งูเห่าอียิปต์

สปีชีส์ของสัตว์เลื้อยคลาน
งูเห่าอียิปต์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Elapidae
สกุล: Naja
สกุลย่อย: Uraeus
สปีชีส์: N.  haje
ชื่อทวินาม
Naja haje
(Linnaeus, 1758)[1]
  สถานที่กระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง

งูเห่าอียิปต์ (อังกฤษ: Egyptian cobra; อาหรับ: كوبرا مصرية; ชื่อวิทยาศาสตร์: Naja haje) งูพิษประเภทงูเห่าชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae)

ศัพทมูลวิทยา

แก้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Naja haje คำว่า Naja ที่เป็นชื่อสกุลนั้น มาจากภาษาสันสกฤตอันเป็นภาษาในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน คือ คำว่า "นาคะ" (nāgá; नाग) ซึ่งหมายถึง "งู" โดยคาโรลัส ลินเนียส และคำว่า haje ที่ใช้เป็นชื่อชนิดนั้น มาจากภาษาอาหรับคำว่า "เฮยา" (hayya; حية) หมายถึง "งูขนาดเล็ก" หรือตามคัมภีร์อัลกุรอานหมายถึง "งูพิษ"[2]

ลักษณะและพฤติกรรม

แก้

งูเห่าอียิปต์ มีสีเทา-น้ำตาลและจะพัฒนาไปจนเกือบจะเป็นสีดำเมื่อแก่มากขึ้น งูในวัยอ่อนมีสีเหลืองเหมือนทรายโดยมีแถบลายสีดำบนคอ มีลักษณะเด่นคือ มีแม่เบี้ยที่บริเวณหัว มีหัวขนาดใหญ่ซึ่งหัวจะถูกกดลงด้วยจมูกที่กว้าง รอบคอจะมีแถบลายกว้าง ๆ คอสามารถมีขนาดกว้างได้ถึง 18 เซนติเมตร มีดวงตากลมโตสีดำ งูตัวผู้มีความยาวได้ถึง 1.5–2 เมตร ซึ่งใหญ่กว่างูตัวเมีย

งูเห่าอียิปต์ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปแอฟริกา ตั้งแต่แอฟริกาเหนือ จนถึงแอ่งคองโก ในแอฟริกากลาง, แอฟริกาตะวันออก และแอฟริกาตะวันตก พบได้ในเคนยาและแทนซาเนีย และคาบสมุทรอาหรับ[3]

งูเห่าอียิปต์ เป็นสัตว์ที่ตื่นตัวและออกหากินในเวลากลางคืน เริ่มตั้งแต่เริ่มพลบค่ำ โดยทำรังในบริเวณกองดินหรือจอมปลวก หรือกระทั่งในท้องทุ่ง ด้วยความที่เป็นสัตว์เลือดเย็น จึงต้องอาบแดดเพื่อรับความอบอุ่นจากแสงแดดในบริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัย เพื่อที่จะล่าถอยได้อย่างรวดเร็วเมื่อพบกับอันตราย โดยทั่วไปแล้ว งูเห่าอียิปต์เป็นสัตว์ที่ไม่จู่โจมผู้อื่นก่อนหากไม่ถูกรังควาญหรือยั่วยุก่อน เป็นสัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์ปีกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดขนาดเล็ก รวมถึงงูพิษด้วยกันบางชนิดด้วย

ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ งูตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 8 ถึง 20 ฟอง โดยปกติจะวางไข่บนกองดินของจอมปลวก ระยะเวลาการกกไข่อยู่ที่ประมาณ 60 วัน ลูกงูที่เพิ่งออกมาจากไข่จะมีความยาว 20–35 เซนติเมตร และทำการลอกคราบหลังจาก 7 ถึง 12 วัน ลูกงูที่เพิ่งออกมาจากไข่จะเริ่มกินอาหารหลังจากลอกคราบ[4]

ในวัฒนธรรม

แก้

งูเห่าอียิปต์ เป็นงูในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า จึงมีเขี้ยวพิษสองซี่ขนาดใหญ่ฝังตัวอยู่บริเวณด้นหน้าของปาก พร้อมกับในปากประกอบด้วยฟันแหลมคมและขากรรไกรที่แข็งแรง มีพิษร้ายแรงถึงแก่ชีวิต มีฤทธิ์ทำลายระบบประสาท โดยพิษจะโจมตีระบบประสาทส่วนกลาง โดยแผลที่โดนกัดจะมีสองรู การกัดของจะสร้างความเจ็บปวดเป็นอย่างมากแต่รอยกัดจะไม่แสดงถึงอาการบวมน้ำหรือเลือดออกอย่างรุนแรง[4]

ในวัฒนธรรมของอียิปต์โบราณ งูเห่าอียิปต์เป็นสัญลักษณ์ของการเป็นเจ้าแผ่นดิน ดังจะเห็นรูปหัวงูเห่าแผ่แม่เบี้ยปรากฏบนมงกุฎของฟาโรห์ [5]และเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของเมเรตเซเกอร์ เทพีผู้ปกป้องหุบเขากษัตริย์ ที่มีพระเศียรเป็นรูปงูเห่าอียิปต์[6] และเชื่อกันว่า เป็นงูเห่าชนิดที่คลีโอพัตราใช้ฆ่าตัวตายอีกด้วย[7]

อ้างอิง

แก้
  1. "Naje haje haje". ITIS Standard Report Page. ITIS.gov. สืบค้นเมื่อ 13 January 2012.
  2. Wuster, Wolfgang (2009). "In praise of subgenera: taxonomic status of cobras of the genus Naja Laurenti (Serpentes: Elapidae)" (PDF). Zootaxa. 2236 (1): 26–36. สืบค้นเมื่อ 14 January 2012. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. Spawls, Stephen; Branch, Bill (1995). Dangerous Snakes of Africa. London, UK: Blandford Press. ISBN 0-7137-2394-7.
  4. 4.0 4.1 "งูเห่าอียิปต์". rentokil.co.th. 1 April 2014. สืบค้นเมื่อ 1 April 2014.
  5. หน้า 75-96, กาฟาฟาโรห์ โดย โรเบิร์ต เดรเพอร์. นิตยสาร Ntional Geographic ฉบับภาษาไทย ฉบับที่ 81: เมษายน 2551
  6. ""ซีคอนสแควร์" ชวนไขความลับสัตว์แสนอัศจรรย์ ในงาน "Seacon Pet Planet : สัตว์ทะเลทรายกับตำนานเทพเจ้าอียิปต์". iurban. 26 February 2016.[ลิงก์เสีย]
  7. Melissa Gray (2010-06-30). "Poison, not snake, killed Cleopatra, scholar says - Cleopatra died a quiet and pain free death, historian alleges". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-12. สืบค้นเมื่อ 2012-04-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Naja haje ที่วิกิสปีชีส์