คุยเรื่องวิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน/กรุ 1

กรุ 1

จำนวน และ หน่วยวัด

เรื่อง จำนวน และ หน่วยวัด รวมถึง วันที่ คิดว่าวิกิพีเดียไทยควรจะมีแนวทางยังไงดี ?

ดูเพิ่ม en:Style guide แะล en:Wikipedia:Manual of Style (dates and numbers)

ร้อยละ vs เปอร์เซ็นต์

ใช้คำว่าอะไรดี ร้อยละ หรือ เปอร์เซนต์

  • per cent ก็คือ "ต่อ ร้อย"

- ถ้าจะเอาตามภาษาไทยก็ใช้ร้อยละครับ ใช้เปอร์เซ็นต์ก็ไม่ผิด แต่อย่าใช้พร้อมกันเด็ดขาด เช่น

  • ร้อยละ 20 – ถูกต้อง
  • 20 เปอร์เซ็นต์ – ถูกต้อง
  • ร้อยละ 20 เปอร์เซ็นต์ – ผิดอย่างแรง

ปล. เปอร์เซ็นต์ มีไม้ไต่คู้ --Octahedron80 09:05, 9 ตุลาคม 2007 (ICT)

- ผมแนะว่า ถ้าเป็นไปได้ เพื่อการเขียนที่ดีที่สุด

  • ทางสังคม ควรใช้ ร้อยละ เพื่อเน้นความเป็นวิกิไทย
  • ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ควรใช้ % เพราะอาจต้องอิงกับสมการ และเป็นความนิยมและเคยชินที่ใช้ตัวย่อ
  • อย่างไรก็ตาม ตามที่ท่าน Octahedron80 แนะมาก็ดี กล่าวคือ ถ้าเขียนไปแล้วก็พออนุโลมได้ (หรือจะแก้ก็ได้) แต่อย่าเขียนผสมแล้วกัน ถือว่าผิด --Sirius (TeeTaweepo) 10:03, 19 ตุลาคม 2007 (ICT)


การเปรียบเทียบ

เปรียบเทียบจำนวนในหน่วยเดียวกัน/รูปแบบเดียวกันเท่านั้น เช่น

  • เงินเดือนพนักงานทั่วไปขึ้นร้อยละ 3 ในขณะที่เงินเดือนผู้จัดการขึ้นร้อยละ 15
  • ไม่ใช้ เงินเดือนพนักงานทั่วไปขึ้นร้อยละ 3 ในขณะที่เงินเดือนผู้บริหารขึ้น 10,000 บาท
  • ไม่ใช้ แดงได้คะแนน 9/10 แต่ดำได้ 0.8
  • ไม่ใช้ สโมสรซื้อนักเตะจากสโมสรเก่าสิบล้านปอนด์ โดยยื่นสัญญาให้นักเตะราวสองแสนบาทต่อเดือน

- ในกรณีของสกุลเงิน ถ้ามันแตกต่างกันจริงๆ ควรแปลงให้เป็นสกุลเงินกลางอันใดอันหนึ่งก่อนครับ เพื่อให้เห็นถึงการเปรียบเทียบ เช่น

  • นาย a สัญชาติ aa มีค่าตัว x ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ xx บาท) ในขณะที่ นาย b สัญชาติ bb มีค่าตัว y เปโซ (ประมาณ yy บาท)

แปลงเป็นหน่วยบาทใส่วงเล็บเอาไว้ --Octahedron80 09:09, 9 ตุลาคม 2007 (ICT)

- ผมเห็นด้วยกับท่าน Octahedron80 ครับ แนะนำให้ใช้ทำนองเดียวกับ [ [ พ.ศ. ] ] (ค.ศ.) เช่น พ.ศ. 2550 (2007) เช่น เป็นเงิน 200 ดอลลาร์ (ประมาณ 8,000 บาท) ฯลฯ --Sirius (TeeTaweepo) 10:03, 19 ตุลาคม 2007 (ICT)


การเขียนจำนวน "น้อย ๆ"

วิธีเขียนของหนังสือพิมพ์และนิตยสาร สำหรับจำนวน "น้อย ๆ" แล้ว จะใช้เป็นคำบอกจำนวน ไม่ใช้ตัวเลข เช่น

  • หนังสือสองเล่ม (ไม่ใช้ "หนังสือ 2 เล่ม")
  • เงินหนึ่งหมื่นบาท (ไม่ใช้ "เงิน 1 หมื่นบาท" หรือ "เงิน 10,000 บาท")

