ฉบับร่าง:พระวิเศษวังษา (นิกูวง)

  • ความคิดเห็น: เนื้อหาและอ้างอิงไม่โดดเด่น --Lookruk 💬 (พูดคุย) 10:01, 11 ธันวาคม 2566 (+07)
  • ความคิดเห็น: คัดลอกอ้างอิงมา แต่ไม่แสดงบรรณานุกรมให้ครบ ดังปรากฏข้อความ " (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ๒๕๐๖: ๕๘ – ๕๙) " Sry85 (คุย) 00:00, 31 กรกฎาคม 2566 (+07)
  • ความคิดเห็น: อยากให้เพิ่มอ้างอิงให้หลาย ๆ แหล่งมากกว่านี้ครับ เพราะฉบับร่างนี้มีเพียงแหล่งเดียวไม่อาจเพิ่มความโดดเด่นได้ Kaoavi (คาโอเอวีไอ) (คุย) 21:51, 30 กรกฎาคม 2566 (+07)
  • ความคิดเห็น: อ้างอิงควรน่าเชื่อถือกว่านี้ ถ้าเป็นหนังสือต้องมีชื่อผู้เขียน สำนักพิมพ์ หรืออื่น ๆ ที่บงบอกถึงความน่าเชื่อถือของหลักฐานอ้างอิง Kaoavi (คาโอเอวีไอ) (คุย) 21:42, 26 กรกฎาคม 2566 (+07)

พระวิเศษวังษา (นิกูวง หรือ นิกวน หรือ นิควน) (มลายู: Nik Kuwong or Nik Kuan) เป็นผู้ช่วยราชการเมืองยะหริ่ง[1]ในสมัยพระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี (นิเมาะ) เจ้าเมืองยะหริ่ง[2]

พระวิเศษวังศา (นิกูวง)
เกิดวังยะหริ่ง(นิตีมุง)
สุสานป่าหลวง ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
สัญชาติมลายู
ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองยะหริ่ง
บุตร3 คน
บิดามารดา

ประวัติ แก้

พระวิเศษวังษา (นิกูวง) เป็นบุตรคนโตของพระยายะหริ่ง (นิตีมุง) และมีศักดิ์เป็นหลานของพระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี (นิเมาะ) เมื่อพระยายะหริ่ง (นิตีมุง) ถึงแก่พิราลัยได้มีการแต่งตั้งนิเมาะ ผู้เป็นอาเป็นพระยายะหริ่งแทนต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี นอกจากนี้ได้มีแต่งตั้งผู้ช่วยราชการเมืองยะหริ่งและกรรมการที่ปรึกษาเมืองยะหริ่งดังนี้[2]

1.พระโยธานุประดิษฐ์ (นิโวะ)

2.พระสุนทรรายา (นิโซะ)

3.หลวงประชาภิบาล (นิแว)

4.หลวงบุรานุมัติการ (นิตีมุง)

5.ขุนอภิบาลบุรีรักษ์ (กูปัตตารอ)

6.ขุนสิริบำรุง (นิแม)

7.พระวิเศษวังษา (นิกูวง) บุตรพระยายะหริ่ง (นิตีมุง)

ต่อมามีการถอดบรรดาศักดิ์พระวิเศษวังษาเนื่องด้วยมีปัญหากับวงญาติชนชั้นปกครองกันเอง ในช่วงปลายชีวิตของนิกูวงภายหลังจากมีการปฏิรูปการปกครองนิกูวงได้ร่วมกับรายาสาบันบริจาคที่ดินเพื่อสร้างที่ว่าการอำเภอยะหริ่ง

คดีระหว่างเจ้าเมืองกับนิกูวง หรือ นิควน แก้

นิกูวงร่วมกับบ่าวไพร่ยื่นฟ้องพระยายะหริ่งและพระโยธานุประดิษฐ์ ผู้ช่วยเจ้าเมืองยะหริ่ง ต่อศาลแพ่งกว่า 100 คดีในครั้งนั้นได้ฟ้องต่อเจ้าเมืองสงขลาว่าพระยายะหริ่งยกพวกปล้นและฆ่าลูกเมียและบริวารตายและริบทรัพย์สินไป ขอให้พระยาสงขลาดำเนินคดี เนื่องจากในสมัยนั้นสงขลาเป็นผู้ดูแลหัวเมืองทั้งเจ็ดก่อนที่จะเปลี่ยนสังกัดไปอยู่กับนครศรีธรรมราช พระยาสงขลาพระยายามเรียกตัวพระยายะหริ่งมาสอบสวนแต่พระยายะหริ่งบ่ายเบี่ยงไม่ยอมมาจึงไม่สามารถไต่สวนความได้ พระยายะหริ่งได้ตอบทางจดหมายว่า ก่อนหน้านั้นคนใช้นิกูวงไปบุกรุกที่นาและยังยิงทนายพระยายะหริ่ง ในขณะเดียวกันพระยายะหริ่งเองก็มีคนฟ้องร้องเช่นกัน ก่อนหน้านี้ประชนเคยยื่นฎีกากล่าวโทษพระยายะหริ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนปักษ์ใต้ กล่าวว่าพระยายะหริ่งข่มเขงราษฎร ฆ่าคนและริบทรัพย์สมบัติตามใจชอบ[3]

ทางกรุงเทพได้สั่งขุนรองมหาดไทยลงมาสอบสวนเรื่องนี้ที่ยะหริ่ง ขุนรองมหาดไทยได้รายงานว่าพระยายะหริ่งได้กวาดตอนราษฎรจำนวน 400-500 คน เพื่อเตรียมสู้รบกับนิกูวง โดยทั้งสองฝ่ายตั้งท่าจะรบกัน

ในรายงานเกี่ยวกับคดีความของหลวงบริรักษ์ภูเบนทร์ในปี 1903 คดีแพ่งในศาลบริเวณในปีนั้นมีสูงถึง 370 คดี คดีเก่านิกูวงอยู่ 100 คดี แต่ไม่ได้บอกว่าศาลตัดสินคดีอย่างไรและทำไมถึงเป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญา

อ้างอิง แก้