คุยเรื่องวิกิพีเดีย:การอนุญาโตตุลาการ/นายทะเบียน

ปัญหาที่พบ แก้

@V(g): อยากแจ้งและขอปรึกษาปัญหาที่พบดังนี้ครับ

  1. ทั้งคดีนี้และคดีที่แล้ว เหมือนจะมีการข้ามขั้นตอนไปหลายอย่าง เช่น ไม่แสดงหลักฐานความพยายามระงับข้อพิพาทในขั้นต้นก่อน (คดีที่แล้วก็เป็นอย่างนี้ แต่ผมเป็นคู่กรณีเลยไม่อยากแสดงความเห็นในฐานะนายทะเบียน)
  2. ในคดีนี้ คุณ octahedron80 นำส่วน "เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง" มา ซึ่งส่วนนี้ควรเป็น "หลักฐาน" หลังคดีเปิดแล้วมากกว่า และตุลาการไม่ควรนำเสนอ หากเป็นผู้พิจารณาคดี
  3. ตุลาการยังเข้าใจผิดว่าตนเป็นเพียงผู้ไกล่เกลี่ย แต่จริง ๆ แล้วเป็นผู้วินิจฉัยโดยมีผลผูกพันกับคู่กรณี
  4. เฉพาะคดีล่าสุด คุณ octahedron80 ยังไม่ได้ตอบเลยว่าจะพิจารณาประเด็นนี้หรือไม่

ขอฝากด้วยครับ --Horus | พูดคุย 22:54, 25 ตุลาคม 2557 (ICT)

