-L72 |
ความจุผู้โดยสาร | 6 ตู้ R เซต: 338 (23 Green + 315 Standard) 7 ตู้ L50 เซต (E3-1000): 402 (23 Green + 379 Standard) 7 ตู้ L60 เซต (E3-2000): 394 (23 Green + 371 Standard) |
ผู้ให้บริการ | JR ตะวันออก |
โรงซ่อมบำรุง | สถานีอะกิตะ, ยะมะงะตะ |
สายที่ให้บริการ | โทโฮกุชิงกันเซ็ง อากิตะชินกังเซ็ง ยามางาตะชินกังเซ็ง |
คุณลักษณะ | |
วัสดุตัวถัง | อะลูมินัม |
ความยาว | 20,050 ถึง 23,070 mm (65 ft 9 in ถึง 75 ft 8 in) |
ความกว้าง | 2,945 mm (9 ft 8 in) |
จำนวนประตู | 1 บานต่อด้าน |
ความเร็วสูงสุด | 275 km/h (171 mph) (โทโฮะกุ ชิงกันเซ็ง), 130 km/h (81 mph) (อะกิตะ/ยะมะงะตะ ชินกังเซ็ง) |
ระบบส่งกำลัง | ขบวน 6 ตู้: 16 x 300 kW, ขบวน 7 ตู้: 20 x 300 kW |
กำลังขับเคลื่อน | ขบวน 6 ตู้: 4.8 MW (6,440 hp), ขบวน 7 ตู้: 6 MW (8,050 hp) |
ความเร่ง | 1.6 km/h/s |
ระบบจ่ายไฟฟ้า | 20/25 kV AC, 50 Hz overhead catenary |
ตัวรับกระแสไฟ | แหนบรับไฟ |
ระบบความปลอดภัย | ATC-2, DS-ATC, ATS-P |
สามารถทำขบวนร่วมกับ | 200 ซีรีส์, E2 ซีรีส์, E4 ซีรีส์, E5 ซีรีส์ |
มาตรฐานทางกว้าง | 1435 |
นอกจากนี้ เวอร์ชันภายหลังของ E3 ยังถูกนำไปใช้งานในสาย ยามางาตะชิงกันเซ็ง (มินิชินกันเซ็ง) รูปแบบ สึบะซะ ซึ่งมินิชินกันเซ็งทั้งสองสายนี้เอง เชื่อมต่อกับ โทโฮะกุ ชินกันเซ็ง
ในโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย บริษัทรถไฟของของญี่ปุ่นเสนอให้ไทยใช้ระบบชินกันเซ็ง ซึ่งญี่ปุ่นจะนำชินกันเซ็ง E3 มาให้บริการในสายตะวันออก (กรุงเทพ - ระยอง) เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างช่วงแอร์พอร์ตลิงก์ ที่ต้องใช้รถไฟความเร็วสูงขบวนแคบ
เวอร์ชัน
แก้- E3 ซีรีส์ "R" เซต: ขบวน 26 x 6ตู้ ใช้งานในสาย อากิตะชิงกันเซ็ง ขบวน โคะมะชิ เริ่มให้บริการตั้งแต่ 3 มิถุนายน 2540
- E3-1000 ซีรีส์ "LR" เซต: ขบวน 3 x 7ตู้ ใช้งานในสาย ยามางาตะชิงกันเซ็ง ขบวน สึบาซะ เริ่มให้บริการตั้งแต่ 4 ธันวาคม 2542
- E3-2000 ซีรีส์ "LR" เซต: ขบวน 12 x 7ตู้ ใช้งานในสาย ยามางาตะชิงกันเซ็ง ขบวน สึบาซะ เริ่มให้บริการตั้งแต่ 20 ธันวาคม 2551