จิโร อัตสึมิ

นักร้องชายชาวญี่ปุ่น

จิโร อัตสึมิ (ญี่ปุ่น: 渥美二郎, 15 สิงหาคม พ.ศ. 2495 –) เป็นนักร้องชาวญี่ปุ่นแนวเอ็งกะ[1] เขาเป็นที่รู้จักจากเพลง ยูเมะโออิซาเกะ (ญี่ปุ่น: 夢追い酒, ให้สาเกพาล่องลอยสู่ภวังค์) ซึ่งเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยทำนองเพลงนี้ถูกนำไปใช้หลายภาษา รวมทั้งภาษาไทยในชื่อ รักฉันนั้นเพื่อเธอ ของพิงค์แพนเตอร์ ซึ่งประพันธ์คำร้องโดยชรัส เฟื่องอารมย์ และเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2525[2]

จิโร อัตสึมิ
渥美二郎
ชื่อเกิดโทชิโอะ อัตซึมิ
(ญี่ปุ่น: 渥美 敏夫)
เกิด15 สิงหาคม พ.ศ. 2495 (71 ปี)
เขตอาดาจิ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
แนวเพลงเอ็งกะ
อาชีพนักร้อง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2519–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงโซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์
นิปปอนโคลัมเบียมิวสิก

ประวัติและชีวิตในวงการบันเทิง แก้

เขามีชื่อจริงว่า โทชิโอะ อัตสึมิ (ญี่ปุ่น: 渥美 敏夫) เขาเกิดที่เขตอาดาจิ โตเกียว เขาจบการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมโคมาโกเมะ จากนั้นเข้าสู่วงการบันเทิงโดยการเป็นนักร้องที่คิตะเซ็นจู โดยใช้ชื่อในวงการบันเทิงชื่อแรกว่า ทาเคชิ อัตสึมิ โดยได้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ ชัยชนะแห่งความตาย ในปี พ.ศ. 2518 หลังจากนั้นเขาได้ออกผลงานเพลงแรกในปี พ.ศ. 2519 สังกัดโซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ในชื่อ คาวาอีโอมาเอะ (ญี่ปุ่น: 可愛いおまえ, เธอช่างน่ารักเหลือเกิน) แต่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเพลง ยูเมะโออิซาเกะ ซึ่งเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2521 สามารถทำยอดขายร่วม 2,800,000 ตลับ[3] และกลายเป็นเพลงประจำตัวของเขาในที่สุด

ในปี พ.ศ. 2532 เขาถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่ได้ทำการรักษาจนหายขาด ต่อมาเขาได้ย้ายไปสังกัดนิปปอนโคลัมเบีย เมื่อปี พ.ศ. 2544 และในปี พ.ศ. 2559 เขาได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ เดอะลาซเอ็งกะมาสเตอร์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีในวงการบันเทิงของเขา

ผลงานเพลง แก้

สตูดิโออัลบั้ม แก้

  1. 可愛いおまえ („เธอช่างน่ารัก“, 2519)
  2. 夢追い酒 („ให้สาเกพาล่องลอยสู่ภวังค์“, 2521)
  3. 忘れてほしい („ผมอยากให้คุณลืม“, 2522)
  4. いたわり („ความกรุณา“, 2523)
  5. 他人酒 („Another's Sake“, 2524) ทำยอดขายถึง 300,000 ตลับ[4]
  6. 夢よもういちど („ความฝันครั้งหนึ่ง“, 2525)
  7. 想い出のひと („ใครจำได้บ้าง“, 2526)
  8. 釜山港へ帰れ („กลับสู่ปูซาน“, 2526) ทำยอดขายถึง 700,000 ตลับ[4]
  9. 北のものがたり („นิทานจากแดนเหนือ“, 2527)
  10. おまえとしあわせに („โชคดีที่มีเธอ“, 2528)
  11. ふたりの明日 („เช้าวันที่สอง“, 1. Juni 1991)
  12. 浪花夜景 („ยามราตรีของนานิวะ“, 2536) ทำยอดขายถึง 150,000 ตลับ[4]
  13. 霧の港町 („เมืองท่าหมอกปกคลุม“, 2542)
  14. 男の航路 („การเดินทางของชายคนหนึ่ง“, 2544)
  15. おそい春 („ปลายฤดูใบไม้ผลิ“, 2546)
  16. 哀愁 („คิดถึง“, 2549)
  17. 夢落葉 („ใบไม้ในฝัน“, 2549)
  18. 望郷波止場 („คิดถึงบ้านท่าเรือ“, 2551)

อ้างอิง แก้

  1. BS11. 演歌百撰, สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560
  2. เปิดเรื่องราว Pink Panther วงดนตรีดังเจ้าของเพลงตำนาน "รักฉันนั้นเพื่อเธอ"
  3. Nagata, Gyoji (2002). 歌謡曲おもしろこぼれ話. Shakai Shisosha. p. 277. ISBN 4390116495. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 Yomiuri Shimbunsha, Kulturabteilung, 『この歌この歌手―運命のドラマ120〈下〉』, Bibliothek für gegenwärtige Kultur, 1997, S. 59, ISBN 4-390-11602-9

แหล่งข้อมูลอื่น แก้