กินรีไมมัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Barremian
~129–125Ma
สถานะการอนุรักษ์
ฟอสซิล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Sauropsida
อันดับใหญ่: Dinosauria
อันดับ: Saurischia
อันดับฐาน: Theropoda
สกุล: Kinnareemimus
Buffetaut et al., 2009
สปีชีส์: †K.  khonkaenensis
ชื่อทวินาม
†Kinnareemimus khonkaenensis
Buffetaut et al., 2009
ชื่อพ้อง
  • Ginnareemimus Kaneko, 2000 (informal)

กินรีไมมัส[1] (อังกฤษ: Kinnareemimus) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาอย่างไม่เป็นทางการของไดโนเสาร์สกุลหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการบรรยายลักษณะ (โนเมน นูดัม) ของไดโนเสาร์เทอร์โรพอดพบในหินทรายหมวดหินเสาขัวยุคครีเทเชียส จากหลุมขุดค้นที่ 5 อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ลักษณะกระดูกที่ได้มีความละม้ายคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์พวกออร์นิโธมิโมซอเรียน หลักฐานที่พบเป็นเพียงกระดูกอุ้งตีนข้อที่สามที่มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์แต่มีลักษณะของพินชิ่งด้านข้างที่เด่นชัดซึ่งพบได้ใน ออร์นิโถมิโมซอร์ ไทรันโนซอรอยด์ ทรูดอนติดส์ และ ครีแนกนาธิดส์ หากมีอายุยุคครีเทเชียสตอนต้นจริง จะถือว่าเป็นออร์นิโถมิโมซอร์รุ่นแรกๆที่มีความเก่าแก่กว่าที่เคยพบเห็นมา ชื่อกินรีไมมัส ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกโดย ริวอิชิ คาเนโกะ (Ryuichi Kaneko) ด้วยชื่อว่า "Ginnareemimus" ในปี ค.ศ. 2000 ทั้งนี้ยังไม่ถือว่าเป็นสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ

ต่อมา Buffetaut et al, 2009 ได้ศึกษากระดูกหลายชิ้น ประกอบด้วยกระดูกหัวหน่าว กระดูกขาหลังท่อนล่าง กระดูกน่อง กระดูกฝ่าตีน และกระดูกนิ้ว จากหลุมขุดค้นที่ 5 ในอุทยานแห่งชาติภูเวียงพบว่าเป็นไดโนเสาร์พวก Ornithomimosaur เป็นสกุลและชนิดใหม่และได้ตั้งชื่อว่า Kinnareemimus khonkaenensis (กินรีไมมัส ขอนแก่นเอนซิส) การค้นพบสกุลและชนิดใหม่ในยุคครีเทเชียสตอนต้นนี้กล่าวได้ว่า ornithomimosaur รุ่นถัดๆมาอาจมีถิ่นกำเนิดและแพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วเอเชีย

กินรีไมมัส มาจากชื่อสิ่งมีชีวิตในเทพนิยายไทยซึ่งมีชื่อเรียกว่า กินรี

อ้างอิง แก้ไข

  • วิฆเนศ ทรงธรรม และ เบญจา เสกธีระ (2549) ไดโนเสาร์ภูเวียง เจ้าฟ้าสิรินธร กรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพมหานคร 100 หน้า
  • Buffetaut, E., Suteethorn, V., and Tong, H. (2009) An early 'ostrich dinosaur' (Theropoda: Ornithomimosauria) from the Early Cretaceous Sao Khua Formation of NE Thailand, pp. 229-243 in E. Buffetaut, G. Cuny, J. Le Loeuff, and V. Suteethorn (eds) Late Paleozoic and Mesozoic Ecosystems in SE Asia. The Geological Society, London, Special Publications, 315, 229-243 DOI: 10.1144/SP315.16.
  1. "ประวัติการค้นพบไดโนเสาร์ในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-21. สืบค้นเมื่อ 2011-05-06.