คณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทย

คณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทย (หรือ คนะกัมการส่งเสิมวัธนธัมภาสาไทย) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 โดยมีวัตถุประสงค์ปรับปรุงส่งเสริมวัฒนธรรมทางภาษาไทยให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น และเพื่อพิจารณาปรับปรุงส่งเสริมภาษาไทยและหนังสือไทย ทั้งในทางเรียงความ ร้อยแก้ว และกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์

ทั้งนี้ คณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทยได้ยกร่างและเสนอรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามให้ประกาศใช้อักขรวิธีไทยแบบใหม่อีกด้วย

รายนามกรรมการ

แก้

แต่งตั้งกรรมการ 26 ท่านเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ได้แก่

  1. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ประธานกรรมการ
  2. นายยง อนุมานราชธน รองประธานกรรมการที่ 1
  3. นายเพียร ราชธรรมนิเทศ รองประธานกรรมการที่ 2
  4. พระนางเธอลักษมีลาวัณ กรรมการที่ปรึกษา
  5. หม่อมกอบแก้ว อาภากร กรรมการที่ปรึกษา
  6. ท่านผู้หญิงพิบูลสงคราม กรรมการที่ปรึกษา
  7. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร
  8. นายพันเอก ประยูร ภมรมนตรี
  9. นายวิจิตร วิจิตรวาทการ
  10. นายเถียร วิเชียรแพทยาคม กรรมการ
  11. นาย ต. สารประเสริฐ กรรมการ
  12. นายเซ็ง ศิวศริยานนท์ กรรมการ
  13. นายพันเอก น. สารานุประพันธ์ กรรมการ
  14. นายอรุณ บุณยมานพ กรรมการ
  15. นายสนิท ศตะกูรมะ กรรมการ
  16. นายสังข์ พัฒโนทัย กรรมการ
  17. นายเปลื้อง ณ นคร กรรมการ
  18. นางนิล คงศักดิ์ กรรมการ
  19. นางสาวสงวน เฟื่องเพ็ชร์ กรรมการ
  20. นายร้อยตรี สมจิตต์ ศิกษมัต กรรมการ
  21. นายบุญธรรม ตราโมท กรรมการ
  22. นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร กรรมการ
  23. นายทองสืบ ศุภมาร์ค กรรมการ
  24. นายทวี ทวีวรรธน กรรมการ
  25. นายกี อยู่โพธิ์ กรรมการและเลขานุการ
  26. นางสาวสุดา จันทนศิริ กรรมการและผู้ช่วย

แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ได้แก่

  1. นายไพโรจน์ ชัยนาม กรรมการที่ปรึกษา
  2. นายเชย สุนทรพิพิธ กรรมการ

แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2485 ได้แก่

  1. นายสง่า กาญจนาคพันธุ์ กรรมการ

ผลงาน

แก้

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 คณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทยได้วางระเบียบและหลักเกณฑ์การใช้ตัวหนังสือไทยและจัดพิมพ์พจนานุกรมตัวสะกดแบบใหม่ขึ้น[1]

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องไห้ไช้พจนานุกรมตัวสกดแบบไหม่ ราชกิจจานุเบกสา เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๔๗ หน้า ๑๓๔๓ วันที่ ๑๔ กรกดาคม ๒๔๘๕

แหล่งข้อมูล

แก้