- มันแล้วแต่กรณีครับ ถ้าเขียนเกี่ยวกับเรื่องคณิตศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์ ก็ต้องใช้ตัวเลข --Octahedron80 09:11, 9 ตุลาคม 2007 (ICT)

- ..และ ค่าทางสถิติ และทางวิทยาศาสตร์ ด้วยครับ ที่ควรยกเว้น เช่น "เลขอะตอมเท่ากับ 2" ก็ไม่ควรใช้ว่า "เลขอะตอมเท่ากับสอง"

สรุปว่า เห็นด้วยกับทั้งสองท่าน (<-- นี่ก็เป็นตัวอย่าง) --Sirius (TeeTaweepo) 10:03, 19 ตุลาคม 2007 (ICT)


ลักษณะรูปแบบ

ตัวเอน

ตัวเอน นี่มีแหล่งอ้างอิงมั้ยครับ ว่าทำไม หรือมีเหตุผลใด ผมเห็นด้วยถ้าจะใช้ตัวเอน แต่ฟอนต์บางเครื่องตัวเอนจะอ่านไม่ออกและไม่สวยเอามากครับ --Manop | พูดคุย -   00:53, 23 พฤศจิกายน 2005 (UTC)

อยากให้ใช้ตัวเอนได้เหมือนกัน จะได้มีทางเลือกในการเน้นข้อความมากขึ้น นอกเหนือจากตัวเน้น (bold) - แต่ก็ติดตรงที่ตัวเอนภาษาไทยนั้น ถ้าเป็นตัวอักษรขนาดเล็กจะอ่านลำบากมาก -- bact' คุย 17:34, 19 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

ใช้ตัวเอนสำหรับชื่อเรียก

พอดีเห็นข้อความในหน้าคู่มือ แต่เหมือนไม่มีใครใช้กัน เลยคิดว่าน่าจะมาตกลงกันก่อนครับว่าอย่างไรดี (พูดกันต่อด้านล่าง)

==ชื่อเรียก==
แนะนำให้ใช้ ''[[ตัวเอน]]'' สำหรับชื่อเรียกของ เพื่อแยกส่วนเนื้อหาบทความกับชื่อเรียกนั้น 
* เช่น ในปี พ.ศ. 2534 ''[[วินนิงอีเลฟเวน]]''ได้เริ่มวางจำหน่าย โดยในปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 9

* เกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกม
* ขบวนรถไฟโดยสารที่มีชื่อเฉพาะ
* คดีในศาลยุติธรรม
* คำประพันธ์หรือร้อยกรองขนาดยาว/มหากาพย์
* งานประพันธ์ดนตรีสำหรับวงดุริยางค์
* ชิ้นงานทัศนศิลป์
* บทละคร
* ภาพยนตร์
* ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์
* ยานอวกาศ
* เรือ
* หนังสือ
* หนังสือรายคาบ (หนังสือพิมพ์ วารสาร และนิตยสาร)
* อัลบัมดนตรี

ตัวเอนจะใช้กับชื่องานขนาดยาว หากเป็นงานขนาดสั้น ควรล้อมชื่อเรียกด้วยเครื่องหมาย[[อัญประกาศ]]คู่ ("...") แทน งานขนาดสั้นได้แก่:-
* คำประพันธ์หรือร้อยกรองขนาดสั้น
* ตอนของภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์
* บทความ ความเรียง หรือบทความวิชาการ
* บทหรือองก์ของงานขนาดยาว
* ประติมากรรม
* เพลง
* เรื่องสั้น

