ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Budōkan สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

  มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Budōkan! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 14:21, 30 กรกฎาคม 2560 (ICT)

การเพิ่มข้อมูลในบทความ แก้

การคัดลอกข้อมูลไม่ใช่แนวนโยบายของวิกิพีเดีย หากต้องการนำเสนอประเด็นใดคุณควรสรุปเนื้อหาเองแล้วเขียนให้เป็นภาษาวิชาการ นำมาลงพร้อมระบุแหล่งอ้างอิงประกอบ ในวิกิมีบทความ "พุทธพจน์" อยู่แล้ว ไม่ต้องทำบทความ "พุทธวจน" ออกมาให้ซ้ำซ้อนกันครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 09:02, 31 กรกฎาคม 2560 (ICT)

พุทธวจน เป็นรากศัพท์ที่ถูกต้องและตรงตามหลักวิชาการไม่ใช่คำว่าพุทธพจน์ พุทธ์พจน์เป็นการบัญญัติทศัพท์ขึ้นเพื่อกล่าวรวมๆในความหมายของพุทธวจน หากจะตั้งหัวข้อขึ้นนั้นควรใช้คำว่าพุทธวจน จึงจะเหมาะสมที่สุดครับ และการเปลี่ยนแปลงศัพท์ให้เป็นวิชาการนั้น สามารถทำได้ในกรอบของคำสอน ซึ่งจะขอนำไปเปลี่ยนแก้ไขในทางที่ดีขึ้น ขอบพระคุณครับ--Budōkan (พูดคุย) 11:16, 31 กรกฎาคม 2560 (ICT)
"พุทธวจน" ไม่ใช่รากศัพท์ครับ ถ้าจะเอารากศัพท์จริง ๆ ในคำนี้มาจากรากศัพท์ 2 ตัว คือ พุธฺ กับ วจฺ แสดงว่าคุณไม่มีความรู้พื้นฐานทางไวยากรณ์บาลีเลย การตั้งหัวข้อว่า "พุทธวจน" นั้นผิดหลักภาษาไทย และไม่ปรากฏอักขรวิธีเช่นนี้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งวิกิพีเดียใช้เป็นบรรทัดฐานหลักในการบัญญัติศัพท์ หากต้องการสร้างบทความ "พุทธวจน" โดยเฉพาะ ก็ทำได้ในแง่เป็นขบวนการศาสนาที่มีพระคึกฤทธิ์เป็นผู้นำครับ แต่ถ้าจะให้หมายถึงวจนะของพระพุทธเจ้า เรายืนยันว่ามีบทความ "พุทธพจน์" อยู่แล้ว จึงไม่สามารถสร้างบทความซ้ำซ้อนได้ครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 11:40, 31 กรกฎาคม 2560 (ICT)

พุทธวจนนั้นเป็นศัพท์บาลีที่พระองค์ได้ตรัสถึงไว้ในบาลีและสามารถสืบค้นได้ครับ เล่ม 7 ข้อ 180

[๑๘๐] เตน โข ปน สมเยน เมฏฺโกกุฏฺา ๓ นาม ภิกฺขู

เทฺว ภาติกา โหนฺติ พฺราหฺมณชาติกา กลฺยาณวาจา กลฺยาณวากฺกรณา ฯพ เต เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต นิสีทึสุ ฯ เอกมนฺต นิสินฺนา โข เต ภิกฺขู ภควนฺต เอตทโวจุ เอตรหิ ภนฺเต ภิกฺขู นานานามา นานาโคตฺตา นานาชจฺจา นานากุลา ปพฺพชิตา เต สกาย นิรุตฺติยา พุทฺธวจน ทูเสนฺติ หนฺท มย ภนฺเต พุทฺธวจน ฉนฺทโส อาโรเปมาติ ฯ วิครหิ พุทฺโธ ภควา กถ หิ นาม ตุเมฺห โมฆปุริสา เอว วกฺขถ หนฺท มย ภนฺเต พุทฺธวจน ฉนฺทโส อาโรเปมาติ เนต โมฆปุริสา อปฺปสนฺนาน วา ปสาทาย ฯเปฯ วิครหิตฺวา ธมฺมึ กถ กตฺวา ภิกฺขู อามนฺเตสิ น ภิกฺขเว ++ พุทฺธวจน ++ ฉนฺทโส อาโรเปตพฺพ โย อาโรเปยฺย อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส อนุชานามิ ภิกฺขเว สกาย นิรุตฺติยา พุทฺธวจน

