คันนูชิ (ญี่ปุ่น: 神主โรมาจิkannushi; แปลว่า ผู้นำพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์) หรือ ชินโชกุ (ญี่ปุ่น: 神職โรมาจิshinshoku; แปลว่า ผู้รับใช้เทพเจ้า) คือผู้รับผิดชอบและดูแลรักษาศาลเจ้าชินโต (神社) เป็นผู้นำการปฏิบัติบูชาเทพเจ้า หรือที่เรียกว่า คามิ ()[1] นอกจากนี้ยังมีนักบวชหญิงเรียกว่า มิโกะ (巫女) ทำหน้าที่รับใช้เทพเจ้าและคอยช่วยเหลือคันนูชิในศาลเจ้าเช่นกัน[2]

คันนูชิถือชากุที่ศาลเจ้าอันจิอินาริโคโมะ
คันนูชิและมิโกะในพิธีแต่งงานที่ศาลเจ้าเมจิ

ประวัติ แก้

เดิมคันนูชิทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างคามิกับมนุษย์ แล้วถ่ายทอดเจตจำนงของเทพเจ้าสู่มนุษย์ทั่วไป[3] คันนูชิจึงมีสถานะเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ ด้วยสามารถประกอบพิธีกรรมให้บริสุทธิ์ได้ตามความเชื่อ และมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า ชินโชกุ ซึ่งแปลว่าชายผู้ทำงานและประกอบพิธีในศาลเจ้า[1][4]

ในอดีตมีความทับซ้อนกันระหว่างการเมืองกับศาสนา ผู้นำตระกูลจึงทำหน้าที่เป็นผู้นำศาสนาของกลุ่มตระกูลตนเองได้ หรืออาจจะตั้งใครสักคนมาเป็นแทนก็ได้[4] ใน โคจิกิ (ค.ศ. 680) และ นิฮงโชกิ (ค.ศ. 720) ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญของชินโต ระบุว่าได้แยกออกมาเป็นคันนูชิมาทำหน้าที่บูชาเทพเจ้าโดยเฉพาะ[4] จักรพรรดินีจิงงู และจักรพรรดิซูจิง เคยทำหน้าที่เป็นคันนูชิด้วย[3]

ลักษณะ แก้

ผู้ที่จะเป็นคันนูชิต้องเข้าศึกษามหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองคุณสมบัติจากสมาคมศาลเจ้าชินโต (神社本庁) เสียก่อน[5] มีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ได้แก่ มหาวิทยาลัยโคกูงากูอิงในโตเกียว หรือมหาวิทยาลัยโคงักกังในเมืองอิเซะ หากไม่ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยก็ต้องสอบให้ผ่านคุณสมบัติจึงได้รับการรับรองจากสมาคม[6] คันนูชิมีหลายระดับ ได้แก่ โอคันนูชิ (大神主) โซคันนูชิ (総神主) และ กงคันนูชิ (権神主) อยู่ร่วมศาลเจ้าเดียวกัน[3][4] สตรีสามารถเป็นคันนูชิได้ และภรรยาม่ายของคันนูชิก็สามารถสืบทอดตำแหน่งของสามีในศาลเจ้าได้เช่นกัน[6] โดยคันนูชิจะมีมิโกะคอยสนับสนุนในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ ซึ่งมิโกะส่วนใหญ่ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับศาล เช่น เป็นลูกสาวหรือเป็นญาติกับคันนูชิเอง[2]

คันนูชิสามารถสมรสได้ ส่วนใหญ่แล้วลูก ๆ ของพวกเขาก็จะสืบตำแหน่งต่อจากบิดา[7] แม้ตามกฎหมายจะไม่ได้บังคับเรื่องให้ผู้สืบสันดานสืบทอดตำแหน่งแล้ว แต่ศาลเจ้าหลายแห่งยังคงปฏิบัติตามธรรมเนียมนี้ต่อไป[6]

การแต่งกายและอุปกรณ์ แก้

คันนูชิมีเครื่องแต่งกาย เช่น ชุดโจเอะ เอโบชิ และคาริงินุ[7] โดยชั้นของคันนูชิจะแบ่งตามสีของกางเกงฮากามะ แบ่งเป็น ชั้นพิเศษสวมสีขาวลาย ชั้นที่หนึ่งสีม่วงลายเข้ม ชั้นที่สองบนสีม่วงลายจาง ชั้นที่สองสีม่วง และชั้นที่สามสีเขียวอมฟ้า[8] อย่างไรก็ตามชุดเหล่านี้ไม่ได้มีนัยสำคัญด้านพิธีกรรมทางศาสนาแต่อย่างใด หากแต่เป็นชุดที่เคยใช้ในราชสำนักมาก่อน[7] อันสื่อให้เห็นถึงความใกล้ชิดกันระหว่างจักรพรรดิกับลัทธิบูชาเทพเจ้า[7] ส่วนอุปกรณ์อื่น ๆ ที่คันนูชิใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ได้แก่ ชากุ (หรือฮู่) และ โอนูซะ ไม้กระบองศักดิ์สิทธิ์ที่ประดับด้วยริ้วกระดาษที่เรียกว่า ชิเดะ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 * Kannushi (in Japanese), Iwanami ญี่ปุ่น: Kōjienโรมาจิ広辞苑 Japanese dictionary, 6th Edition (2008), DVD version
  2. 2.0 2.1 "สารานุกรมคำญี่ปุ่น "มิโกะ (หญิงรับใช้ศาลเจ้า)"". Matcha. 8 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 Nishimuta, Takao (2007-03-28). "Kannushi". Encyclopedia of Shinto. Kokugakuin. สืบค้นเมื่อ 2009-10-16.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Moriyasu, Jin. "Kannushi". Nihon Hyakka Zensho (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-14. สืบค้นเมื่อ 2009-10-16.
  5. Yukari Yokoyama (27 พฤศจิกายน 2562). ""ชินโต" คืออะไร? ลัทธิเฉพาะของญี่ปุ่นที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เทพที่ได้รับการบูชากันตามศาลเจ้าญี่ปุ่น". Fun! Japan. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 "Shinshoku". Encyclopædia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 2009-10-16.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Nishimura, Hajime (1998). A Comparative History of Ideas. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-1004-4.
  8. Jib Monchanok (7 เมษายน 2560). "ไขกระจ่าง! ความแตกต่างของศาลเจ้าชินโตและวัดพุทธในญี่ปุ่น". Kiji. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้