ชาร์เบล มาร์คลุฟ (อักษรโรมัน: Charbel Makhlouf หรือ Sharbel Maklouf, O.L.M.[1]; 8 พฤษภาคม 1828 – 24 ธันวาคม 1898) หรือรู้จักในนาม นักบุญชาร์เบล มาร์คลุฟ (อังกฤษ: Saint Charbel Makhlouf) เป็นนักบวชในคริสต์จักรมารอไนต์จากประเทศเลบานอน เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ท่านมีชื่อเสียงในวงกว้างในแง่ความศักดิ์สิทธิ์ และในคาทอลิกนับถือท่านเป็นนักบุญ

ชาร์เบล มาคลุฟ
ภาพบุคคลของนักบุญชาร์เบล มาคลุฟ
นักบวช และ สังฆาวาส
เกิด8 พฤษภาคม ค.ศ. 1828(1828-05-08)
Bekaa Kafra, ภูมิภาคนอร์ธ, ประเทศเลบานอน
เสียชีวิตธันวาคม 24, 1898(1898-12-24) (70 ปี)
อารามเซนต์มารอน
Annaya, ภูมิภาคเมาต์เลบานอน, ประเทศเลบานอน
นับถือ ในคาทอลิก
การประกาศเป็นบุญราศี5 ธันวาคม 1965, บาซิลิกานักบุญปีเตอร์ นครวาติกัน โดยพระสันตะปาปาปอลที่หก
การประกาศเป็นนักบุญ9 ตุลาคม 1977, บาซิลิกานักบุญปีเตอร์ นครวาติกัน โดยพระสันตะปาปาปอลที่หก
สักการสถานหลักอารามเซนต์มารอน
Annaya, เขตบีบลอส, ประเทศเลบานอน
วันฉลองวันอาทิตย์ที่สามของเดือนกรกฎาคม (ปฏิทินมารอไนต์)
24 กรกฎาคม (ปฏิทินโรมัน)
สัญลักษณ์ผ้าคลุมสงฆ์
เชือกประคำ
องค์อุปถัมภ์ประเทศเลบานอน

ในบรรดาคริสต์ชนชาวเลบานอน ท่านเป็นที่รู้จักในนาม "สงฆ์อัศจรรย์แห่งเลบานอน" (Miracle Monk of Lebanon) ซึ่งได้มาจากการรักษาอันเป็นปาฏิหารย์ยิ่งอะนเป็นผลจากการสวดภาวนาถึงท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอธิฐานต่อหน้าร่างของท่าน นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้เชื่อมสามัคคีระหว่างชาวคริสต์และมุสลิมในเลบานอน ร่างของท่านปัจจุบันฝังอยู่ที่อารามเซนต์มารอน[2]

ร่าง แก้

ในปี 1950 และ 1952 ได้มีการเปิดที่ฝังศพของท่าน และพบว่าร่างของท่ายังคงเหมือนเดิม คล้ายคลึงกับชายชราที่นอนหลับไหลเท่านั้น[3] การอัดเทปโทรทัศน์จากปี 1950 เป็นหลักฐานสำคัญถึงสภาพไม่ย่อยสลายของร่างท่าน ถึงแม้ว่าตัวสุสานและที่ฝังศพจะคร่ำครึด้วยสนิมก็ตามที[4] เว็บทางการมีการระบุว่า "ในศตวรรษนี้ [ศตวรรษที่ 20] มีการเปิดหลุมศพของนักบุญสี่ครั้ง ครั้งสุดท้ายคือ 1955" และในแต่ละครั้ง พบว่า "ร่างชุ่มเลือดของท่านยังคงมีความยืดหยุ่นเหมือนท่านยังคงมีชีวิตอยู่"[5][6] กระทั่งในปี 1976 ในการเปิดหลุมศพได้พบว่าร่างของท่านย่อยสลายไปทั้งหมดแล้ว เหลือแต่เพียงโครงกระดูกเท่านั้น[7]

