เนื้อสาร
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เนื้อสาร (Mixture) หมายความถึง ลักษณะทางกายภาพของสาร ได้แก่ พื้นผิว สี เป็นต้น อาจรวมไปถึงสมบัติทางฟิสิกส์ อาทิ จุดเดือด ความแข็งแกร่ง (toughness) หรือแม้แต่โครงสร้างผลึกของพันธะ
โดยในการแบ่งเนื้อสารตามปกติเราจะใช้การผสมกันของสารเป็นเกณฑ์ โดยการผสมของสารจะดูว่ามีลักษณะดีแค่ไหน โดยดูขนาดของสารที่ผสมกัน ถ้ามีการผสมกันอย่างกลมกลืนจะเรียกว่า สารเนื้อเดียว แต่ถ้ามีการผสมอย่างหยาบๆ จะเรียกว่า สารเนื้อผสม สำหรับบางครั้งที่อนุภาคการผสมสารก่ำกึงกันระหว่างสารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม จะเรียกว่า คอลลอยด์
การแบ่งประเภทของสารตามเนื้อสารอย่างละเอียดสามารถดูได้ตามแผนผังด้านล่าง (อาจคลิกที่แผนผังเพื่อดูภาพแผนผังขนาดใหญ่ขึ้นได้)
เกณฑ์การแบ่งสารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม หรือ คอลลอยด์แก้ไข
การแบ่งชนิดสารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม หรือ คอลลอยด์มีอยู่สองเกณฑ์ดังนี้
ใช้การสังเกตเป็นเกณฑ์แก้ไข
- สารเนื้อเดียวจะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียว ถ้ามีสารผสมกันจะต้องไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่า บริเวณใดเป็นสารใด ด้วยตาเปล่าและกล้องจุลทรรศน์ได้
- คอลลอยด์จะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียว แต่มีสารผสมกันโดยไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่า บริเวณใดเป็นสารใด ด้วยตาเปล่าได้แต่อาจด้วยเครื่องมืออื่นได้
- สารเนื้อผสม จะมีลักษณะแตกต่างบนเนื้อสาร โดยสามารถบ่งชี้บริเวณของสารได้ด้วยตาเปล่า
เกณฑ์นี้มีข้อดีในเชิงปฏิบัติ แต่ยังไม่ชัดเจน จึงมีการอธิบายโดยใช้ขนาดของเนื้อสารเป็นเกณฑ์
ใช้ขนาดของเนื้อสารเป็นเกณฑ์แก้ไข
- สารเนื้อเดียวคือสารที่ทุกเฟส (phase) ในสารนั้นจะต้องมีขนาดใหญ่สุดของอนุภาคไม่เกิน 1 นาโนเมตร
- คอลลอยด์คือสารที่บางเฟส (phase) ในสารนั้นจะต้องมีขนาดใหญ่สุดของอนุภาคมากกว่า 1 นาโนเมตร แต่ไม่เกิน 1 ไมครอน
- สารเนื้อผสมคือสารที่บางเฟส (phase) ใหญ่ที่สุดในสารนั้นจะต้องมีขนาดใหญ่สุดของอนุภาคมากกว่า 1 ไมครอน
- สารไม่บริสุทธิ์
- เกณฑ์ในการแบ่งธาตุและสารประกอบ
- เกณฑ์ในการแยกสารแขวนลอยและสารแยกชั้น
- เกณฑ์ในการแยกสารแขวนลอยและสารแยกชั้น
- สสาร
- สถานะ (สสาร)
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |