ข้อความ (ตรรกศาสตร์)

ในตรรกศาสตร์ คำว่า ข้อความ (อังกฤษ: statement) อาจหมายถึง:

(ก) ประโยคบอกเล่าที่มีความหมาย อาจเป็นจริงหรือเท็จ (false (logic)) หรือ
(ข) การยืนยัน ที่ทำด้วยประโยคบอกเล่าที่เป็นจริงหรือเท็จ

ในกรณีหลัง ข้อความต่างจากจากประโยคตรงที่ประโยคเป็นเพียงรูปกำหนด (Logic form) อันหนึ่งของข้อความ และข้อความเดียวกันอาจถูกกำหนดเป็นรูปอื่น ๆ ได้

ภาพรวม แก้

นักปราชญ์ภาษา (philosophy of language), พี. เอฟ. สตรอว์สัน (Peter Strawson) ผลักดันให้ใช้คำว่า "ข้อความ" (statement) ในความหมาย (ข) แทนคำว่าประพจน์ สตรอว์สันใช้คำว่า "ข้อความ" เพื่อให้เหตุผลว่าประโยคบอกเล่าสองประโยคสามารถทำให้เป็นข้อความเดียวกันได้ถ้าพูดถึงสิ่งเดียวกันในวิธีที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นหากใช้ในความหมายที่สตรอว์สันสนับสนุน "มนุษย์ทั้งหมดเป็นมรรตัย" และ "คนทุกคนเป็นมรรตัย" เป็นประโยคที่ต่างกันแต่เป็นข้อความเดียวกัน

ข้อความในทั้งสองกรณีถูกมองว่าเป็นตัวถือความจริง (truth-bearer)

ตัวอย่างของประโยคที่เป็น (หรือสร้าง) ข้อความ:

ต้วอย่างของประโยคที่ไม่ใช่ (หรือไม่สร้าง) ข้อความ:

ตัวอย่างสองอันแรกไม่ใช่ประโยค บอกเล่า และจึงไม่ใช่ (หรือไม่สร้าง) ข้อความ ตัวอย่างที่สามและสี่เป็นประโยคบอกเล่าแต่ไม่มีความหมาย ไม่จริงและไม่เท็จจึงไม่ใช่ (หรือไม่สร้าง) ข้อความ ตัวอย่างที่ห้าและหกเป็นประโยคบอกเล่าที่มีความหมาย แต่ไม่ใช่ข้อความเพราะเป็นรสนิยมและความคิดเห็น

ในฐานะสิ่งนามธรรม แก้

ในบางบริบท คำว่า "ข้อความ" ถูกนำมาใช้เพื่อแยกระหว่างประโยคกับเนื้อหาเชิงสารสนเทศของประโยค ข้อความนับว่าเป็นเนื้อหาเชิงสารสนเทศของประโยคที่ถือสารสนเทศ ดังนั้นประโยคหนึ่งมีความสัมพัทธ์กับข้อความเหมือนอย่างที่ตัวเลขมีกับจำนวน ข้อความเป็นสิ่งทางตรรกศาสตร์ที่เป็นนามธรรม ในขณะที่ประโยคเป็นสิ่งทางไวยากรณ์[1][2]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

บรรณานุกรม แก้

  • A. G. Hamilton, Logic for Mathematicians, Cambridge University Press, 1980, ISBN 0-521-29291-3.
  • Rouse, David L., "Sentences, Statements and Arguments", A Practical Introduction to Formal Logic. (PDF)
  • Ruzsa, Imre (2000), Bevezetés a modern logikába, Osiris tankönyvek, Budapest: Osiris, ISBN 963-379-978-3
  • Xenakis, Jason (1956). "Sentence and Statement: Prof. Quine on Mr. Strawson". Analysis. 16 (4): 91–4. doi:10.2307/3326478. ISSN 1467-8284. JSTOR 3326478 – โดยทาง JSTOR.
  • Peter Millican, "Statements and Modality: Strawson, Quine and Wolfram", http://philpapers.org/rec/MILSAM-2/
  • P. F. Strawson, "On Referring" in Mind, Vol 59 No 235 (Jul 1950) P. F. Strawson (http://www.sol.lu.se/common/courses/LINC04/VT2010/Strawson1950.pdf/ เก็บถาวร 2011-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)