จังหวัดของประเทศศรีลังกา

จังหวัด หรือในชื่อภาษาท้องถิ่นได้แก่ปฬาตะ (สิงหล: පළාත, อักษรโรมัน: Paḷāta) และมากาณัม (ทมิฬ: மாகாணம், อักษรโรมัน: Mākāṇam) เป็นเขตการปกครองย่อยระดับแรกของประเทศศรีลังกา จังหวัดในประเทศศรีลังกามีที่มาตั้งแต่สมัยที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิบริติช โดยเริ่มแบ่งเขตจังหวัดครั้งแรกใน ค.ศ. 1833 อย่างไรก็ตาม ในช่วงศตวรรษต่อมา อำเภอซึ่งเป็นหน่วยย่อยของจังหวัดเริ่มมีบทบาทสำคัญในการปกครองมากกว่า ในขณะที่จังหวัดเริ่มลดความสำคัญลงเป็นเพียงเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น จนกระทั่ง ค.ศ. 1987 สภาจังหวัดจึงได้รับอนุมัติให้จัดตั้งขึ้นหลังจากการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ค.ศ. 1978 ครั้งที่ 13[1][2] ในปัจจุบันประเทศศรีลังกาประกอบด้วย 9 จังหวัด

จังหวัด
หรือเรียกว่า
ปฬาตะ (สิงหล: පළාත)
มากาณัม (ทมิฬ: மாகாணம்)
ที่ตั้งประเทศศรีลังกา
ก่อตั้ง1 ตุลาคม ค.ศ. 1833
จำนวน9
ประชากร1,061,315–5,851,130
พื้นที่3,684–10,472 ตารางกิโลเมตร
การปกครองสภาจังหวัด
หน่วยการปกครองอำเภอ

การแบ่งเขตการปกครองสมัยบริติชซีลอน แก้

หลังจากจักรวรรดิบริติชเข้าปกครองเกาะซีลอนโดยสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1815 เกาะซีลอนถูกแบ่งออกเป็นสามเขตตามชนชาติได้แก่ชาวสิงหลพื้นที่ราบ ชาวสิงหลกัณฏิ และชาวทมิฬ ต่อมาใน ค.ศ. 1829 ทางจักรวรรดิบริติชได้ตั้งกรรมาธิการโคลบรุก–คาเมรอนเพื่อทบทวนการบริหารราชการบริติชซีลอนอีกครั้ง[3] กรรมาธิการดังกล่าวเสนอว่าเขตชนชาติทั้งสามเขตควรยุบรวมกันเป็นหน่วยเดียวและแบ่งออกเป็นจังหวัดตามที่ตั้งภูมิศาสตร์แทน[3] ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1833 จึงได้มีการจัดตั้งจังหวัด 5 จังหวัดดังนี้[4][5][6][7]

ตลอดช่วงที่เหลือของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดเพิ่มเติมอีก 4 จังหวัดได้แก่[6][7][8]

จังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือ (ค.ศ. 1988 – 2006) แก้

 
แผนที่แสดงพื้นที่ของจังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือ (ค.ศ. 1988 – 2006)

หลังจากที่ประธานาธิบดี เจ. อาร์. ชยวรรธนะแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกาและนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดียร่วมลงนามในข้อตกลงอินโด-ลังกาในช่วงสงครามกลางเมืองศรีลังกาใน ค.ศ. 1987 ในปีถัดมาประธานาธิบดีชยวรรธนะได้ประกาศยุบรวมจังหวัดตะวันออกและจังหวัดเหนือเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือ[12] โดยตั้งใจจะให้เป็นมาตรการชั่วคราวจนกว่าจะมีการจัดประชามติประชาชนในจังหวัดตะวันออกว่าจะให้ยุบรวมเป็นการถาวรหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีหลายคนที่ขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีชยวรรธนะตัดสินใจที่จะต่ออายุมาตรการชั่วคราวดังกล่าวออกไปเรื่อย ๆ แทนที่จะจัดประชามติ ประชามติดังกล่าวนั้นไม่เคยเกิดขึ้น[13] ชาวศรีลังกาชาตินิยมไม่พอใจกับการยุบรวมสองจังหวัดดังกล่าว ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 พรรคจนตาวิมุกติเปรมุณะ หรือพรรคแนวร่วมประชาชนปลดปล่อยของศรีลังกาได้ยื่นคำร้องต่อศาลสูงสุดเพื่อให้พิจารณาตั้งสภาจังหวัดตะวันออกขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 16 ตุลาคมปีเดียวกัน ศาลสูงสุดได้วินิจฉัยว่าการยุบรวมจังหวัดตะวันออกและจังหวัดเหนือตามประกาศของประธานาธิบดีชยวรรธนะเป็นโมฆะ[12] จังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือแยกตัวกลับไปเป็นจังหวัดเหนือและจังหวัดตะวันออกตามเดิมในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2007

จังหวัดของประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน แก้

ในปัจจุบันประเทศศรีลังกาแบ่งการปกครองออกเป็น 9 จังหวัดได้แก่

ธงจังหวัด ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรสิงหล
ชื่อจังหวัด
อักษรทมิฬ
แผนที่ เมืองเอก ค.ศ. ที่จัดตั้ง พื้นที่พื้นดิน
(ตร.กม.)[14]
พื้นที่พื้นน้ำ
(ตร.กม.)[14]
พื้นที่รวม
(ตร.กม.)[14]
ประชากร
(ค.ศ. 2012)[15]
ความหนาแน่น
(ต่อ ตร.กม)[a]
รหัสไอเอสโอ[16]
  จังหวัดกลาง මධ්‍යම පළාත
มัธยมะปฬาตะ
மத்திய மாகாணம்
มัตติยะมากาณัม
  กัณฏิ 1833 5,575 99 5,674 2,571,557 461 LK-2
  จังหวัดกลางเหนือ උතුරු මැද පළාත
อุตุรุแมดะปฬาตะ
வட மத்திய மாகாணம்
วฏะมัตติยะมากาณัม
  อนุราธปุระ 1873 9,741 731 10,472 1,266,663 130 LK-7
  จังหวัดตะวันตก බස්නාහිර පළාත
บัสนาหิระปฬาตะ
மேல் மாகாணம்
เมลมากาณัม
  โคลัมโบ 1883 3,593 91 3,684 5,851,130 1628 LK-1
  จังหวัดตะวันตกเฉียงเหนือ වයඹ පළාත
วยัมบะปฬาตะ
வட மேல் மாகாணம்
วฏะเมลมากาณัม
  กุรุแณกละ 1845 7,506 382 7,888 2,380,861 317 LK-6
  จังหวัดตะวันออก නැගෙනහිර පළාත
แนเกนหิระปฬาตะ
கிழக்கு மாகாணம்
กิฬักกุมากาณัม
  ตรินโคมาลี 1833 9,361 635 9,996 1,555,510 166 LK-5
  จังหวัดใต้ දකුණු පළාත
ดกุนุปฬาตะ
தென் மாகாணம்
เต็ณมากาณัม
  กอลล์ 1833 5,383 161 5,544 2,477,285 460 LK-3
  จังหวัดสพรคมุวะ සබරගමුව පළාත
สพรคมุวะปฬาตะ
சபரகமுவ மாகாணம்
จปรกมุวะมากาณัม
  รัตนปุระ 1889 4,921 47 4,968 1,928,655 392 LK-9
  จังหวัดเหนือ උතුරු පළාත
อุตุรุปฬาตะ
வட மாகாணம்
วฏะมากาณัม
  แจฟฟ์นา 1833 8,290 594 8,884 1,061,315 128 LK-4
  จังหวัดอูวะ ඌව පළාත
อูวะปฬาตะ
ஊவா மாகாணம்
อูวะมากาณัม
  พทุลละ 1886 8,335 165 8,500 1,266,463 152 LK-8
รวม 62,705 2,905 65,610 20,359,439 325
  1. ความหนาแน่นประชากรคำนวณจากพื้นที่พื้นดิน

อ้างอิง แก้

  1. Law, Gwillim (2010). "Provinces of Sri Lanka". statoids.com. สืบค้นเมื่อ 19 January 2010.
  2. "Introduction". Provincial Councils. Government of Sri Lanka. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2009. สืบค้นเมื่อ 16 January 2010.
  3. 3.0 3.1 "The Colebrooke-Cameron Reforms". Sri Lanka. Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 16 August 2009.
  4. Mills, Lennox A. (1933). Ceylon Under British Rule 1795–1932. London: Oxford University Press/Humphrey S. Milford. p. 68. สืบค้นเมื่อ 16 August 2009.
  5. Mendis 1946, p. 39.
  6. 6.0 6.1 Samarasinghe, L. M. (21 March 2003). "River basins as administrative divisions". Daily News (Sri Lanka).
  7. 7.0 7.1 "Sinhala Colonisation in the Hereditary Tamil Regions of the Island of Sri Lanka". UN Commission on Human Rights 56th Sessions: March/April 2000. Tamil Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 16 August 2009.
  8. Karalliyadda, S. B. (4 February 2009). "Independence Struggle for a Hundred and Thirty Three Years". Daily News (Sri Lanka). สืบค้นเมื่อ 16 August 2009.
  9. Mendis 1946, p. 51.
  10. 10.0 10.1 Mendis 1946, p. 84.
  11. Mendis 1946, p. 85.
  12. 12.0 12.1 Selvanayagam, S. S. (17 October 2006). "North-East merger illegal: SC". The Daily Mirror (Sri Lanka). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2013.
  13. Sambandan, V. S. (14 November 2003). "Sri Lanka's North-East to remain united for another year". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-02-25. สืบค้นเมื่อ 2020-11-23.
  14. 14.0 14.1 14.2 "Table 1.1: Area of Sri Lanka by province and district" (PDF). Statistical Abstract 2014. Department of Census and Statistics, Sri Lanka.
  15. "Census of Population and Housing of Sri Lanka, 2012 – Table A1: Population by district, sex and sector" (PDF). Department of Census & Statistics, Sri Lanka. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-28. สืบค้นเมื่อ 2020-11-23.
  16. "LK - Sri Lanka". องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน. 2019-11-22. สืบค้นเมื่อ 2020-11-23.