ความตกลงป้องกันและปราบปรามการค้าสิ่งปลอม
ความตกลงป้องกันและปราบปรามการค้าสิ่งปลอม (อังกฤษ: Anti-Counterfeiting Trade Agreement) หรือเรียกโดยย่อว่า แอกตา (ACTA) เป็นความตกลงพหุภาคีอันมีวัตถุประสงค์เพื่อสถาปนามาตรฐานสากลสำหรับบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และมุ่งหวังจะสร้างกรอบกฎหมายระหว่างประเทศสำหรับขจัดสินค้าปลอม ยาเทียม และการละเมิดลิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์ กับทั้งจะมีผลเป็นการสร้างองค์กรควบคุมองค์กรใหม่นอกเหนือไปจากที่มีอยู่แล้วคือองค์การค้าโลก องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก และสหประชาชาติ[1][2][3]
ความตกลงป้องกันและปราบปรามการค้าสิ่งปลอม | |
---|---|
ม่วง: ลงนามแล้ว ส้ม: ชาติในสหภาพยุโรปที่ลงนามแล้ว เขียว: ชาติในสหภาพยุโรปที่ยังมิได้ลงนาม น้ำเงิน: ชาติอื่นที่อาจลงนาม | |
ประเภท | ความตกลงพหุภาคี |
วันร่าง | 15 เมษายน 2554 (ปัจฉิมกรรม) |
วันลงนาม | 1 ตุลาคม 2554 |
ที่ลงนาม | กรุงโตเกียว |
วันมีผล | ยังไม่ใช้บังคับ |
เงื่อนไข | เมื่อมีผู้ลงนามให้สัตยาบันแล้วเป็นจำนวนหกราย |
ผู้ลงนาม | สหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกยี่สิบสองราย, ออสเตรเลีย, แคนาดา, ญี่ปุ่น, โมร็อกโก, นิวซีแลนด์, สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ |
ภาคี | (คู่เจรจา) ออสเตรเลีย, แคนาดา, สหภาพยุโรป, ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, โมร็อกโก, นิวซีแลนด์, เกาหลี, สิงคโปร์, สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐ |
ผู้ให้สัตยาบัน | ยังไม่มี |
ผู้เก็บรักษา | รัฐบาลญี่ปุ่น |
ภาษา | อังกฤษ ฝรั่งเศส แลสเปน |
วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา ประเทศญี่ปุ่น ประเทศโมร็อกโก ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกาลงนามในความตกลงนี้ ครั้นเดือนมกราคม 2555 สหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกอีกยี่สิบสองรายพร้อมใจกันลงนามตามลำดับ ยังให้มีผู้ลงนามแล้วสามสิบเอ็ดราย สนธิสัญญานี้จะมีผลใช้บังคับเมื่อมีผู้ลงนามให้สัตยาบันแล้วเป็นจำนวนหกราย
ประเทศทั้งหลายทั้งที่สนับสนุนความตกลงนี้ก็ดี และที่กำลังเจรจาอยู่ก็ดี เชิดชูความตกลงว่าเป็น การตอบโต้ "การค้าสิ่งปลอมและการละเมิดงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์อันทวีอัตราขึ้นทั่วทุกหัวระแหง" ขณะที่เหล่าผู้ต่อต้านว่า สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นปฏิปักษ์อย่างร้ายแรงต่อสิทธิพลเมืองและสิทธิทางดิจิทัลขั้นพื้นฐาน อันรวมถึงสิทธิในการแสดงออกและความเป็นส่วนตัวในการคมนาคม[4][5][6][7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Fact Sheet: Anti-Counterfeiting Trade Agreement" (PDF). European Commission. 23 October 2007 (Updated November 2008). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-31. สืบค้นเมื่อ 27 November 2009.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ USTR, The Anti-Counterfeiting Trade Agreement – Summary of Key Elements Under Discussion (PDF), สืบค้นเมื่อ 25 November 2009
- ↑ Pilieci, Vito (2008-05-26). "Copyright deal could toughen rules governing info on iPods, computers". Vancouver Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-01. สืบค้นเมื่อ 2008-05-27.
- ↑ Barengolts, Phillip (2011-10-12). "The Anti-Counterfeiting Trade Agreement (ACTA) strives to strengthen protection for copyright and trademark owners throughout the world against counterfeiting and piracy of their products by attempting to harmonize the laws of member nations. But will it?". Pattishall McAuliffe Newbury Hilliard & Geraldson LLP. Lexology. สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
- ↑ Ministry of Economic Development of New Zealand (2008). "On Anti-Counterfeiting Trade Agreement".
- ↑ Geist, Michael (9 June 2008). "Government Should Lift Veil on ACTA Secrecy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 28 November 2008.
- ↑ "ACTA: A Global Threat to Freedoms (Open Letter) | Free Knowledge Institute". Freeknowledge.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-30. สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.