ตอนที่ร่างเรื่อง คอต. มา ประชาคม (และผมเองด้วย) ก็ตั้งใจจะให้ คอต. เป็น final appeal (ชั้นสูงสุด) ดังนี้จึงต้องอนุมานได้ว่ามีความพยายามพูดคุยแล้วแต่ไม่ได้ผล ในคดีแรกกับคุณน้ำเชี่ยวผมยอมรับว่าตกตรงนี้ไป แต่ในคดีนี้น่าจะเป็นเรื่องของ circumstantial evidence ซะมากกว่าว่ามีความพยายามพูดคุย (อาจน้อย) อย่างไรก็ดีถ้าขยายขอบเขตเป็นการกล่าวโทษที่ตัวผู้ใช้ ไม่ใช่แค่ตัวเคสนี้ ก็จะพบว่าก่อนหน้านี้มีความพยายามพูดคุยกับประชาคมโดยผู้ใช้อื่น (รวมทั้งผมเองในชื่อเก่าด้วย) แต่ก็ไม่เป็นผล จึงทำให้เชื่อได้ว่าที่คุณออกตานำ relevant cases มาใส่ไว้ด้วยก็น่าจะเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งว่ามันเคยมีเรื่องแบบนี้แต่เรื่องเป็น moot ไป และคุณออกตาต้องการขยายขอบเขตเรื่องนี้ไปให้รวมผู้ใช้อื่นด้วย (แต่ผมเห็นด้วยว่าตุลาการไม่ควรจะนำขึ้นมายันเองในชั้นนี้)
อย่างไรก็ดีผมเข้าใจ concern ที่คุณ B20180 พูดมาว่าต้องการจะให้ไกล่เกลี่ย เพราะการออก binding decision มาเลยแบบแข็ง ๆ ไม่เปิดโอกาสให้แย้งจะก่อให้เกิด negative reception กับคนที่ถูกกล่าวหา แต่ผมเองก็เห็นว่า คอต. ต้องออก binding decision ที่ผูกพัน ดังนั้นก็อาจเป็นไปได้ว่าในคดีนี้ คอต. ต้องการหาทางออก decision ที่ผูกพันแต่ compromise กับทั้งสองฝ่ายมากที่สุด ถึงได้เลือกใช้วิธีนั้น อันนี้ผมเห็นว่าอยากให้เป็นดุลยพินิจของ คอต. ที่จะพิจารณาไกล่เกลี่ยแล้วออกข้อกำหนดตามยอม หรือถ้าไม่เช่นนั้นก็พิจารณาไปด้วยและให้เจรจาไปด้วยเลย
ส่วนเรื่องการไม่ได้แจ้งตอนฟ้องนั้น ผมเข้าใจว่านายทะเบียนหรือ คอต. น่าจะ ping ให้คู่กรณีมาแถลงสู้คดีได้หลังจากประเด็นเรื่อง jurisdiction เปิด เพราะถ้า คอต. ปัดคดีนี้โดยอาศัยหลัก forum non conveniens ตั้งแต่แรก (คือเห็นว่ามีการลัดขั้นตอนมาหรืออะไรทำนองนี้) คู่กรณีอีกฝ่ายก็ไม่ต้องมาแถลงอะไรอีก แต่ในกรณีนี้ คอต. รับไว้ แสดงว่าเห็นว่าอยู่ในข่ายที่จะรับได้ (อาจพิจารณาจากว่าคดีนี้มี repeated offence) การขอให้ผู้ถูกกล่าวหามาแถลงแก้ในชั้นนี้ไม่น่าจะมีปัญหาใด ๆ
อย่างไรก็ดี จากทั้งหมดของผม ผมเห็นตามนี้ครับคุณ @Horus:
  1. แม้ในคดีนี้จะมี implied evidence ว่ามีความพยายามระงับแล้ว (related incident อาจใช้อ้างเป็นความพยายามได้บ้าง แต่ไม่ใช่ คอต. เป็นผู้อ้าง) แต่ในกรณีต่อไปต้องขอให้คู่กรณีแสดงความพยายามระงับเช่นว่า เว้นเสียแต่ว่านายทะเบียนจะ note ไว้ว่ามีความพยายามระงับเอง มิเช่นนั้นให้แจ้งคู่กรณีว่าเรื่องนี้เป็น forum non conveniens ยังไม่เหมาะต่อการขึ้นมาเป็น final appeal ให้พูดคุยกันให้เสร็จเรียบร้อยก่อน
  2. ตุลาการต้องออก binding decision แต่มีสิทธิในการเลือกวิธีพิจารณา ถ้าสมมุติว่าในชั้นรับคดีไม่ได้ปัดเรื่อง forum non conveniens ไป ตุลาการก็ยังต้องพิจารณาตามหลักฐานที่มีแต่อาจให้คู่กรณีไกล่เกลี่ยเป็น parallel ไปด้วย หากมีข้อพิจารณาอย่างไร คอต. ย่อมมีสิทธิในชั้นที่สุดที่จะออก injunction ของตนเองหรือจะตัดสินตามที่ไกล่เกลี่ยก็แล้วแต่สมควร --V(g) (พูดคุย) 23:30, 25 ตุลาคม 2557 (ICT)
  1. เรื่องหลักฐานนี้เข้าใจแล้วครับ
  2. เรื่องแจ้งให้คู่กรณีทราบและแสดงหลักฐานว่ามีความพยายามระงับข้อพิพาทในขั้นตอนอื่นแล้ว มันต้องเป็นธุระของผู้ร้องที่ต้องแจ้งคู่กรณีให้ทราบ (คดีที่แล้ว เขาก็แจ้งผมมา) แล้วนายทะเบียนก็มีหน้าที่ต้องไปตามว่าคู่กรณีรับทราบครบทุกคนแล้วหรือยัง คือ มันเป็นกระบวนพิจารณาที่เรื่องพวกนี้ต้องทำให้เสร็จก่อน แล้วจึงค่อยเปิดเป็นหน้าคดีน่ะครับ อันที่จริง วิกิพีเดียภาษาอังกฤษให้เฉพาะนายทะเบียนหรือตุลาการยื่นคำร้องด้วยซ้ำ แสดงว่าเขาน่าจะแจ้งนายทะเบียนหรือตุลาการไว้ก่อน น่าจะในหน้าอภิปรายที่ไหนสักหน้า พอครบเกณฑ์แล้วจึงค่อยย้ายมาลงหน้าคำร้อง ทำนองนี้ครับ
  3. เรื่องไกล่เกลี่ย ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าให้ตุลาการไกล่เกลี่ยครับ เพราะโดยจารีตประเพณีของวิกิพีเดียภาษาไทย ผู้ดูแลระบบรับหน้าระงับเหตุการณ์ทำนองนี้อยู่บ่อยครั้งแล้ว ถ้าจะไกล่เกลี่ย คู่กรณีคงฝากผู้ดูแลระบบไปบ้างแล้วแหละครับ เพราะฉะนั้น การที่ตุลาการยังต้องมาไกล่เกลี่ยนี่ไม่สมควรแล้วครับ ผิดวัตถุประสงค์ของการมี คอต. --Horus | พูดคุย 23:48, 25 ตุลาคม 2557 (ICT)
@Horus: ในคดีนี้ดูเหมือนว่าคู่กรณีจะ disregard เรื่องการแจ้งไปแล้วน่ะสิครับ แล้วทีนี้คือ คอต. ก็รับคดีไปแล้วด้วย related incident และการปะทะคารมมิได้เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าได้มีการแจ้งว่าจะขึ้น final appeal มาแล้ว ในรอบหน้าต้องมีหลักฐานแล้วล่ะครับ แต่ในรอบนี้ผมจะเป็นฝ่ายแจ้งไปก่อนคุณฮอรัสจะเปิดคดีแม้ว่า คอต. จะรับแล้วก็ตาม เพราะแม้ว่า related incident อาจยันได้ แต่การแจ้งมันยันไม่ได้เพราะไม่มี ส่วนเรื่องไกล่เกลี่ยผมเองก็ไม่เห็นด้วยในชั้นนี้ครับ เพราะชั้นอื่นก็มีมาเยอะแล้ว อันนี้อาจต้องขอทำความเข้าใจกับ คอต. ว่า ในชั้นนี้มันไม่อยู่ในวิสัยจะไกล่เกลี่ยได้แล้ว --V(g) (พูดคุย) 00:02, 26 ตุลาคม 2557 (ICT)
ถ้าอย่างนั้น หลังจบคดีนี้คงต้องพูดคุยกันเรื่อง กระบวนพิจารณาตุลาการและกระบวนพิจารณานายทะเบียน แล้วล่ะครับ ส่วนคดีนี้ ผมว่ารอฟังความเห็นของคุณ octahedron80 ก่อนครับ น่าจะยังไม่ได้ออกความเห็นเลย --Horus | พูดคุย 00:12, 26 ตุลาคม 2557 (ICT)
ผมตีความคำว่า "...จึงขอให้นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาครับ" ว่าเป็นการที่คุณออกตา press charge และจะพิจารณาแล้วครับ แต่มันอาจไม่ explicit พอ จะขอ clarify ก็ได้ครับ --V(g) (พูดคุย) 00:21, 26 ตุลาคม 2557 (ICT)

