จัณฑีครห์แคปิตอลคอมเพล็กซ์

จัณฑีครห์แคปิตอลคอมเพล็กซ์ (อังกฤษ: Chandigarh Capitol Complex) ตั้งอยู่ที่เซ็กเตอร์ 1 (sector-1) ของเมืองจัณฑีครห์ ประเทศอินเดีย เป็นกลุ่มอาคารที่ทำการของรัฐบาลออกแบบโดยสถาปนิก เลอกอร์บูซีเย[1] และเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[2] หมู่อาคารกินพื้นที่ทั้งหมด 100 เอเคอร์ และถือเป็นตัวแทนเอก (prime manifestation) ของสถาปัตยกรรมในจัณฑีครห์ ในหมู่อาคารประกอบด้วยสามอาคาร คือ พาเลซออฟอัสเซมบลี, อาคารสำนักเลขาธิการ และศาลสูงปัญจาบและหรยาณา รวมถึงอนุสาวรีย์ (โอเพนแฮนด์, จีโอเมตริกฮิลล์, ทาวเวอร์ออฟชาโดวส์ และอนุสาวรีย์วีรชนผู้สละชีพ) และทะเลสาบหนึ่งแห่ง[3][4][5][6][7]

จัณฑีครห์แคปิตอลคอมเพล็กซ์
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
พาเลซออฟอัสเซมบลี (Palace of Assembly) ในหมู่อาคาร
ชื่อทางการComplexe du Capitole
ที่ตั้งจัณฑีครห์, จัณฑีครห์แคปิตอลรีเจียน, ประเทศอินเดีย
บางส่วนงานสถาปัตยกรรมของเลอกอร์บูซีเย คุณูปการอันโดดเด่นต่อขบวนการสมัยใหม่
รวมถึงพาเลซออฟอัสเซมบลี, อาคารสำนักเลขาธิการ, ศาลสูงปัญจาบและหรยาณา, อนุสาวรีย์โอเพินแฮนด์
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (i), (ii), (vi)
อ้างอิง1321rev-014
ขึ้นทะเบียน2016 (สมัยที่ 40)
พื้นที่66 ha (0.25 sq mi)
พื้นที่กันชน195 ha (0.75 sq mi)
พิกัด30°45′26″N 76°48′24″E / 30.7573°N 76.8066°E / 30.7573; 76.8066พิกัดภูมิศาสตร์: 30°45′26″N 76°48′24″E / 30.7573°N 76.8066°E / 30.7573; 76.8066
จัณฑีครห์แคปิตอลคอมเพล็กซ์ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
จัณฑีครห์แคปิตอลคอมเพล็กซ์
ที่ตั้งจัณฑีครห์แคปิตอลคอมเพล็กซ์ ในประเทศอินเดีย

จัณฑีครห์แคปิตอลคอมเพล็กซ์กับอาคารอีกสิบหกแห่งที่ออกแบบโดยเลอกอร์บูซีเยได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ "งานสถาปัตยกรรมของเลอกอร์บูซีเย" เมื่อเดือนกรกฎาคม 2016[8]

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Le Corbusier's Capitol Complex a mess, in dire need of facelift". indianexpress.com.
  2. "Chandigarh's Capitol Complex is now a UNESCO heritage site". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-19. สืบค้นเมื่อ 18 July 2016.
  3. "Chandigarh's Capitol Complex is now a UNESCO heritage site: All you need to know". hindustantimes.com. 18 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
  4. "Capitol Complex, as Le Corbusier wanted it, remains incomplete - Indian Express". indianexpress.com.
  5. https://indianexpress.com/article/cities/chandigarh/the-most-planned-city/
  6. "UNESCO approves all 3 Indian nominations for heritage tag". intoday.in.
  7. "Four sites inscribed on UNESCO's World Heritage List". whc.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). UNESCO World Heritage Centre. 15 July 2016. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  8. "The Architectural Work of Le Corbusier, an Outstanding Contribution to the Modern Movement". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 7 November 2020.