มีบางกรณีที่ชื่อเรียกไม่ควรใช้ทั้งตัวเอนหรืออัญประกาศ ชื่อเรียกเหล่านี้มักจะเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว ได้แก่:-
* คัมภีร์ทางศาสนา
* รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
* รูปเคารพทางศาสนา
ก่อนหน้านี้มีคุยกันไว้รอบนึงแล้วที่สภากาแฟ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (โครงการวิกิพีเดีย)/กรุ 4#เปลี่ยนตัวเอียงให้เป็นตัวตรง แต่ไม่ได้ข้อสรุปเท่าไร --Manop | พูดคุย 06:29, 9 ตุลาคม 2007 (ICT)
โดยก่อนหน้านี้ติดปัญหาอย่างเดียวคือ "อ่านยาก" เห็นว่ายังไม่มีความเห็นเพิ่มเติม แต่น่าจะมาตกลงกันท่าทางจะดีครับว่าจะใช้ตัวเอนหรือตัวปกติ จะได้ใช้รูปแบบเดียวกันหมดครับ --Manop | พูดคุย 06:54, 27 ธันวาคม 2007 (ICT)
พยายามใช้ตามนั้นอยู่ครับ สังเกตตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ เพิ่งทราบว่ามีระบุในคู่มือการเขียนด้วย ขอถามเพิ่มว่า ถ้าในบทความมีชื่อเฉพาะซ้ำหลายครั้ง จำเป็นต้องทำตัวเอนทุกครั้งเลยหรือ หรือเพียงแค่ครั้งสองครั้งที่มีใจความสำคัญก็พอ - ('-' )( '-' )( '-') - 08:04, 27 ธันวาคม 2007 (ICT)
อย่างในวิกิพีเดียอังกฤษ (หรือพวกหนังสือทั่วไปนอกเหนือวิกิพีเดีย) ใช้ตัวเอนตลอดนะครับไม่ว่าจะปรากฏกี่ครั้งก็ตามครับ เพื่อไว้ใช้แยกให้โดดเด่นออกจากส่วนเนื้อหา --Manop | พูดคุย 10:07, 27 ธันวาคม 2007 (ICT)

ตัวเอนนี่เป็นมาตรฐานของภาษาอังกฤษที่ใช้กันโดยทั่วไปอยู่แล้วในการพิมพ์หนังสือและเอกสารต่าง ๆ แต่สำหรับภาษาไทยมีปัญหาเรื่องฟอนต์เอนแล้วอ่านยาก โดยส่วนตัวผมจึงไม่เห็นด้วยที่จะใช้ตัวเอน และภาษาเอเชียหลายภาษาก็ไม่นิยมใช้ตัวเอนด้วยเหตุผลเดียวกันครับ --PaePae | พูดคุย 15:10, 28 ธันวาคม 2550 (ICT)

สำหรับภาษาไทย ใช้ตัวอักษรธรรมดาก็น่าจะพอครับ ฟอนต์ภาษาไทยตัวเอียงไม่ค่อยเห็นมีใช้กันสักเท่าไหร่ --Lerdsuwa 21:58, 29 ธันวาคม 2550 (ICT)

เครื่องหมายวรรคตอน

ดู คุยเรื่องวิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน/เครื่องหมายวรรคตอน

ไม้ยมก (ๆ)

ดู คุยเรื่องวิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน/ไม้ยมก

ตามราชบัณฑิตยสถาน

หลักการเขียนภาษาไทยของราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้เขียนเว้นวรรคทั้งก่อนหน้าและตามหลัง แต่ผู้ใช้ภาษาไทยจำนวนมากมีทั้งใช้เว้นวรรคและไม่เว้นวรรคก่อนหน้าไม้ยมก โดยผู้ใช้ทั้งสองกลุ่มนี้มีปริมาณที่มากอย่างมีนัยสำคัญ. อีกทั้งปัจจุบันยังไม่มีปรากฏให้เห็นชัดเจนถึงข้อดีข้อเสียของการเขียนไม้ยมกในแต่ละแบบ วิกิพีเดียจึงยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเว้นวรรคกับไม้ยมก ว่าจะเว้นวรรคก่อนหน้าและ/หรือตามหลัง ทำให้ในขณะนี้ ไม่ว่า "สรุปเร็วๆนะ" "สรุปเร็วๆ นะ" หรือ "สรุปเร็ว ๆ นะ" ก็ใช้ได้เหมือนกัน - ควรหลีกเลี่ยงการแก้ไขการเว้นวรรคเหล่านี้โดยเฉพาะเจาะจง

ดูเพิ่มที่ ไม้ยมกและการใช้งาน และ บทพูดคุยเกี่ยวกับการใช้ไม้ยมกในวิกิพีเดีย --Ans 03:20, 22 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

ที่จริงแล้วเราน่าจะฟันธงไปเลยว่าให้ใช้แบบใด ผมสนับสนุนให้มีเว้นวรรคหน้าหลัง ตามหลักการเขียนทางการ --octahedron80 13:08, 15 ธันวาคม 2553 (ICT)

draft (-)

(ส่วนนี้เอาไว้สำหรับทดลองร่างแนวทางในรูปแบบและภาษาที่สามารถนำไปใส่ในหน้าบทความหลักได้ทันที -- สำหรับการพูดคุยให้ทำในส่วนอื่น)


มหัพภาค (.)

