จิตรคุปต์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
จิตรคุปต์ (สันสกฤต: चित्रगुप्त, Chitragupta) บ้างเรียก เจตคุปต์ หรือ เจ็ตคุก ก็ว่า เป็นเทวดาในศาสนาฮินดู มีหน้าที่รักษาทะเบียนคนตายของพระยม เชื่อว่าเป็นเทพที่มีน้ำใจดุร้ายทารุณ[1]
เจ้าเจตคุปต์ | |
---|---|
ผู้รักษาทะเบียนของพระยม | |
เจ้าเจตคุปต์ในศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร | |
ส่วนเกี่ยวข้อง | เทวดา |
อาวุธ | เหล็กจาร · คัมภีร์ |
พาหนะ | ช้าง · ม้า · ควาย |
เป็นที่นับถือใน | กัมพูชา · ไทย · อินเดีย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | นันทินี และโสภวดี |
บิดา-มารดา |
|
หลังจากพระพรหมสร้างวรรณะทั้งสี่ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร แล้ว ได้มีบัญชาให้พระยมรักษาทะเบียนการกระทำของสรรพชีวิตที่เกิดขึ้นและจะได้เกิดทั้งบนโลกเบื้องสูง (คือสวรรค์) และโลกเบื้องต่ำ (คือมนุษยโลก) พระยมตัดพ้อต่อพระพรหมว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ไฉนเลยข้าจะรักษาทะเบียนกรรมของสิ่งมีชีวิตซึ่งเกิดในลักขโยนีทั้งแปดสิบสี่ตลอดทั้งตรีโลกได้เล่า" ("O Lord, how can I alone keep record of the deeds of the beings born into 84 lakh yonis in the three worlds?")
พระพรหมทำสมาธิใคร่ครวญเป็นเวลาหนึ่งหมื่นหนึ่งพันปี แล้วลืมพระเนตรขึ้น ปรากฏเป็นบุรุษนายหนึ่งถือปากกาและขวดหมึกไว้พร้อมสะพายดาบไว้กับสะเอวอยู่เฉพาะพักตร์พระพรหม ครั้นแล้ว พระพรหมตรัสต่อเขาว่า "เจ้าเกิดขึ้นแต่กายข้า ฉะนั้น ลูกหลานของเจ้าจงได้ชื่อว่า กายาสทาส ส่วนเจ้านั้นเกิดขึ้นในห้วงคำนึงแห่งข้าและในความลับดำมืด เจ้าจงมีนามว่า จิตรคุปต์ เถิด" ("Thou hast been created from my body, therefore shall thy progeny be known as the Kayasthas. Thou hast been conceived in my mind and in secrecy, thy name shall also be Chitragupta.") จากนั้น พระพรหมทรงมอบหมายให้จิตรคุปต์ทำหน้าที่รักษาทะเบียนของพระยม
คัมภีร์ครุฑปุราณะ (Garud Puran) ว่า จิตรคุปต์เป็นผู้ประดิษฐ์อักษร โดยมีบทสรรเสริญจิตรคุปต์ว่า "อภิวาทจิตรคุปต์ ผู้ประสาทอักษร" (Chitragupta namastubhyam vedaksaradatre, "Obeisance to Chitragupta, the giver of letters")
วันเกิดของจิตรคุปต์เรียกว่า "ยมทวิติยะ" (Yama Dwitiya) บรรดาผู้เลื่อมใสจะจัดการรื่นเริงต่าง ๆ โดยมีพิธีหลักเรียก "จิตรคุปตชยันตีบูชา" (Chitraguptajayanti Puja)