คลื่นความร้อนในประเทศอินเดียและปากีสถาน พ.ศ. 2562

ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 อินเดียและปากีสถานได้เผชิญกับคลื่นความร้อนที่รุนแรง โดยเป็นหนึ่งในคลื่นความร้อนที่ร้อนแรงและยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ประเทศทั้งสองเริ่มบันทึกรายงานสภาพอากาศ อุณหภูมิสูงสุดวัดได้บริเวณเมืองจูรูในรัฐราชสถานของอินเดีย อยู่ที่ 50.8 องศาเซลเซียส (123.4 องศาฟาเรนไฮต์)[5] ซึ่งเกือบสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในอินเดีย[6] ณ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562 คลื่นความร้อนระลอกนี้กินเวลามาแล้ว 32 วัน นับเป็นคลื่นความร้อนที่กินเวลานานที่สุดเป็นอันดับที่สองเท่าที่เคยบันทึกไว้[7]

คลื่นความร้อนในประเทศอินเดียและปากีสถาน พ.ศ. 2562
คลื่นความร้อนในประเทศอินเดียและปากีสถาน พ.ศ. 2562ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
จูรู 50.8 องศาเซลเซียส (123.4 องศาฟาเรนไฮต์)
จูรู 50.8 องศาเซลเซียส (123.4 องศาฟาเรนไฮต์)
อัลลอฮาบาด 48.9 องศาเซลเซียส (120.0 องศาฟาเรนไฮต์)
อัลลอฮาบาด 48.9 องศาเซลเซียส (120.0 องศาฟาเรนไฮต์)
เดลี 48 องศาเซลเซียส (118 องศาฟาเรนไฮต์)
เดลี 48 องศาเซลเซียส (118 องศาฟาเรนไฮต์)
คลื่นความร้อนในประเทศอินเดียและปากีสถาน พ.ศ. 2562ตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
อิสลามาบาดและราวัลปินดี 42 องศาเซลเซียส (108 องศาฟาเรนไฮต์)
อิสลามาบาดและราวัลปินดี 42 องศาเซลเซียส (108 องศาฟาเรนไฮต์)
จโคบาบาด 49 องศาเซลเซียส (120 องศาฟาเรนไฮต์)
จโคบาบาด 49 องศาเซลเซียส (120 องศาฟาเรนไฮต์)
แผนที่แสดงเมืองที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
วันที่20 พฤษภาคม 2562 (2019-05-20) – ปัจจุบัน
ที่ตั้ง อินเดีย
 ปากีสถาน[1][2][3]
ประเภทHeat wave
เสียชีวิตอินเดีย: 184 คนในรัฐพิหาร และอีกหลายคนในรัฐอื่น ๆ
ปากีสถาน: 5 คน[4]

อุณหภูมิที่ร้อนจัดและการเตรียมพร้อมรับมือที่ไม่เพียงพอส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในรัฐพิหารแล้วมากกว่า 184 คน[8] โดยมีรายงานผู้เสียชีวิตอีกจำนวนมากในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ[9][10] ในปากีสถาน มีเด็กเล็ก 5 คนเสียชีวิตจากอากาศที่ร้อนจัด[11]

คลื่นความร้อนระลอกนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำทั่วประเทศ ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน อ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่ส่งน้ำสู่เมืองเจนไนได้แห้งเหือด ทำให้มีผู้คนจำนวนนับล้านที่ไม่สามารถเข้าถึงน้ำได้ วิกฤตการณ์น้ำทวีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงและการขาดความเตรียมพร้อม นำไปสู่การประท้วงและการต่อสู้แย่งชิงน้ำซึ่งทำให้มีผู้ถูกฆ่า ถูกแทง และถูกทุบตี[12][13][14]

อ้างอิง แก้

  1. Leister, Eric. "Temperatures pass 50 C as grueling India heat wave enters 2nd week with no end in sight". Accuweather.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-30. สืบค้นเมื่อ 2019-06-30.
  3. https://www.pakistantoday.com.pk/2019/06/09/pakistan-sizzles-under-intense-heat/
  4. "Pakistan Infants death update: Five infants confirmed dead in Pakistan as hospital air conditioning unit breaks down". gulfnews.com.
  5. "India reels as summer temperatures touch 50C". BBC News. 3 June 2019. สืบค้นเมื่อ 3 June 2019.
  6. Kahn, Brian (3 June 2019). "It Hit 123 องศาฟาเรนไฮต์ (51 องศาเซลเซียส) in India This Weekend". Earther. สืบค้นเมื่อ 3 June 2019.
  7. Chauhan, Chetan (12 June 2019). "India staring at longest heatwave in 3 decades". MSN. สืบค้นเมื่อ 12 June 2019.
  8. "India's heatwave turns deadly". Al Jazeera. 18 June 2019. สืบค้นเมื่อ 18 June 2019.
  9. Srivastava, Roli (12 June 2019). "India heatwave deaths rise to 36, poorest workers worst hit". Reuters. สืบค้นเมื่อ 12 June 2019.
  10. "Nitish Kumar Cancels Aerial Inspection of Heat Wave Affected Areas, to Visit Hospital in Gaya". India.Com. 20 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2019. สืบค้นเมื่อ 20 June 2019.
  11. "Pakistan Infants death update: Five infants confirmed dead in Pakistan as hospital air conditioning unit breaks down". gulfnews.com.
  12. Yeung, Jessie (19 June 2019). "India's sixth biggest city is almost entirely out of water". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2019. สืบค้นเมื่อ 20 June 2019.
  13. Yeung, Jessie; Gupta, Swati (20 June 2019). "More than 500 arrested after protests and clashes as India water crisis worsens". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2019. สืบค้นเมื่อ 20 June 2019.
  14. Janjevic, Darko (8 June 2019). "India heat wave triggers clashes over water". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 10 June 2019.