  • ภาษาไทย (ทั้งที่อิงตามหลักภาษาไทยของราชบัณฑิตยสถานและอิงตามผู้ใช้ภาษาไทยส่วนใหญ่) ไม่ใช้เครื่องหมาย มหัพภาค (จุด " . ") ที่ท้ายประโยค เช่นเดียวกันเครื่องหมายปรัศนี หรือเครื่องหมายคำถาม (?)
  • ข้อยกเว้น อาจใช้มหัพภาคได้ เมื่อการเว้นวรรคตอนเพียงอย่างเดียว อาจทำให้เกิดความสับสนระหว่างประโยค

--Ans 03:20, 22 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

กรณีหลังแทบไม่พบใครใช้เลย แต่มหัพภาคมีใช้มากและบ่อยในบรรณานุกรม คุณอาจจะมองข้ามไป --octahedron80 13:16, 15 ธันวาคม 2553 (ICT)

เกณฑ์การพิจารณาเลือกรูปแบบในการเขียน

ย้ายไปร่างหลักเกณฑ์ที่ วิกิพีเดีย:เกณฑ์การพิจารณาเลือกรูปแบบในการเขียน/ฉบับร่าง --Ans 13:53, 17 กรกฎาคม 2007 (UTC)

เกณฑ์นี้คำนึงถึงประโยชน์และจุดประสงค์ของการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นหลัก. เรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย.

  1. การสื่อสารที่เป็นประโยชน์ และ มีประสิทธิภาพ.
  2. ปริมาณผู้ใช้รูปแบบนั้นที่มากอย่างมีนัยสำคัญ. เกณฑ์นี้จะไม่ใช่การเปรียบเทียบว่าผู้ใช้รูปแบบไหนมากกว่าก็จะเลือกรูปแบบนั้น. ถ้ารูปแบบใดก็ตามมีผู้ใช้ซัก 20-30 % ขึ้นไป ก็ถือว่ารูปแบบในกลุ่มนั้นมีความสำคัญเสมอกัน.
  3. ถูกต้องตามหลักมาตรฐานกลาง ที่ได้รับการยอมรับ.

การพิจารณา เช่นว่า มี รูปแบบ A และ B, ถ้ารูปแบบ A มีคุณสมบัติข้อ 1 มากกว่ารูปแบบ B, ก็จะพิจารณาเลือกรูปแบบ A, โดยไม่ต้องพิจารณาคุณสมบัติข้อ 2 และ 3 อีก. ถ้ามีคุณสมบัติข้อ 1 พอๆ กัน, หรือทั้งคู่ไม่มีคุณสมบัติข้อ 1 เลย, ก็ให้พิจารณาคุณสมบัติข้อต่อๆ ไป ตามลำดับ. --Ans 03:44, 22 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)


  • ข้อดีของ การสื่อสารที่เป็นประโยชน์ และ มีประสิทธิภาพ
    • ...
  • ข้อดีของ ปริมาณผู้ใช้รูปแบบนั้นที่มากอย่างมีนัยสำคัญ
    • ผู้ใช้ไม่ต้องปรับตัว
  • ข้อดีของ ถูกต้องตามหลักมาตรฐานกลาง ที่ได้รับการยอมรับ
    • ...

ทศวรรษ

ผมกำลังสงสัยว่า ถ้าในบทความภาษาอังกฤษเขาเขียนว่า "1980s" แล้ว จะแปลเป็นไทยว่า

  • คริสต์ทศวรรษ 1980 หรือว่า
  • คริสต์ทศวรรษ 198

ถึงจะถูกต้องหรือครับ เพราะคำว่า"ทศ"มันก็น่าจะเป็นตัวคูณ 10 อยู่แล้ว เช่นเดียวกับศตวรรษ ก็ถือว่าเป็นตัวคูณ 100 เช่น ศตวรรษ x ก็คือปี 100x ดังนั้น ถ้าเขียนว่าคริสต์ทศวรรษ 1980 ตามที่หน้าแรกบอก มันจะไม่หมายถึง ค.ศ. 19800 หรือครับ--Kie 05:40, 10 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

เห็นใช้ คริสต์ทศวรรษ 1980 กันนะครับ, ความจริงน่าจะเป็น ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 อย่างนี้จะตรงกว่า แต่ก็ไม่มีคนใช้, "คริสต์ทศวรรษ" ไม่ใช่ "คริสต์ทศวรรษที่" ก็เลยไม่ต้องคูณ 10 ครับ --ธวัชชัย 09:20, 27 ธันวาคม 2007 (ICT)

