การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ

การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ หรือ เฟทิชิซึม (อังกฤษ: fetishism, sexual fetishism) เป็นรสนิยมทางเพศรูปแบบหนึ่งที่เข้าข่ายลักษณะกามวิปริตที่มี วัตถุที่ไม่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ (เฟทิช, fetish) เป็นสิ่งเร้าความรู้สึกทางเพศ[1] การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะนั้นมักไม่มองว่าเป็นพยาธิสภาพ หรือเป็น โรคทางจิตเวช[2][3]

การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ
บุคคลจากปี 1920 กำลังลูบไล้เรียวขาของหญิงซึ่งเป็นวัตถุเฟทิช นับเป็นอาการความปรารถนาทางเพศกับเรียวขา (leg fetishism)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10F65
ICD-9302.81
MeSHD005329

ในบรรดาวัตถุเฟทิชนั้นรวมถึงบางส่วนของร่างกายหรืออวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของมนุษย์เป็นเฉพาะส่วน เช่น นิ้วมือเรียว ท้องคนน้ำหนักเกิน หรือ เรียวขา ความปรารถนาทางเพศแบบนี้สามารถแยกย่อยเป็นอีกประเภทที่เรียกว่า ความปรารถนาทางเพศกับร่างกายเฉพาะส่วน (partialism)[4] ในปัจจุบัน การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยได้หลายประเภท เช่น ความปรารถนาทางเพศกับเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม (cloth fetish), ความปรารถนาทางเพศกับรองเท้า (shoes fetish), ความปรารถนาทางเพศกับเรียวขา (legs fetish) เป็นต้น

ในประเทศไทย ผู้คนยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกับนิยามคำว่า "เฟทิชิซึม" หรือ "การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ"[ต้องการอ้างอิง] และยังถูกมองเป็นเรื่องแปลกประหลาดและขับขันในคนบางกลุ่ม[ต้องการอ้างอิง]

สาเหตุ แก้

การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะมักเป็นที่ปรากฏชัดในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ในปัจจุบันวงการแพทย์และจิตวิทยายังไม่สามารถระบุเหตุผลที่ชัดเจนของรสนิยมทางเพศนี้ได้[5]

บางตำราอาจกล่าวว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดมาจาก การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม โดยอ้างการทดลองบางชุดที่ให้อาสาสมัครชายถูกผูกพฤติกรรมแบบมีเงื่อนไขกับวัตถุเฟทิช เช่น รองเท้าบู๊ตส์ รูปทรงเรขาคณิต หรือ โหลหยอดเงิน พบว่าเกิดการกระตุ้นเร้าทางเพศในคอนเวนชันนาล เอโรทิคา (conventional erotica) ในระบบประสาท[6] อย่างไรก็ตาม จอห์น บอนครอฟท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเพศศึกษา ปฏิเสธว่าพฤติกรรมแบบการใช้เงื่อนไขอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เกิดความปรารถนาทางเพศกับวัตถุได้ เขาเสริมว่าปัจจัยอื่น ๆ อาจส่งผลต่อการแสดงออกของความปรารถนาทางเพศกับวัตถุ เช่น ความผิดปกติระหว่างระยะการเรียนรู้เรื่องเพศ[7]

จากทฤษฎีการเรีบนรู้พฤติกรรมแบบฝังใจ (imprinting) อธิบายไว้ว่ามนุษย์เรียนรู้ที่จะจดจำลักษณะที่ดึงดูดทางเพศขณะที่ยังเป็นเด็ก ดังนั้นความปรารถนาทางเพศกับวัตถุอาจเกิดจากการที่ในวัยเด็กคลุกคลีหรือเกิดการฝังใจ (imprint) ที่ผิดไปว่าวัตถุว่าเป็นสิ่งที่ดึงดูดทางเพศ หรือจำกัดวัตถุที่ดึงดูดทางเพศเป็นวัตถุเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น[8]

ประเภทของการเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ แก้

จากการตรวจสอบกรณีของผู้ได้รับการวินิจฉัยอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกว่ามีการเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ ทั้งหมด 48 กรณี พบว่าประกอบด้วยการเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะต่าง ๆ ดังนี้ ความปรารถนาทางเพศกับเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่ม (clothing fetishism) 58.3%, ความปรารถนาทางเพศกับวัตถุที่ทำมาจากยาง (rubber fetishism) 22.9%, ความปรารถนาทางเพศกับรองเท้า (footwear fetishism) 14.6%, ความปรารถนาทางเพศกับอวัยวะหรือส่วนของร่างกายเป็นเฉพาะ (body parts fetishism) 14.6%, ความปรารถนาทางเพศกับเครื่องหนัง (leather fetishism) 10.4% และ ความปรารถนาทางเพศกับเนื้อผ้าหรือของนุ่ม (soft materials fetishism) 6.3%[9]

อ้างอิง แก้

  1. "Common Misunderstandings of Fetishism". K. M. Vekquin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-05. สืบค้นเมื่อ 24 May 2010.
  2. American Psychiatric Association, บ.ก. (2013). "Fetishistic Disorder, 302.81 (F65.0)". Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fifth Edition. American Psychiatric Publishing. p. 700.
  3. "Fetishism, F65.0". The ICD-10 Classification of Mental and Behavioural Disorders: Clinical descriptions and diagnostic guidelines (PDF). World Health Organization. p. 170. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  4. Milner, J. S., & Dopke, C. A. (1997). Paraphilia Not Otherwise Specified: Psychopathology and theory. In D. R. Laws and W. O'Donohue (Eds.), Sexual deviance: Theory, assessment, and treatment. New York: Guilford.
  5. Bancroft, John (2009). Human Sexuality and Its Problems. Elsevier Health Sciences. pp. 283–286.
  6. Darcangelo, S. (2008). "Fetishism: Psychopathology and Theory". ใน Laws, D. R.; O'Donohue, W. T. (บ.ก.). Sexual Deviance: Theory, Assessment, and Treatment, 2nd edition. The Guilford Press. pp. 112–113.
  7. Bancroft, John (2009). Human Sexuality and Its Problems. Elsevier Health Sciences. pp. 283–286.
  8. Darcangelo, S. (2008). "Fetishism: Psychopathology and Theory". ใน Laws, D. R.; O'Donohue, W. T. (บ.ก.). Sexual Deviance: Theory, Assessment, and Treatment, 2nd edition. The Guilford Press. p. 114.
  9. Chalkley A. J.; Powell G. E. (1983). "The clinical description of forty-eight cases of sexual fetishism". British Journal of Psychiatry. 142: 292–295. doi:10.1192/bjp.142.3.292.

ดูเพิ่ม แก้