จอห์น เบอร์โคว์

จอห์น ไซมอน เบอร์โคว์ (อังกฤษ: John Simon Bercow; เกิด 19 มกราคม ค.ศ. 1963) เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษ เคยดำรงตำแหน่งประธานสภาสามัญชนตั้งแต่ ค.ศ. 2009 ถึง ค.ศ. 2019 และเป็นสมาชิกรัฐสภาเขตบักกิงแฮม ก่อนที่เขาจะได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธาน เขาเป็นสมาชิกของอนุรักษนิยมมาก่อน แนวคิดการเมืองฝ่ายขวาในมุมมองของเขาเปลี่ยนไปหลังจากเป็น ส.ส. และมีอยู่ครั้งหนึ่งที่เขาลือกันว่ามีแนวโน้มที่เขาจะย้ายไปอยู่พรรคแรงงาน การที่เบอร์โคว์ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของอีกฝ่ายเป็นอย่างมาก และไม่เป็นที่นิยมในหมู่อดีตเพื่อนร่วมงานของพรรคอนุรักษนิยม[1] หลังจากลาออกจากตำแหน่งประธานสภาสามัญชนสหราชอาณาจักรในปี 2019 และตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเขตบักกิงแฮม ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2019 เบอร์โคว์ได้ออกจากรัฐสภา ต่อมาในปี ค.ศ. 2021 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคแรงงาน ก่อนจะถูกพักจากสมาชิกภาพในปีค.ศ. 2022

จอห์น เบอร์โคว์
ประธานสภาสามัญชน
ดำรงตำแหน่ง
22 มิถุนายน 2009 – 4 พฤศจิกายน 2019
กษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
นายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์
เดวิด แคเมอรอน
เทรีซา เมย์
บอริส จอห์นสัน
รองอลัน ฮาสเซิลเฮิร์สท์
ลินด์เซย์ ฮอยล์
ก่อนหน้าไมเคิล มาร์ติน
ถัดไปลินด์เซย์ ฮอยล์
สมาชิกรัฐสภา
เขตบักกิงแฮม
ดำรงตำแหน่ง
1 พฤษภาคม 1997 – 4 พฤศจิกายน 2019
ก่อนหน้าจอร์จ วอลเดน
คะแนนเสียง25,725 (48.8%)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
จอห์น ไซมอน เบอร์โคว์

(1963-01-19) 19 มกราคม ค.ศ. 1963 (61 ปี)
Edgware อังกฤษ
พรรคการเมืองแรงงาน (2021-2022; ระงับ)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ประธานสภา (2009–2019)
อนุรักษนิยม (ก่อน 2009)
คู่สมรสแซลลี อิลล์แมน (สมรส 2002)
บุตร3
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

ชีวิตส่วนตัว

แก้

เบอร์โคว์แต่งงานกับแซลลี อิลล์แมนเมื่อ ค.ศ. 2002 และมีบุตรสามคน[1] ภรรยาของเขาเคยเป็นอนุรักษนิยม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปสนับสนุนพรรคแรงงาน แม้ว่าเบอร์โคว์และคนใกล้ชิดปฏิเสธมุมมองที่ว่าเธอมีอิทธิพลโดยเฉพาะมุมมองการเมืองฝ่ายขวา[1][2]

เบอร์โคว์เป็นนักมนุษยนิยม และก่อนที่จะรับตำแหน่งประธานสภา เขาก็เป็นสมาชิกของกลุ่มมนุษยนิยมรัฐสภา[3] เมื่อพูดถึงบทบาทของนักบวชในรัฐสภา เขาอธิบายในสภาสามัญชนว่าตัวเอง "เป็นผู้ไม่นับถือศาสนาที่มีส่วนได้ส่วนเสียทางโลกในเรื่องสำคัญ"[4]

เบอร์โคว์เป็นแฟนตัวยงของอาร์เซนอลตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1971 และเขาเป็นผู้ถือตั๋วฤดูกาล ซึ่งเขามักจะเข้าไปชมเกมร่วมกับลูกชายของเขา[5] ใน ค.ศ. 2014 เขาตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับนักเทนนิสชายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดยี่สิบคนตลอดกาล[6]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Wheeler, Brian (24 June 2009). "The John Bercow story". BBC. สืบค้นเมื่อ 2 June 2015.
  2. "JOHN BERCOW INTERVIEW: "INSECURITY PROPELLED ME TOWARDS HARDLINE RIGHT-WING POLITICS"". Big Issue. 22 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-05. สืบค้นเมื่อ 2 June 2015.
  3. "All Party Parliamentary Humanist Group". Her Majesty's Government. 2007. สืบค้นเมื่อ 4 November 2015.
  4. John Bercow (1 March 2001). "House of Commons (Removal of Clergy Disqualification) Bill". Parliamentary Debates (Hansard). United Kingdom: House of Commons. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2017. สืบค้นเมื่อ 14 February 2017.
  5. Arsene Wenger Deserves Respect! John Bercow, Speaker Of The House of Commons ที่ยูทูบ
  6. John Bercow: Tennis Maestros − The Twenty Greatest Male Tennis Players of All Time. Kindle eBooks, 2014 (Preview).

อ่านเพิ่มเติม

แก้
  • Bobby Friedman. Bercow, Mr Speaker: Rowdy Living in the Tory Party (2011) Gibson Square.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้