การแพ้นมวัว หรือ การแพ้โปรตีนนมวัว เป็นโรคภูมิแพ้อาหารชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีภาวะภูมิแพ้ต่อโปรตีนบางชนิดหรือหลายชนิดที่เป็นส่วนประกอบของนมวัว อาการอาจเป็นอย่างรวดเร็วหรือค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ ถ้าเป็นอย่างรวดเร็ว เช่น แอนาฟิแล็กซิส หรือภาวะแพ้รุนแรง จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ต้องรักษาด้วยการให้อะดรีนาลีน ส่วนแบบค่อยเป็นค่อยไปมักพบในเวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวันนับตั้งแต่กินนม อาจแสดงอาการเป็นผิวหนังอักเสบ หลอดอาหารอักเสบ ลำไส้ทำงานผิดปกติ เช่นลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอักเสบ ก็ได้[2]ในสหรัฐ กว่า 90% ของการแพ้อาหารเกิดจากอาหาร แปดชนิด โดยที่นมวัวพบเห็นได้มากที่สุด[3] เพราะอาการแพ้ส่วนใหญ่เกิดจากอาหารเพียงไม่กี่ชนิด จึงได้มีข้อกำหนดในการระบุสารก่อภูมิแพ้อย่างเด่นชัด รวมไปทั้งนม บนฉลากอาหารขึ้น[4][5][6][7] หนึ่งในหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันคือการป้องกันการติดเชื้อ โดยการรับรู้โปรตีนที่ผิดแปลกไป โดยปกติไม่ควรทำปฏิกิริยากับโปรตีนในอาหารมากเกินไป กรดในกระเพาะอาหารทำให้โปรตีนส่วนใหญ่กลายเปลี่ยนรูปหมายถึงการสูญเสียการจัดองค์ประกอบ 3 มิติและสูญเสียการก่อภูมิแพ้ ความร้อนจากการปรุงอาหารอาจมีผลเช่นเดียวกัน ภูมิคุ้มกันเป็นอีกวิธีหนึ่งในการป้องกันไม่ให้ปฏิกิริยาตอบสนองต่อโปรตีนจากอาหาร

การแพ้นมวัว
นมหนึ่งแก้ว
สาขาวิชาallergology
ความชุก0.6%[1]

การจัดการทำได้โดยงดการรับประทานนมวัวและผลิตภัณฑ์นม[8] ในผู้ป่วยที่แพ้นมวัวอย่างรุนแรง(แพ้ IgE ในนม) การได้รับโปรตีนนมวัวแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นอันตรายได้[9][10]2% - 3% ของทารกและเด็กมีอาการแพ้นมวัว[8][11] เพื่อลดความเสี่ยง ทารกควรได้รักแต่นมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยจนอายุ 4 เดือน หรือ 6 เดือน ก่อนเริ่มกินนมวัว หากบุคคลในครอบครัวมีประวัติแพ้นมวัว อาจใช้นมผงเด็กที่ทำมาจากนมถั่วเหลืองแทน แต่ ประมาณ 10%-15%ของเด็กที่แพ้นมวัวมักแพ้ถั่วเหลืองด้วย[12] เด็กส่วนใหญ่จะไม่แพ้นมวัวเมื่อโตขึ้น แต่ประมาณ 0.5% จะยังแพ้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ได้มีการวิจัยภูมิคุ้มกันบำบัดสำหรับสารก่อภูมิแพ้ แต่ผลดีก็ยังไม่ชัดเจน[13][14]

อ้างอิง แก้

  1. Nwaru BI, Hickstein L, Panesar SS, Roberts G, Muraro A, Sheikh A (August 2014). "Prevalence of common food allergies in Europe: a systematic review and meta-analysis". Allergy. 69 (8): 992–1007. doi:10.1111/all.12423. PMID 24816523.
  2. Caffarelli, C; Baldi, F; Bendandi, B; Calzone, L; Marani, M; Pasquinelli, P; EWGPAG. (15 January 2010). "Cow's milk protein allergy in children: a practical guide". Italian journal of pediatrics. 36: 5. doi:10.1186/1824-7288-36-5. PMC 2823764. PMID 20205781.
  3. "Asthma and Allergy Foundation of America". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2012.
  4. FDA. "Food Allergen Labeling and Consumer Protection Act of 2004 Questions and Answers". สืบค้นเมื่อ 29 September 2017.
  5. FDA (18 December 2017). "Food Allergies: What You Need to Know". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-25. สืบค้นเมื่อ 12 January 2018.
  6. Urisu A, Ebisawa M, Ito K, Aihara Y, Ito S, Mayumi M, Kohno Y, Kondo N (2014). "Japanese Guideline for Food Allergy 2014". Allergol Int. 63 (3): 399–419. doi:10.2332/allergolint.14-RAI-0770. PMID 25178179.
  7. "Food allergen labelling and information requirements under the EU Food Information for Consumers Regulation No. 1169/2011: Technical Guidance" เก็บถาวร 2017-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (April 2015).
  8. 8.0 8.1 Lifschitz C, Szajewska H (February 2015). "Cow's milk allergy: evidence-based diagnosis and management for the practitioner". European Journal of Pediatrics. 174 (2): 141–50. doi:10.1007/s00431-014-2422-3. PMC 4298661. PMID 25257836.
  9. Taylor SL, Hefle SL (2006). "Food allergen labeling in the USA and Europe". Curr Opin Allergy Clin Immunol (Review). 6 (3): 186–190. doi:10.1097/01.all.0000225158.75521.ad. PMID 16670512.
  10. Taylor SL, Hefle SL, Bindslev-Jensen C, Atkins FM, Andre C, Bruijnzeel-Koomen C, และคณะ (2004). "A consensus protocol for the determination of the threshold doses for allergenic foods: how much is too much?". Clin Exp Allergy (Review. Consensus Development Conference. Research Support, Non-U.S. Gov't). 34 (5): 689–695. doi:10.1111/j.1365-2222.2004.1886.x. PMID 15144458.
  11. Savage J, Johns CB (2015). "Food allergy: epidemiology and natural history". Immunol Allergy Clin North Am. 35 (1): 45–59. doi:10.1016/j.iac.2014.09.004. PMC 4254585. PMID 25459576.
  12. Vandenplas Y (2017). "Prevention and Management of Cow's Milk Allergy in Non-Exclusively Breastfed Infants". Nutrients. 9 (7): 731. doi:10.3390/nu9070731. PMC 5537845. PMID 28698533.
  13. Martorell Calatayud C, Muriel García A, Martorell Aragonés A, De La Hoz Caballer B (2014). "Safety and efficacy profile and immunological changes associated with oral immunotherapy for IgE-mediated cow's milk allergy in children: systematic review and meta-analysis". Journal of Investigational Allergology & Clinical Immunology. 24 (5): 298–307. PMID 25345300.
  14. Brożek JL, Terracciano L, Hsu J, Kreis J, Compalati E, Santesso N, Fiocchi A, Schünemann HJ (2012). "Oral immunotherapy for IgE-mediated cow's milk allergy: a systematic review and meta-analysis". Clin. Exp. Allergy. 42 (3): 363–374. doi:10.1111/j.1365-2222.2011.03948.x. PMID 22356141.

External links แก้

การจำแนกโรค