คริสตัล เคย์ วิลเลียมส์ (อังกฤษ: Crystal Kay Williams) เป็น นักร้องญี่ปุ่น แนว เจ-ป็อป สังกัดในค่าย โซนี มิวสิก เกิดวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 เป็นที่รู้จักกันในชื่อ คริสตัล เคย์ (Crystal-K)

  • นอกจากเธอแล้วในสังกัด โซนี มิวสิก เอมีรี เป็นนักร้องอีกคนหนึ่งที่เป็นลูกครึ่งเกาหลี แอฟริกัน อเมริกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักจากเพลง "วัน ทิงก์" (One Thing)
คริสตัล เคย์
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดคริสตัล เคย์ วิลเลียมส์
เกิด26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529
แนวเพลงเจ-ป็อป,อาร์แอนด์บี
อาชีพนักร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงSony Music Entertainment Japan
เว็บไซต์c-kay.com

ประวัติ แก้

คริสตัล เคย์ เกิดและโตในเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น โดยที่พ่อของเธอเป็นชาวอเมริกา เชื้อสายแอฟริกัน และแม่ของเธอเป็นนักร้องเชื้อสายเกาหลีโดยกำเนิด และเนื่องจากทั้งพ่อและแม่เป็นนักดนตรีที่มีความสามารถ คริสตัล เคย์จึงกลายเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีโดยปริยาย เธอได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมคินนิคซึ่งพ่อของเธอทำงานอยู่ และศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโซเฟียซึ่งที่นั่นเธอได้พบกับ เบนิ อาราชิโร่ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในฐานะนักร้องเจ-ป็อปอีกคนหนึ่ง ทั้ง 2 เป็นเพื่อนกัน คริสตัลสามารถพูดภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นได้อย่างคล่องแคล่ว นอกจากนั้นเธอยังสามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้อีกด้วย แต่ถึงแม้เธอจะมีเชื้อสายเกาหลีแต่เธอไม่สามารถพูดภาษาเกาหลีได้เลย

คริสตัล เคย์ แสดงพลังเสียงของเธอครั้งแรกเมื่ออายุ เพียง 6 ขวบเท่านั้นโดยการช่วยเหลือจากแม่ของเธอ หลังจากที่ร่วมงานกับ วงฮิพฮ็อพที่มีชื่อเสียงอย่าง เอม-โฟล์ ในปี พ.ศ. 2546 เธอจึงเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น และเพลง "มาเธอร์แลนด์" เป็นเพลงที่ทำให้เธอก้าวเข้าสู่ชาร์ทท็อปเท็นเป็นครั้งแรก นอกจากนั้นเพลงนี้ยังกลายเป็นเพลงประกอบตอนจบของการ์ตูนเรื่อง แขนกล คนแปรธาตุ (Full Metal Alchemist) อีกด้วย

ในปี 2548 เพลง "โคอิ นิ โอจิตาระ" ซึ่งเป็นเพลงประกอบละครชื่อ โคอิ นิ โอจิตาระ~โบคุ โนะ เซอิโค โนะ ฮิมิทซึ และได้ขึ้นสูงถึงลำดับ 2 ในชาร์ทประจำสัปดาห์

กลุ่มดูโอที่เพิ่งแสดงผลงานร่วมกับเธอคือ วง เคมิสทรีย์ ในเพลง "ทู แอส วัน" (Two as One) ซึ่งออกมาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2548

ผลงานชิ้นล่าสุดของเธอคืออัลบั้มที่จะออกมาในชื่อ "คอล์ มี มิส..." (Call me Miss...)ซึ่งเพลงที่ออกมาเพลงแรกในซิงเกิลใหม่ของเธอคือ "คิระคุนิ/ทูเกเธอร์" ซึ่งเป็นเพลงต้นฉบับเพลงแรกที่เธอร้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด

ผลงาน แก้

อัลบั้ม/ลำดับบนชาร์ท แก้

  • 2543 - คริสตัล เลิฟเวอร์ ไลท์ (Crystal Lover Light) ลำดับที่ 60
  • 2543 - 637 ออล์เวย์ส แอนด์ โฟร์เอเวอร์ (637 Always and Forever) ลำดับที่ 19
  • 2545 - ออล์โมสต์ เซเวนทีน (Almost 17) ลำดับที่ 2
  • 2546 - โฟว์ เรียล (4Real) ลำดับที่ 6
  • 2546 - เนเชอรัล เวิร์ล พรีเมียร์ อัลบั้ม (Natural World Premiere) ลำดับที่ 34
  • 2547 - ซี เค ไฟฟ์ (CK5)ลำดับที่ 2
  • 2548 - คริสตัล สไตล์ (Crystal Style) ลำดับที่ 2
  • 2549 - คอล์ มี มิส... (Call me Miss...) ลำดับที่ 2

ซิงเกิล/ลำดับบนชาร์ท แก้

  • 2542 - อีเทอนัล เมโมรีส์ (Eternal Memories) ลำดับที่ 47
  • 2542 - ทีนเนจ ยูนิเวิร์ส (TEENAGE UNIVERSE) ลำดับที่ 47
  • 2542 - โคมิจิ โนะ ฮานะ ลำดับที่ 80
  • 2543 - แชโดว์ ออฟ ดีไซเออ (Shadow of Desire)ไม่ขึ้นชาร์ท
  • 2544 - ลอสต์ ไชลด์ (Lost Child) ร่วมงานกับ ฟูจิวาระ ฮิโรชิ และ ชินอิจิ โอซาว่า ลำดับที่ 55
  • 2544 - เกิร์ลส์ ไนท์ (Girl's Night)ลำดับที่ 100
  • 2544 - เอ็กซ์ บอยเฟรนด์ (Ex-Boyfriend) ร่วมงานกับ เวอเบิล แห่ง เอม-โฟลลำดับที่ 44
  • 2544 - ทิงก์ ออฟ ยู (Think of U) ลำดับที่ 60
  • 2545 - ฮาร์ด ทู เซย์ (Hard to say) ลำดับที่ 26
  • 2545 - เกิร์ล ยู เลิฟ (Girl U love) ลำดับที่ 156
  • 2546 - บอย เฟรนด์ พาร์ท ทู (Boyfriend -part II-) ลำดับที่ 23
  • 2546 - ไอ ไลค อิท (I like it) ร่วมงานกับ เอม-โฟล์ ลำดับที่ 8
  • 2546 - รีไวนด์! (REEEWIND!)ร่วมงานกับ เอม-โฟล์ ลำดับที่ 9
  • 2546 - แคนดี้ (Candy) ลำดับที่ 21
  • 2546 - แคนท์ บี สตอปท์ (Can't Be Stopped) ลำดับที่ 146
  • 2547 - มาเธอร์แลนด์ (Motherland) ลำดับที่ 9
  • 2547 - บาย มาย ดาร์ลิงก์ (Bye My Darling!) ลำดับที่ 40
  • 2548 - คิส (Kiss) ลำดับที่ 10
  • 2549 - โคอิ นิ โอจิตาระ ลำดับที่ 2
  • 2549 - ทู แอส วัน (Two as One) ร่วมงานกับ เคมิสทรีย์ ลำดับที่ 2

แหล่งข้อมูลอื่น แก้