ปริยาปุณิตุนฺติ ฯ

--Budōkan (พูดคุย) 11:57, 31 กรกฎาคม 2560 (ICT)

ในการแปลพระไตรปิฎกฉบับหลวงนั้นจะไม่ใช้คำว่าพุทธพจน์ แต่จะทับศัพท์ พุทธวจนไว้เพื่อคงความหมายเดิมไว้ครับ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/tipitaka_seek.php?text=%BE%D8%B7%B8%C7%A8%B9&book=1&bookZ=45--Budōkan (พูดคุย) 12:05, 31 กรกฎาคม 2560 (ICT)
ขนาดอ้างข้อมูลมาแย้งผม คุณยังไม่ตรวจสอบเลย ในตัวบทพระบาลีที่คุณยกมา เขาพิมพ์ว่า "พุทฺธวจน" มีพินทุใต้ ท ซึ่งเป็นอักขรวิธีเขียนบาลีด้วยอักษรไทย แต่ขณะนี้คุณกำลังใช้วิกิพีเดียภาษาไทย ตามหลักจึงต้องแปลงอักขรวิธีเป็นไทย หากยึดพระไตรปิฎกฉบับหลวง คุณจะค้นเจอทั้ง "พุทธพจน์" และ "พุทธวจนะ" เป็นการทับศัพท์และแปลงอักขรวิธีที่ถูกต้องทั้งสองอย่าง แต่ไม่มีที่ไหนเลยใช้ "พุทธวจน" อย่างที่กลุ่มพระคึกฤทธิ์ใช้ครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 12:19, 31 กรกฎาคม 2560 (ICT)
หากแก้บทพยัญชนะเป็นพุทธวจนะ ยังจะมีสิ่งใดที่จะคัดค้านอีกไหมครับ--Budōkan (พูดคุย) 12:23, 31 กรกฎาคม 2560 (ICT)
มีครับ เพราะแก้ศัพท์ จะทำก็ต่อเมื่อศัพท์เก่าสะกดผิด หรือมีการเปลี่ยนแปลงอักขรวิธีตามยุคสมัย แต่ปัจจุบันทั้ง "พุทธพจน์" และ "พุทธวจนะ" เป็นคำที่ถูกต้องเสมอกัน แนวทางปฏิบัติคือใช้ได้ทั้งสองคำ ที่สะกดว่าพุทธพจน์ไปแล้วจึงไม่มีอะไรผิดที่จะต้องแก้ไข แต่หากคุณเพิ่มเนื้อหาโดยสะกดเป็นพุทธวจนะแทนก็ไม่มีปัญหาครับ ขอเรียนย้ำว่าห้ามคัดลอก ให้สรุปเนื้อความมา ศึกษาแนวการเขียนวิกิได้จากบทความอื่น ๆ ครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 12:36, 31 กรกฎาคม 2560 (ICT)
รับทราบครับ ขอบพระคุณครับ-ขอเพิ่มเติมว่าการอ้างว่ามีการเปลี่ยนแปลงอักขรวิธีตามยุคสมัยนั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเพราะในพุทธวจนะมีการกล่าวถึงสัทธรรมปฏิรูปแม้แต่ในเว็บไซด์นี้ก็ได้นำมาลงไว้ซึ่งจะทำให้เป็นการขัดแย้งกันเองในหัวข้อธรรมและเนื้อความธรรมะครับ--Budōkan (พูดคุย) 12:51, 31 กรกฎาคม 2560 (ICT)
"การเปลี่ยนแปลงอักขรวิธี" เป็นคนละเรื่องกับ "สัทธรรมปฏิรูป" นะครับ อันแรกเป็นธรรมชาติของภาษาศาสตร์ แม้จะเปลี่ยนอักขรวิธีก็ไม่ได้หมายความว่าเปลี่ยนเนื้อความ ตรงกันข้าม พวกที่ยึดอักขรวิธีเก่า แต่อธิบายตีความให้ผิดแผกไปจากเจตนาเดิม แบบนี้ต่างหากที่เป็นสัทธรรมปฏิรูป อย่างไรก็ขอบคุณที่ร่วมอภิปราย เรายังยินดีให้คุณมีส่วนร่วมในการพัฒนาบทความ แต่ขอให้ศึกษาและปฏิบัติตามนโยบายของวิกิพีเดียอย่างเคร่งครัดครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 13:10, 31 กรกฎาคม 2560 (ICT)