การใส่ตำแหน่งนำหน้าชื่อบุคคล

การใส่ตำแหน่งนำหน้าชื่อบุคคลเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่ครับ เห็นว่านายทหารหรือนายตำรวจต่างประเทศไม่เห็นจะต้องใส่คำนำหน้าชื่อบุคคลทุกครั้งไป (ซึ่งจะยาวเยิ่นเย้อเสียเปล่า ๆ) บางทีกล่าวถึงเพียงครั้งเดียวตรงหัวบทความก็น่าจะใช้ได้แล้ว --Horus | พูดคุย 09:26, 12 ธันวาคม 2553 (ICT)

แล้วแต่สไตล์ครับ เรามักจะเรียกฝรั่งตามนามสกุลจึงไม่มียศ แต่ชาวไทยเรียกด้วยชื่อจึงมีอาจยศติดมาด้วยความเคยชิน ได้ยินมาว่าบางประเทศเรียกด้วยยศอย่างเดียว (ไม่ทราบแท้จริงอย่างไร) อย่างไรก็ตาม ชื่อบทความนั้นไม่ต้องมียศ เท่านั้นก็พอแล้ว --octahedron80 11:21, 12 ธันวาคม 2553 (ICT)


เพื่อความชัดเจน ขอเริ่ม 3 ประเด็นนี้ก่อน โดยไม่กล่าวถึงว่าควรหรือไม่ควร

  1. คุณ Horus หมายถึงการกล่าวถึงในบทความใช่ไหมครับ ไม่ใช่ชื่อบทความ ปัจจุบันในชื่อบทความยอมให้เพียง ฐานันดรศักดิ์/สมณศักดิ์/ม.ร.ว.+ม.ล./ชื่อที่นิยมเรียกขานในวงการ เท่านั้น ยศหรือคำนำหน้าเพื่อให้เกียรติอย่างอื่นให้งดเว้นเสียทั้งสิ้น (ดูเพิ่มที่ หลักการตั้งชื่อ)
  2. สำหรับในบทความ พวกมียศศักดิ์ หรือผู้ที่สังคมคิดว่าควรน่าเคารพนับถือ อาจใช้สรรพนามว่า "ท่าน" แทนชื่อ (หรือชื่อ+คำนำหน้าทั้งหลาย) ถ้าจะอภิปรายก็ควรนำประเด็นนี้รวมเข้าไปด้วย เพราะ สรรพนาม/การเรียกชื่อในบทความ มีหลายแบบ ถ้าจะจัดการก็จัดให้เสร็จไปในคราวเดียว ลองดูตัวอย่างนี้เป็นต้น สมมติชื่อบุคคลว่า วิกิพีเดียไทย คุณคิดว่าข้อความต่อไปนี้ยอมรับได้หรือไม่ได้อย่างไร ยอมรับได้เพียงแบบเดียว หรือยอมรับได้มากกว่า 1 รูปแบบ (บทความที่สละสลวยบางทีจะนิยมใช้การหลากคำ เช่น ผมเห็นว่า ควรให้ใช้ทั้งศาสนาพุทธและพุทธศาสนาได้ในเนื้อหาของบทความ แต่ชื่อบทความให้ใช้ตามมาตรฐานแต่เพียงอย่างเดียวคือศาสนาพุทธ)
    1. นาย วิกิพีเดียไทย เป็นผู้มีความรอบรู้ทางวิชาการ มีผลงานตีพิมพ์ ถูกอ้างอิงในฐานข้อมูล ISI ถึง 100 รายการ[ต้องการอ้างอิง]
    2. อาจารย์ วิกิพีเดียไทย เป็นผู้มีความรอบรู้ทางวิชาการ มีผลงานตีพิมพ์ ถูกอ้างอิงในฐานข้อมูล ISI ถึง 100 รายการ[ต้องการอ้างอิง]
    3. จอมพล วิกิพีเดียไทย เเป็นผู้มีความรอบรู้ทางวิชาการ มีผลงานตีพิมพ์ ถูกอ้างอิงในฐานข้อมูล ISI ถึง 100 รายการ[ต้องการอ้างอิง]
    4. ท่านผู้หญิง วิกิพีเดียไทย เป็นผู้มีความรอบรู้ทางวิชาการ มีผลงานตีพิมพ์ ถูกอ้างอิงในฐานข้อมูล ISI ถึง 100 รายการ[ต้องการอ้างอิง]
