การเลือกตั้งภาคบังคับ

การเลือกตั้งภาคบังคับ (อังกฤษ: compulsory voting) เป็นข้อบังคับตามรัฐธรรมนูญในบางประเทศ ซึ่งพลเมืองนั้นมี"หน้าที่"ใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยจะมีผลกระทบบางประการหากพลเมืองไม่ไปเลือกตั้งตามหน้าที่โดยปราศจากเหตุผลที่เหมาะสม ตามข้อมูลจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2017[1] มี 21 ประเทศในโลก (รวมถึง 10 ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกา) ใช้ระบบการเลือกตั้งภาคบังคับ โดยหลายประเทศนั้นไม่ได้บังคับใช้อย่างจริงจัง

ประเทศที่พลเมืองมีหน้าที่ใช้สิทธิเลือกตั้ง (ค.ศ. 2017)

การบังคับใช้ แก้

ประเทศไทย แก้

หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ได้แจ้งเหตุอันอาจไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือแจ้งเหตุ แล้วแต่เหตุนั้นไม่สมควร กฎหมายกำหนดให้เสียสิทธิบางประการดังต่อไปนี้[2]

  1. สิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส.
  2. สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว.
  3. สิทธิในการสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
  4. ต้องห้ามดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองและข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
  5. ต้องห้ามดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การจำกัดสิทธิทั้ง 5 ข้อ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปีนับแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และหากในการเลือกตั้งครั้งต่อไปไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีก ให้เริ่มนับเวลาการจำกัดสิทธิ 2 ปีใหม่จากวันที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิครั้งล่าสุด

บทอ่านเพิ่มเติม แก้

  • Brett, Judith (2019). From Secret Ballot to Democracy Sausage: How Australia Got Compulsory Voting. Text Publishing Co. ISBN 9781925603842.

อ้างอิง แก้

  1. The current (August 2020) listing appears to reflect the situation as of December 2017. The World Factbook - Field Listing: Suffrage เก็บถาวร 2021-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  2. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (19 December 2020). "การถูกจำกัดสิทธิ ระยะเวลาการถูกจำกัดสิทธิ และการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง". สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.