จักจั่นฮิงูราชิ

จักจั่นฮิงูราชิ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Hemiptera
วงศ์: Cicadidae
สกุล: Tanna
สปีชีส์: T.  japonensis
ชื่อทวินาม
Tanna japonensis
Distant, 1892
Subspecies

T. j. ishigakiana Distant, 1892
T. j. japonensis Kato, 1960

จักจั่นฮิงูราชิ (ญี่ปุ่น: 蜩, 茅蜩, ひぐらし; ชื่อวิทยาศาสตร์: Tanna japonensis) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จักจั่นยามเย็น (อังกฤษ: evening cicada) เป็นจักจั่นชนิดหนึ่ง อยู่ในสกุล Tanna พบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกและพบมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น เสียงของมันมักได้ยินบ่อยที่สุดในช่วงเช้าและเย็น

จักจั่นฮิงูราชิส่วนมากอาศัยอยู่ในแถบฮกไกโด ฮนชู ชิโกกุ คีวชู รวมทั้งเกาะสึชิมะและเกาะยากุ จะอาศัยอยู่ในป่าละเมาะและกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่เนินเขาเตี้ย ๆ ช่วงฤดูกาลที่พบได้มากที่สุดจะเป็นช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนและเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ในเดือนกรกฎาคม[1]

ชื่อคันจิมีที่มาจากอักษรของหญ้ามิสแคนทัสซึ่งเป็นกกชนิดหนึ่งที่มันอาศัยอยู่ ในญี่ปุ่นมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า คานากานะ (カナカナ) โดยตั้งจากเสียงที่มันส่งออกมา

ลักษณะเฉพาะ แก้

ตัวผู้ที่โตเต็มวัยมีความยาวลำตัว 28–38 มิลลิเมตร (1.1–1.5 นิ้ว) ตัวเมีย 21–25 มิลลิเมตร (0.8–1.0 นิ้ว) ส่วนท้องของตัวผู้จะยาวและหนากว่าตัวเมียทำให้ง่ายต่อการแยกแยะ นอกจากนี้ช่องภายในช่องท้องของตัวผู้ที่พัฒนาแล้ว จะมีเสียงที่ก้องกังวานเป็นอย่างมาก[2]

บริเวณลำตัวมีสีน้ำตาลแดง มีเขียวที่รอบดวงตา ตรงกลางและด้านหลังของทรวงอก โดยตัวที่อยู่อาศัยบนภูเขามักจะมีสีที่เข้ม[2]

ถิ่นที่อยู่ แก้

ในญี่ปุ่น ถิ่นที่อยู่ของพวกมันอยู่ตั้งแต่ฮกไกโด เขตอบอุ่นทางตอนเหนือสุดไปจนถึงกึ่งเขตร้อนบริเวณเกาะอามามิโอชิมะใกล้กับไต้หวัน พวกมันอาศัยอยู่ในป่าไซเปรส ซีดาร์ และป่าไม้เนื้อแข็งตั้งแต่บริเวณภูเขาในฮกไกโดไปจนถึงที่ราบทางตอนเหนือของคีวชู แม้แต่ทางใต้ของคีวชูก็สามารถพบได้บริเวณภูเขาที่มีความสูงที่มากขึ้น[2]

เสียง แก้

ช่วงที่มีการได้ยินเสียงจักจั่นมากที่สุดคือช่วงฤดูใบไม้ร่วง แต่ก็ยังคงได้ยินในช่วงปลายฤดูร้อนในบางภูมิภาค ปกติแล้วสามารถได้ยินเสียงได้เกือบทุกวันในช่วงเดือนกันยายนจนถึงกลางเดือนตุลาคม[2]

ตัวผู้มีเสียงที่ค่อนข้างเด่นและมีเอกลักษณ์ ตัวผู้มักร้องในช่วงก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ในเวลาพลบค่ำหรือหลังพระอาทิตย์ตกในตอนค่ำ รวมถึงเมื่ออุณหภูมิลดลงหรือเมื่อมีเมฆมาก[2]

ในญี่ปุ่นนิยมใช้เสียงนี้เพื่อสื่อถึงความโศกเศร้า มีวรรณกรรมและรายการโทรทัศน์บางเรื่อง เช่น "Summer Evening" และ ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง (ひぐらしのなく頃に) ได้หยิบยกเสียงไปประกอบ เสียงร้องนั้นค่อนข้างดัง แต่ก็ไม่ได้ไกลนัก[2]

อ้างอิง แก้

  1. "จั๊กจั่น Tanna japonensis | ขุมทรัพย์ของภูเขาทาคาโอะ | TAKAO 599 MUSEUM". www.takao599museum.jp. สืบค้นเมื่อ 2020-12-10.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Nihon konchū zukan : gakuseiban. Itō, Shūshirō., 伊藤修四郎., Hokuryūkan., 北隆館. Tōkyō: Hokuryūkan. 1997. ISBN 4-8326-0040-0. OCLC 152692300.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์) Miyatake, Tanomoto; Kanou, Yasutsugu (1992), 検索入門 セミ・バッタ (in Japanese), ISBN 978-4-586-31038-8 Nakao, Shunichi (1990). セミの自然誌 - 鳴き声に聞く種分化のドラマ. Chuokoron New Company. ISBN 4-12-100979-7.