    5. พระคาร์ดินัล วิกิพีเดียไทย เป็นผู้มีความรอบรู้ทางวิชาการ มีผลงานตีพิมพ์ ถูกอ้างอิงในฐานข้อมูล ISI ถึง 100 รายการ[ต้องการอ้างอิง]
    6. มิสเตอร์ วิกิพีเดียไทย เป็นผู้มีความรอบรู้ทางวิชาการ มีผลงานตีพิมพ์ ถูกอ้างอิงในฐานข้อมูล ISI ถึง 100 รายการ[ต้องการอ้างอิง]
    7. เลดี้ วิกิพีเดียไทย เป็นผู้มีความรอบรู้ทางวิชาการ มีผลงานตีพิมพ์ ถูกอ้างอิงในฐานข้อมูล ISI ถึง 100 รายการ[ต้องการอ้างอิง]
    8. สมเด็จพระ วิกิพีเดียไทย ทรงเป็นผู้มีความรอบรู้ทางวิชาการ ทรงมีผลงานตีพิมพ์ ถูกอ้างอิงในฐานข้อมูล ISI ถึง 100 รายการ[ต้องการอ้างอิง]
    9. ฯพณฯ วิกิพีเดียไทย เป็นผู้มีความรอบรู้ทางวิชาการ มีผลงานตีพิมพ์ ถูกอ้างอิงในฐานข้อมูล ISI ถึง 100 รายการ[ต้องการอ้างอิง]
    10. อธิบดี/รัฐมนตรี/นายก วิกิพีเดียไทย เป็นผู้มีความรอบรู้ทางวิชาการ มีผลงานตีพิมพ์ ถูกอ้างอิงในฐานข้อมูล ISI ถึง 100 รายการ[ต้องการอ้างอิง]
    11. ท่าน วิกิพีเดียไทย เป็นผู้มีความรอบรู้ทางวิชาการ มีผลงานตีพิมพ์ ถูกอ้างอิงในฐานข้อมูล ISI ถึง 100 รายการ[ต้องการอ้างอิง] (ท่านในที่นี้ทำหน้าที่เป็นคำนำหน้านาม เพื่อให้เกียรติ)
    12. ท่าน เป็นผู้มีความรอบรู้ทางวิชาการ มีผลงานตีพิมพ์ ถูกอ้างอิงในฐานข้อมูล ISI ถึง 100 รายการ[ต้องการอ้างอิง] (ท่านในที่นี้เป็นสรรพนาม)
  3. ถ้าเห็นด้วยว่าจะต้องศึกษาประเด็นดังกล่าวและอภิปรายกันให้ลุล่วง ใครจะช่วยหาข้อมูลจากวิกิพีเดียภาษาอื่น (ที่ไม่ใช่ไทยและอังกฤษ) เช่น ญี่ปุ่นและจีน มาประกอบกันได้ไหมครับ ญี่ปุ่น เป็นสังคมตะวันออกเช่นเดียวกับไทย มีระบบการเรียกชื่อเพื่อให้เกียรติเช่นเดียวกัน ถ้าลองดูของเขาน่าจะเป็นมาตรฐานที่ดีได้ (วิกิพีเดียภาษาญี่ปุ่นอยู่ในระดับดีเทียบเท่าหรือเกือบเท่าภาษาอังกฤษ) ส่วนภาษาจีนนั้น อันดับด้อยกว่าภาษาญี่ปุ่นแต่ระบบสังคมก็คล้ายกับไทยเราเช่นกัน (ดู ranking ที่ http://wikistics.falsikon.de/latest/) ขั้นแรกคือต้องขอความกรุณาท่านที่อ่านออกเข้าไปค้นมาอ่านดู ถ้าไม่ได้จริงๆ คงไปทิ้งช้อความใน guest book หรือไปถามความเอาจากคนที่รู้จักในนั้นได้ - ไม่ทราบว่าเห็นด้วยและอยากรับฟังความคิดเห็นตรงนี้ไหม ถ้าต้องการก็จะพยายามจัดหาสืบค้นกันมาต่อไป ถ้ามีธงอยู่ในหัวใจไม่เปิดรับความคิดใหม่ๆ ในกรณีนี้ ก็บอกได้ จะไม่ต้องหา ไม่ต้องเสียเวลาอภิปราย

--taweethaも 18:51, 12 ธันวาคม 2553 (ICT)

