การแข่งขันบาสเกตบอลชายชิงแชมป์ดิวิชัน 1 ของ NCAA

การแข่งขันบาสเกตบอลชิงแชมป์ดิวิชัน 1 ของ NCAA (อังกฤษ: NCAA Men's Division I Basketball Championship) หรือนิยมเรียกโดยทั่วไปว่า มาร์ชแมดเนสส์ (March Madness) หรือ บิ๊กแดนซ์ (Big Dance) เป็นการแข่งขันที่จัดเป็นประจำทุกปีราวเดือนมีนาคม โดยนำทีมบาสเกตบอลมหาวิทยาลัยในดิวิชัน 1 สังกัด NCAA ในสหรัฐอเมริกา มาแข่งเพื่อหาแชมป์ในแต่ละปี เริ่มจัดแข่งขันครั้งแรก ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482) [1]

ระบบการแข่งขัน

แก้

การแข่งขันเป็นแบบแพ้คัดออก ในระบบปัจจุบันซึ่งเริ่มนำมาใช้เมื่อ ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) คัดมหาวิทยาลัยเข้าแข่งขันรวม 65 แห่ง โดยมาจากแชมป์ของแต่ละคอนเฟอร์เรนซ์ ทั้งหมด 31 คอนเฟอร์เรนซ์ รวมกับทีมที่เหลือที่คัดเลือกโดยคณะกรรมการ ทีมอันดับที่ 64 และ 65 แข่งกันเองก่อนเรียกรอบเปิด (Opening round) หลังจากนั้นจะเข้าแข่งในระดับภูมิภาค (Regionals) โดยแบ่งเป็น 4 ภูมิภาค ได้แต่ West, Midwest, South และ East ภูมิภาคละ 16 ทีม[2] แข่งแบบทัวนาเมนต์ โดยที่ทีมอันดับหนึ่งจะพบกับทีมอันดับสิบหก ทีมอันดับสองพบกับทีมอันดับสิบห้า เป็นต้น แข่งทั้งหมดสี่รอบ ได้แก่ รอบแรก รอบสอง และรอบ Regionals อีกสองรอบ (นิยมเรียกรอบ Sweet Sixteen สำหรับสิบหกทีมสุดท้าย และรอบ Elite Eight สำหรับแปดทีมสุดท้าย) จนได้แชมป์ภูมิภาค มาแข่งในระดับสี่ทีมสุดท้าย (Final Four) แข่งอีกสองรอบ ได้แก่รอบสี่ทีมสุดท้ายและรอบชิงชนะเลิศ เพื่อเหลือทีมเดียวซึ่งจะเป็นแชมป์ในปีนั้น

รายชื่อมหาวิทยาลัยที่ชนะเลิศ

แก้

มหาวิทยาลัยที่ได้แชมป์มากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส หรือ ยูซีแอลเอ ได้แชมป์ 11 ครั้ง รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยเคนทักกี เป็นแชมป์ 7 สมัย[3] มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา แชเปิลฮิลล์ และ มหาวิทยาลัยเคนทักกี ได้แชมป์ 5 ครั้ง มหาวิทยาลัยดุ๊กได้แชมป์ 4 ครั้ง ต่อไปนี้เป็นรายชื่อมหาวิทยาลัยที่ชนะเลิศการแข่งขันในแต่ละปี โดยแบ่งเรียงตามชื่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัย จำนวนครั้งที่ชนะเลิศ ปีที่ชนะเลิศ
มหาวิทยาลัยแอริโซนา 1 1997
มหาวิทยาลัยอาร์คันซอ 1 1994
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ 1 1959
มหาวิทยาลัยซินซินแนติ 2 1961, 1962
วิทยาลัยซีตี้แห่งนิวยอร์ก 1 1950
มหาวิทยาลัยคอนเนตทิคัต 2 1999, 2004
มหาวิทยาลัยดุ๊ก 4 1991, 1992, 2001, 2010
มหาวิทยาลัยฟลอริดา 2 2006, 2007
มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ 1 1984
วิทยาลัยโฮลีครอส 1 1947
มหาวิทยาลัยอินดีแอนา 5 1940, 1953, 1976, 1981, 1987
มหาวิทยาลัยแคนซัส 3 1952, 1988, 2008
มหาวิทยาลัยเคนทักกี 7 1948, 1949, 1951, 1958, 1978, 1996, 1998
มหาวิทยาลัยลาซาล 1 1954
มหาวิทยาลัยลุยวิลล์ 2 1980, 1986
มหาวิทยาลัยลาโยลา ชิคาโก 1 1963
มหาวิทยาลัยมาร์เคว็ต 1 1977
มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ 1 2002
มหาวิทยาลัยมิชิแกน 1 1989
มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต 2 1979, 2000
มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา แชเปิลฮิลล์ 5 1957, 1982, 1993, 2005, 2009
มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตต 2 1974, 1983
มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต 1 1960
มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมาสเตต 2 1945, 1946
มหาวิทยาลัยออริกอน 1 1939
มหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก 2 1955, 1956
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด 1 1942
มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ 1 2003
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส 11 1964, 1965, 1967, 1968, 1969, 1970, 1971, 1972, 1973, 1975, 1995
มหาวิทยาลัยเนวาดา ลาสเวกัส 1 1990
มหาวิทยาลัยเท็กซัส เอลแพโซ 1 1966
มหาวิทยาลัยยูทาห์ 1 1944
มหาวิทยาลัยวิลล่าโนว่า 1 1985
มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน 1 1941
มหาวิทยาลัยไวโอมิง 1 1943

อ้างอิง

แก้
  1. Tournament History, NCAA (เรียกดูข้อมูล 25 ธันวาคม ค.ศ. 2007)
  2. คำว่าภูมิภาคนี้หมายถึงสถานที่จัดแข่งขัน ทีมที่มาจากคอนเฟอร์เรนซ์เดียวกันจะถูกกระจายไปแข่งยังภูมิภาคต่าง ๆ โดยพยายามไม่ให้เจอกันเองก่อนรอบแปดทีมสุดท้าย ดูที่ Principles and Procedures for Establishing the Men's Bracket (เรียกดูข้อมูล 25 ธันวาคม ค.ศ. 2007)
  3. History - Past Champions (เรียกดูข้อมูล 25 ธันวาคม ค.ศ. 2007)