คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Information and Communication Technology, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 13 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Information and Communication Technology, Silpakorn University
สถาปนาพ.ศ. 2546
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร กาญจนภูมิ
ที่อยู่
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 1 หมู่ 3 ถนนชะอำ–ปราณบุรี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
มหาวิทยาลัยศิลปากร เมืองทองธานี เลขที่ 80 ถนนป๊อปปูล่า ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
วารสารวารสารไอซีที ศิลปากร
สี██ สีน้ำตาลซีเปีย[1]
มาสคอต
ปุ่มพาวเวอร์
เว็บไซต์www.ict.su.ac.th

ประวัติ แก้

ประเทศไทยเห็นความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ประโยชน์มากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมกับสามารถประยุกต์ศาสตร์แขนงดังกล่าวไปใช้งานให้บังเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นมหาวิทยาลัยที่มีเป้าหมายหลักในการผลิตบัณฑิตทุกระดับให้มีภูมิปัญญาสูง มีความคิดสร้างสรรค์ ยึดมั่นในคุณธรรม เพียบพร้อมด้วยจรรยาบรรณและจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเล็งเห็นความสำคัญในการผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ความรู้และมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยผลิตบัณฑิตจากพื้นฐานของการนำศักยภาพที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัยมาประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักยภาพด้านศิลปะซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดอยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศไทย

มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้พัฒนาโครงการจัดตั้ง "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร" ซึ่งรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจจังหวัดหนึ่งในภูมิภาคตะวันตก อันจะทำให้บัณฑิตที่จบการศึกษาจำนวนหนึ่ง สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงาน พัฒนาความเจริญให้กับชุมชน ท้องถิ่น และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนความก้าวหน้าทางธุรกิจได้ โดยในเริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาต้น ในปีการศึกษา 2546 โดยเปิด 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ ต่อมาในปีการศึกษา 2550 ได้เปิดทำการเรียนการสอนสาขานิเทศศาสตร์ 5 วิชาเอก คือ วิชาเอกการโฆษณา วิชาเอกการลูกค้าสัมพันธ์ วิชาเอกภาพยนตร์ วิชาเอกวิทยุและโทรทัศน์ วิชาเอกวารสารและหนังสือพิมพ์

หน่วยงาน แก้

  • สำนักงานเลขานุการคณะ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ
  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์

หลักสูตร แก้

ปริญญาตรี

หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการออกแบบ
    • วิชาเอกการออกแบบแอนิเมชัน
    • วิชาเอกอินเทอแอคทีฟแอปพลิเคชัน
    • วิชาเอกการออกแบบเกม

หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)

  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์
    • กลุ่มวิชาการสื่อสารเชิงธุรกิจ
    • กลุ่มวิชาการสื่อสารมวลชน
    • กลุ่มวิชาภาพยนตร์

ทำเนียบคณบดี แก้

รายนามคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
อาจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะฯ 13 มีนาคม พ.ศ. 2546 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2546[2]
รักษาราชการแทนคณบดี 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 8 กันยายน พ.ศ. 2547[3]
9 กันยายน พ.ศ. 2547 – 8 กันยายน พ.ศ. 2551[4]
9 กันยายน พ.ศ. 2551 – 8 กันยายน พ.ศ. 2555[5]
2
อาจารย์ มานพ เอี่ยมสะอาด 9 กันยายน พ.ศ. 2555 – 8 กันยายน พ.ศ. 2559[6]
3
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมศักดิ์ ชาติน้ำเพ็ชร 9 กันยายน พ.ศ. 2559 – 17 มิถุนายน 2562[7]
4
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร กาญจนภูมิ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน[8]
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

อ้างอิง แก้

  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 12/2562 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2562
  2. คำสั่ง มศก.ที่ 306/2546 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2546
  3. คำสั่ง มศก. ที่ 926/2546 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2546
  4. คำสั่ง มศก. ที่ 1225/2547 ลงวันที่ 8 กันยายน 2547
  5. คำสั่ง มศก. ที่ 1423/2551 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2551
  6. คำสั่ง มศก. ที่ 1187/2555 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2555
  7. คำสั่ง มศก.ที่ 1088/2559 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2559
  8. คำสั่ง มศก.ที่ 1402/2562 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2562

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้