ยินดีที่คุณร่วมอภิปรายนะครับ รู้สึกว่าตัวเองยังมองปัญหาไม่ทั่วเลย ไม่พูดถึงชื่อบทความนะครับ สำหรับในเนื้อหาบทความ น่าจะมีหลักเกณฑ์ที่ใช้กำหนดว่าควรใช้คำนำหน้าใดด้วย (จะได้เป็นมาตรฐาน) ผมเห็นว่าไม่น่าจะใช้คำนำหน้าชื่อใดในบทความเลย ยกเว้นที่อนุญาตให้คงไว้ในชื่อบทความ (เหมือนกับลอกชื่อบทความมาใช้ในบทความด้วย) ทั้งนี้ อาจดูวิกิพีเดียต่างประเทศประกอบด้วยเช่นกันครับ สำหรับสรรพนามที่ใช้อาจใช้ว่า "เขา" "เธอ" เป็นหลัก ส่วน "ท่าน" น่าจะมีกำหนดนิดหน่อยว่าควรจะใช้กับใครหรือกลุ่มใดครับ --Horus | พูดคุย 19:19, 12 ธันวาคม 2553 (ICT)

งั้นก็แสดงว่าเข้าใจตรงกัน โดยส่วนตัวเห็นว่าควรจัดระเบียบ แต่ไม่คิดว่าจำเป็นเร่งด่วน ลองฟังดูว่ามีผู้อื่นมีความเห็นอย่างไร สนใจจะร่่วมจัดระเบียบหรือไม่ ถ้ามีผู้เห็นดีเห็นงามด้วยก็ดำเนินการต่อไปได้เลยครับ
ปล. สรรพนามยังมีอีกมากหลาย นอกจาก ท่าน เขา เธอ ยังมี มัน (ยังไม่เห็นมีใช้ในบทความบุคคล) น้อง (มักใช้กับนักกีฬาหรือนักแสดงเด็ก) พระองค์ พระองค์ท่าน บ้างก็ใช้ยศหรือคำนำหน้าชื่อนั้นแทนสรรพนามเสียก็มี เช่น ใช้ว่า ท่านจอมพล/จอมพล/อาจารย์/พระคาร์ดินัล/ท่านผู้หญิงเป็นผู้มีหูต่ำกว่าตาเป็นที่แปลกประหลาดกว่าคนทั่วไป[ต้องการอ้างอิง]
อย่างไรก็ดี ในเรื่องนี้หากไม่มีใครเห็นดีเห็นงามดำเนินการต่ออย่างไร ก็คงตกเป็นพับไปใน 14 วัน
--taweethaも 21:28, 12 ธันวาคม 2553 (ICT)

ถ้าไม่มีความเห็นแย้ง ผมก็ถือว่าหักดิบเป็นแนวปฏิบัติเลยก็แล้วกันครับ ถือว่า "ไม่เถียง = ไม่แย้ง" --Horus | พูดคุย 20:27, 14 ธันวาคม 2553 (ICT)

ไม่มีปัญหาสำหรับการใช้ชื่อบทความเป็นมาตรฐานการกล่าวซ้ำถึงตัวบุคคลในบทความ เว้นแต่บรรทัดแรก หรือ ตรงที่ต้องใส่เกียรติยศ ศักดินา บรรดาศักดิ์ให้เต็ม ก็ต้องใส่ให้ครบตามข้อมูลที่ควรมี นอกนั้นถ้ากล่าวถึงก็ใช้ชื่อเช่นเดียวกับชื่อบทความได้ ผมขอลงนาม "ไม่เถียง" ด้วยอีกหนึ่งคน แต่ว่า สรรพนาม ท่าน เขา น้อง ฯลฯ อันนี้ยังไม่มีข้อตกลง/ยังไม่มีข้อสรุป --taweethaも 11:01, 15 ธันวาคม 2553 (ICT)

คำสรรพนามให้กำหนดตายตัวคงไม่ได้ มันเป็นความหลากหลายของภาษา เพราะปกติในชีวิตประจำวันก็ใช้หลากหลายเช่นกัน ไม่มีหลักเกณฑ์ ส่วนหนึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับสถานภาพของผู้เขียนด้วย --octahedron80 11:10, 15 ธันวาคม 2553 (ICT)