Noticeboard และ Archive แก้

@Horus: ผมเคยมีความคิดว่าหน้ากระดานประกาศกับดัชนีถาวรมีความใกล้เคียงกัน และด้วยขนาดของ case ที่มีไม่มากเท่า enWP (enWP มีเคสเยอะและต้องใช้ archived proceeding เก็บเคสเก่า ส่วน noticeboard ไว้เก็บเรื่องที่กำลังพิจารณา) จึงอยากเสนอให้ยุบหน้าใดหน้าหนึ่งทิ้งครับ เป็นต้นว่ายุบ Noticeboard แล้วเอาไปรวมกับดัชนีถาวร ทำ case brief ไว้ที่หน้าดัชนีถาวรและใช้หน้านั้นหน้าเดียว คุณฮอรัสมีความเห็นว่าอย่างไรครับ --V(g) (พูดคุย) 00:11, 26 ตุลาคม 2557 (ICT)

จะว่าไปก็เข้าท่าครับ ปรึกษาตุลาการก่อนดีไหมครับ --Horus | พูดคุย 00:15, 26 ตุลาคม 2557 (ICT)
ดีครับ เพื่อดูท่าทีและการใช้หน้าของ คอต. ด้วย --V(g) (พูดคุย) 00:21, 26 ตุลาคม 2557 (ICT)
กลับไปที่หน้าโครงการ "การอนุญาโตตุลาการ/นายทะเบียน"