ชาร์ล โฌแซ็ฟ เอเตียน วอลฟ์ (ฝรั่งเศส: Charles Joseph Étienne Wolf) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส

ชาร์ล โฌแซ็ฟ เอเตียน วอลฟ์
Charles Joseph Étienne Wolf
ชาร์ล วอลฟ์ ในปี 1887
เกิด9 พฤศจิกายน 1827
จังหวัดแอน ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
เสียชีวิต4 กรกฎาคม ค.ศ. 1918(1918-07-04) (90 ปี)
จังหวัดอีเลวีแลน ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
สัญชาติธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ศิษย์เก่าเอกอลนอร์มาลซูว์แปรีเยอร์
มีชื่อเสียงจากค้นพบดาววอลฟ์–ราแย
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาดาราศาสตร์
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยมงเปอลีเย, หอดูดาวปารีส

ตั้งแต่ปี 1848 ถึง 1851 เขาเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่เอกอลนอร์มาลซูว์แปรีเยอร์และได้รับปริญญาสาขาฟิสิกส์[1] หลังจากเป็นอาจารย์ที่เมืองนีมและแม็สแล้วเขาได้รับปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์ในปี 1858[1] ตั้งแต่ปี 1858 ถึง 1862 เขาเป็นวิทยากรและศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมงเปอลีเย[1] ในปี 1862 เขาได้เข้าทำงานที่หอดูดาวปารีส ตามคำร้องขอของอูร์แบ็ง เลอ แวรีเย ในตอนแรกทำงานด้านสังเกตการณ์ และปรับปรุงนาฬิกาดาราศาสตร์ ต่อมาเปลี่ยนมาทำการสังเกตการณ์ทางสเปกโทรสโกปี[2], 9 พฤศจิกายน 1927 – 4 กรกฎาคม 1918[1] ในปี 1886 เขาได้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่หอดูดาวปารีส และในปี 1892 เขาก็ได้เป็นศาสตราจารย์เต็มตัว[1]

ในปี 1874 เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสมาคมดาราศาสตร์หลวง[1] ในปี 1874 เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกภาควิชาดาราศาสตร์สถาบันวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส[1] และได้เป็นรองประธานในปี 1897 และเป็นประธานในปี 1898[3]

ผลงาน

แก้

ในปี 1867 ขณะสังเกตการณ์บริเวณกลุ่มดาวหงส์ร่วมกับฌอร์ฌ ราแย เขาค้นพบว่าสเปกตรัม ของดาวทั้งสามดวงคือ HD 191765, HD 192103 และ HD 192641 มีแถบการแผ่รังสีกว้างซึ่งแตกต่างจากสเปกตรัมต่อเนื่อง[4] ในเวลาต่อมาดาวที่มีลักษณะดังกล่าวถูกเรียกว่าดาววอลฟ์–ราแย ตามชื่อของพวกเขาทั้งสอง[2] ในปี 1877 เขาได้ตีพิมพ์สารบัญแฟ้มดาวฤกษ์ของดาวภายในกระจุกดาวลูกไก่เป็นครั้งแรก ซึ่งประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ 571 ดวง[5]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "WOLF Charles Joseph Étienne". Comité des travaux historiques et scientifiques. 2020-12-28. สืบค้นเมื่อ 2022-03-13.
  2. 2.0 2.1 斉田博 (1983-03-25). 中山茂 編 (บ.ก.). 天文学人名辞典. 現代天文学講座 (初版第一刷 ed.). 恒星社. p. 26.
  3. "Présidents de l'Académie des sciences de 1699 à nos jours". フランス科学アカデミー. 2015-01-06. สืบค้นเมื่อ 2020-08-09.
  4. Huggins, William; Huggins, Margaret Lindsay (1997). "IV. On Wolf and Rayet's bright-line stars in Cygnus". Proceedings of the Royal Society of London. 49 (296–301): 33–46. doi:10.1098/rspl.1890.0063. ISSN 0370-1662.
  5. Wolf, C. (1877). "Description du groupe des Pleiades et mesures micrometriques des positions relatives des principales etoiles qui le composent". Annales de l'Observatoire de Paris. Mémoires. 14: A.1–A.81. ISSN 2015-7495.