ถ้าเช่นนั้น ผลของการอภิปรายนี้อาจไม่เป็นดังที่คุณ Horus ต้องการ เพราะเดิมในบทความที่เรียก (X=วิกิพีเดีย) อาจารย์วิกิพีเดีย จอมพลวิกิพีเดีย ฯลฯ เมื่อแก้ไขตามหลักการนี้ ผลที่ได้อาจจะเป็นการเรียก อาจารย์ หรือ ท่านจอมพล แทนที่จะนำ อาจารย์ กับ นายพล ออกไปเพื่อให้เรียกว่า "วิกิพีเดีย" เท่านั้นตามชื่อบทความ --taweethaも 11:18, 15 ธันวาคม 2553 (ICT)
คำสรรพนามที่พูดถึง ไม่รวมถึงคำนำหน้าชื่อครับ การใช้คำสรรพนามก็สั้นดีถ้าพูดถึงคนเดียว แต่อาจกำกวมหากมีหลายคน เมื่อใช้คำสรรพนามแล้วก็ต้องไม่ใส่ชื่อ (เดี๋ยวจะสับสนไปใหญ่) ถ้าไม่ใช้คำสรรพนาม ก็ต้องใช้ชื่อและ/หรือนามสกุลแทน ใช้สลับกันไปในบริบท (ใช้อย่างเดียวไปเลยก็ไม่ได้) ส่วนการใส่ชื่อยศและบรรดาศักดิ์เต็มในเนื้อความอาจทำได้เมื่อต้องการชี้ให้เห็นประเด็นบางอย่าง เช่นการเปลี่ยนแปลงยศ สถานภาพที่เปลี่ยนไป เป็นเรื่องปกติธรรมดา ผมคิดว่าคงไม่ตกภาษาไทยกัน --octahedron80 12:37, 15 ธันวาคม 2553 (ICT)
ถ้าต้องการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงยศและสถานภาพคิดว่าคงเป็นการเหมาะสมที่จะกล่าวถึงเช่นกัน แต่จะอาจจะเลี่ยงไปเรียบเรียงอย่างอื่นแทน เช่น "แปลก พิบูลสงครามสมัยมียศเป็นพลตรี" ก็ว่ากันไป --Horus | พูดคุย 19:45, 15 ธันวาคม 2553 (ICT)

สรุปใหม่อีกรอบ การกล่าวถึงบุคคลในบทความมี 3 แบบ

  1. กล่าวถึงชื่อบุคคลนั้น - คุณ Horus เสนอว่า ให้ใช้ตามชื่อบทความ จะมีอะไรอยู่หน้าชื่อก็ใช้ตามหลักการตั้งชื่อบทความเลย ไม่ขาด ไม่เกิน - ยังไม่มีผู้ใดคัดค้าน
  2. สรรพนาม เขา เธอ น้อง ท่าน ฯลฯ - ยังไม่มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม
  3. คำที่ไม่ใช่สรรพนาม - คำนำหน้าชื่อ ที่ถูกนำมาเรียกใช้แทนบุคคล ทำให้มีหน้าที่คล้ายสรรพนาม - อาจารย์ ท่านจอมพล ภราดา - ยังไม่มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม

ถ้าจะปฏิรูปข้อ 1 เพียงอย่างเดียว เห็นว่าคงจะได้ข้อสรุปง่ายในเร็ววัน อย่างไรก็ดีหากข้อเสนอของคุณ Horus เป็นที่ยอมรับแล้ว จะทำให้ข้อ 2 และ ข้อ 3 กลับมาเป็นปัญหา ถ้าผู้เขียนบทความเห็นว่าการกล่าวถึงบุคคลนั้นแบบที่ตั้งชื่อบทความดูไม่เหมาะสม ผู้เขียนบทความย่อมเลี่ยงไปใช้สรรพนาม หรือ คำนำหน้าชื่อที่ยอมรับใช้แทนสรรพนามได้ ซึ่งอาจไม่ต้องตามจุดประสงค์เบื้องต้นของสิ่งที่คุณ Horus เสนอมาแต่แรก --taweethaも 10:27, 16 ธันวาคม 2553 (ICT)

ขอบคุณที่ช่วยออกหน้าแทนนะครับ ขอหมายเหตุเพิ่มอีกนิดหนึ่งว่าอาจอนุโลมให้ใช้คำนำหน้าชื่อได้ในการกล่าวถึงครั้งแรกในหน้าบทความอื่น เช่น รายนามนายกรัฐมนตรีไทย ทำนองนี้ครับ แต่จะต้องไม่ใช่บทความของบุคคลนั้น ๆ เอง --Horus | พูดคุย 18:36, 16 ธันวาคม 2553 (ICT)

ความคิดเห็น

  • น่าจะมีรูปประกอบคำอธิบายจะเข้าใจง่ายและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
  • อยากให้ช่วยรวบรวม link หัวข้อที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย (ผู้เริ่มศึกษา)
กลับไปที่หน้าโครงการ "คู่มือในการเขียน/กรุ 1"