คิงส์ไนต์
คิงส์ไนต์[b] (อังกฤษ: King's Knight) เป็นวิดีโอเกมแนวเกมยิงเลื่อนที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทสแควร์สำหรับแฟมิคอมและเอ็มเอสเอกซ์ เกมดังกล่าววางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1986[1] และในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อ ค.ศ. 1989[2] ต่อมา เกมนี้ได้รับการเผยแพร่อีกครั้งสำหรับกลุ่มเวอร์ชวลคอนโซลของเครื่องเล่นเกมวีในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007[3] และในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2008[4] ตามมาด้วยการเปิดตัวสู่เวอร์ชวลคอนโซลในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 สำหรับนินเท็นโด ทรีดีเอส และ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 สำหรับวียู
คิงส์ไนต์ | |
---|---|
งานศิลปะบรรจุภัณฑ์เวอร์ชันนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมของทวีปอเมริกาเหนือ | |
ผู้พัฒนา | สแควร์[a] |
ผู้จัดจำหน่าย | สแควร์ |
ออกแบบ | ฮิโรโนบุ ซากางูจิ |
แต่งเพลง | โนบูโอะ อูเอมัตสึ |
เครื่องเล่น | แฟมิคอม, เอ็มเอสเอกซ์, เอ็นอีซี พีซี-8801เอ็มเคII เอสอาร์, ชาร์ป เอกซ์1 |
วางจำหน่าย | แฟมิคอม
|
แนว | เกมยิงเลื่อน |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว |
เกมดังกล่าวกลายเป็นเกมแรกในทวีปอเมริกาเหนือของบริษัทสแควร์ภายใต้บริษัทสแควร์ซอฟต์ซึ่งเป็นบริษัทสาขาเรดมันด์ โดยหน้าจอไตเติลของการเปิดตัวเมื่อ ค.ศ. 1986 ได้ให้เครดิตเวิกส์สำหรับการเขียนโปรแกรม คิงส์ไนต์ได้รับการเปิดตัวคร้ังที่สองใน ค.ศ. 1987 สำหรับเอ็นอีซี พีซี-8801เอ็มเคII เอสอาร์ และชาร์ป เอกซ์1 เกมเวอร์ชันนี้มีชื่อใหม่คือคิงส์ไนต์สเปเชียลและวางจำหน่ายเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น นับเป็นเกมแรกที่ออกแบบโดยฮิโรโนบุ ซากางูจิ สำหรับแฟมิคอม[5] ส่วนโนบูโอะ อูเอมัตสึ เป็นผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบให้แก่คิงส์ไนต์ นับเป็นผลงานดนตรีประกอบวิดีโอเกมชิ้นที่สามของอูเอมัตสึ[6]
โครงเรื่อง
แก้คิงส์ไนต์เดินตามโครงเรื่องพื้นฐานที่คล้ายกับวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทหลายเกมในยุคแฟมิคอม ซึ่งเจ้าหญิงแคลร์แห่งโอลเธียถูกลักพาตัวไปในอาณาจักรไอแซนเดอร์ และผู้เล่นจะต้องเลือกหนึ่งในสี่ตัวละครเอก (ได้แก่ อัศวินนักรบที่ชื่อ "เรย์ แจ็ก", พ่อมดที่ชื่อ "คาลิวา", สัตว์ประหลาดมหึมาที่ชื่อ "บารูซา" และเด็กหัวขโมยที่ชื่อ "โทบี") เพื่อฝึกและออกเดินทางเพื่อโจมตีปราสาทการ์กาตัว โดยกำจัดมังกรร้ายที่ชื่อทอลฟิดา รวมถึงช่วยชีวิตเจ้าหญิง[7]
รูปแบบการเล่น
แก้คิงส์ไนต์เป็นเกมยิงเลื่อนแนวตั้งที่มีเป้าหมายหลักคือการหลบหรือทำลายศัตรู และสิ่งกีดขวางบนหน้าจอทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ไอเทมต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความลึกซึ้งให้แก่เกม ซึ่งในฐานะตัวละครใดก็ตาม ผู้เล่นสามารถรวบรวมการเพิ่มพลังต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเลเวลของตัวละคร (สูงสุดยี่สิบเลเวลต่อตัวละคร) ได้แก่: เพิ่มการกระโดดได้มากถึงเจ็ดเลเวล, เพิ่มความเร็วเจ็ดเลเวล, เพิ่มอาวุธสามเลเวล และเพิ่มโล่สามเลเวล นอกจากนี้ ยังมีไลฟ์อัป ซึ่งรวบรวมเพื่อเพิ่มมาตรชีวิตของตัวละคร และนอกจากนั้น ยังมีไลฟ์ดาวน์ที่ควรหลีกเลี่ยง ส่วนไอคอนบนหน้าจออื่น ๆ อาจส่งผลต่อด่านดังกล่าว เช่น ทางเข้า/ออกถ้ำที่ซ่อนอยู่ และ "ตัวเปิดเผยความลับ" ที่เผยให้เห็นหินที่ซ่อนอยู่ซึ่งขัดขวางการเดินไปข้างหน้า โดยในตอนท้าย มีชิ้นส่วนสี่ประเภทที่ต้องรวบรวมในแต่ละด่าน ซึ่งมีความสำคัญต่อการผ่านด่านสุดท้ายให้สำเร็จ ชิ้นส่วนเหล่านี้เป็นเพียงชิ้นส่วนเอ, บี, ซี และดี
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ https://www.famitsu.com/games/t/9050/,
- ↑ Nintendo staff. "NES Games" (PDF). Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 21, 2010. สืบค้นเมื่อ September 24, 2011.
- ↑ "VC キングスナイト". November 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 24, 2007. สืบค้นเมื่อ March 14, 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "King's Knight [Virtual Console]". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 28, 2008. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 9, 2008.
- ↑ Barder, Ollie (June 29, 2017). "Hironobu Sakaguchi Talks About His Admiration For 'Dragon Quest' And Upcoming Projects". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 29 June 2019.
- ↑ Square Enix North America Site Staff (2005). "Uematsu's Music". Square Enix North America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-12. สืบค้นเมื่อ 2 May 2006.
- ↑ King's Knight (Instruction Manual). Square Soft, Inc. 1989.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)