การยกย่อง แก้

พระสันตะปาปาปอลที่หกเป็นผู้ประกอบพิธียกขึ้นเป็นนักบุญ ในเวลานั้น หัวหน้าสังฆมณฑลเซนต์มารอนประจำสหรัฐ บิชอปฟราซิส ซาเยค (Bishop Francis Zayek, head the U.S. Diocese of St. Maron) ได้เขียนเอกสารตีพิมพ์ชื่อว่า "ดาวดวงใหม่แห่งตะวันออก" (A New Star of the East) ซึ่งซาเยคระบุว่า "นักบุญชาร์เบล เป็นดั้งนักบุญอันโตนีแห่งทะเลทรายองค์ที่สอง, ผู้เป็นกลิ่นหอมของเลบานอน เป็นผู้สารภาพแรกของตะวันออกที่ตะได้รับการยกขึ้นบูชา [หมายถึงการได้รับยกขึ้นเป็นนักบุญของคาทอลิก] ตามขั้นตอนแท้จริงของคริสตจักรคาทอลิก, เกียรติยศแห่งคริสตจักรอารามาอิกอันติโอเชียน (Aramaic Antiochian Church) ของเราทั้งผอง และต้นแบบแห่งจิตวิญญาณและการเริ่มต้นใหม่ ชาร์เบลเป็นดั่งไม้ซีดาร์ [สัญลักษณ์ประจำชาติ] ของเลบานอน ผู้ยืนท่ามกลางบทภาวนานิรันดร์ บนยอดของภูเขา"[8][9][10][11]

ในฐานะมารอไนต์เลบานอน ท่านเป็นตัวอย่างของวิถีมารอไนต์ที่เป็นไปตามขนบของคาทอลิก ส่วนในฐานะคาทอลิก ท่านเป็นตัวอย่างของคุณธรรมและอำนาจในการกล่าวภาวนาแทนผู้อื่นที่ปรากฏแก่คาทอลิกจากทุกปูมหลัง[12][13]

ปาฏิหารย์ แก้

ในบรรดาปาฏิหารย์มากมายของนักบุญชาร์เบล คริสตจักรเลือกปาฏิหารย์สองประการสำหรับการยกขึ้นเป็นบุญราศี (beatification) และหนึ่งประการสำหรับการยกขึ้นเป็นนักบุญ (canonization) ซึ่งปาฏิหารย์ทั้งสามประการนี้ได้แก่

  • การรักษาภคิณีมารี อาเบล คามารี (Mary Abel Kamari) แห่งพระหฤทัยอันศักดิ์สิทธิ์
  • การรักษาอิสคันดาร์ นาอิม โอเบด (Iskandar Naim Obeid) จาก Baabdat
  • การรักษามารียัม อาวัด (Mariam Awad) จาก Hammana[9]

อ้างอิง แก้

  1. Catholic Hierarchy "Order of Lebanese Maronites"[แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง]
  2. "Lebanese St. Charbel Makhlouf known for miraculous healings and uniting Christians and Muslims". Brockhaus, Hannah. Catholic News Agency. January 10, 2019.
  3. "St. Charbel Makhluf", the Byzantine Forum
  4. فتح قبر القديس شربل سنة 1950 - Opening the tomb of Saint Charbel (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2020-03-28
  5. http://www.charbel.org/saint/charbel/miracles/
  6. http://www.catholictradition.org/Eucharist/charbel7.htm
  7. Bell, Ann (1991). Modern Saints: Their Lives and Faces.
  8. Faulk, E; 101 Questions and Answers on Eastern Catholic Churches, Paulist Press, March 1, 2007 ISBN 978-0-8091-4441-9 p67
  9. 9.0 9.1 ""Beatification and Canonization of Saint Charbel", Saint Maron Monastery". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-07-24.
  10. Saint Charbel, canonized 40 years ago, a saint for all Lebanon
  11. [Canonisation de Charbel Makhlouf, Homélie du pape Paul VI,Dimanche, 9 octobre 1977] vatican.va, article in French
  12. Maronite History Project เก็บถาวร กรกฎาคม 25, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. ""St. Sharbel Makhluf", Saint of the Day, American Catholic". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-26. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้