การอดอาหารประท้วงในประเทศไอร์แลนด์ ค.ศ. 1981

การอดอาหารประท้วงปี 1981 (อังกฤษ: 1981 hunger strike) เป็นกลุ่มการประท้วงที่กินระยะเวลาห้าปีระหว่างเดอะทรับเบิลส์โดยนักโทษผู้นิยมสาธารณรัฐไอร์แลนด์ในประเทศไอร์แลนด์เหนือ การประท้วงเริ่มต้นในรูปแบบการประท้วงผ้าห่มในปี 1976 ขณะรัฐบาลบริเตนถอนสถานะกลุ่มพิเศษ (นักโทษสงครามแทนที่จะเป็นสถานะทางอาชญากรรม) ให้กับนักโทษกึ่งกองกำลัง กระทั่งในปี 1978 ข้อขัดแย้งลุกลามขึ้นสู่การประท้วงสกปรก ที่ซึ่งนักโทษปฏิเสธที่จะออกจากห้องขังเพื่ออาบน้ำและใช้อุจจาระถูปกคลุมห้องขัง ในปี 1980 นักโทษรวมเจ็ดคนเริ่มการอดอาหารประท้วงครั้งแรก ซึ่งต่อมาสิ้นสุดใน 53 วัน[1]

ภาพวาดฝาผนังในเมืองเบลฟาสต์ รำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากการอดอาหารประท้วง

การอดอาหารประท้วงครั้งที่สองมีขึ้นในปี 1981 และเป็นเหมือนการประลองระหว่างนักโทษกับนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร มาร์กาเร็ต แท็ตเชอร์ หนึ่งในผู้อดอาหารประท้วง บอบบี แซนส์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาขณะประท้วงอดอาหาร สร้างความสนใจจากสื่อทั่วโลก[2] การประท้วงถูกยกเลิกภายหลังผู้ประท้วงสิบคนขาดอาหารจนถึงแก่ชีวิต รวมถึงแซนส์ พิธีศพของทั้งสิบคนมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 100,000 คน[1] การอดอาหารประท้วงนี้สร้างแนวคิดสุดโต่ง (radicalised) ในการเมืองชาตินิยมไอร์แลนด์ และเป็นแรงผลักดันสำคัญให้เกิดพรรคการเมืองชินเฟน[3]

ภูมิหลัง แก้

 
เทเรนซ์ แม็กสไวนี ผู้นิยมสาธารณรัฐไอร์แลนด์ อดอาหารจนเสียชีวิตในทัณฑสถานบริกซ์ทันในปี 1920

การประท้วงด้วยการอดอาหารในประเทศไอร์แลนด์เป็นธรรมเนียมที่ปรากฏมาตั้งแต่สมัยก่อนศาสนาคริสต์[4] มีการประท้วงอดอาหารของนักโทษผู้นิยมสาธารณรัฐไอร์แลนด์มาตั้งแต่ปี 1917 และมีผู้เสียชีวิตขณะอดอาหารประท้วงมาแล้ว 12 รายก่อนหน้า[5] ได้แก่ ธอมัส แอช, เทเรนซ์ แม็กสไวนี, ไมเคิล ฟิทซ์เจอรัลด์, โจ เมอร์ฟี, เดนนี บารี, ฌอน แม็กคอกี, ไมเคิล กอกาน และ แฟรงค์ สแตกก์[5] ภายหลังการเริ่มใช้การกักกันในปี 1971 สถานกักกัน ลอง เคช (Long Kesh) หรือต่อมารู้จักในชื่อทัณฑสถานเอชเอมเมซ ได้ถูกนำมาใช้สำหรับนักโทษสงคราม[6] โดยผู้ถูกกักกัน (internees) อาศัยในหอพักและปฏิบัติตนภายใต้รูปแบบโครงสร้างการสั่งการแบบกองกำลัง, ฝึกฝนทางทหารด้วยปืนปลอมทำจากไม้ และเรียนรู้เกี่ยวกับการรบแบบกองโจรและการเมือง

นักโทษที่ถูกตัดสินแล้วถูกปฏิเสธการได้รับสิทธิเช่นเดียวกับผู้ถูกกักกัน จนกระทั่งในเดือนกรกฎาคม 1972 ที่ซึ่งประกาศใช้สถานภาพกลุ่มพิเศษ ภายหลังการอดอาหารประท้วงของนักโทษ 40 คนจากกองทัพเฉพาะกาลสาธารณรัฐนิยมไอริช (IRA) นำโดยทหารผ่านศึก บิลลี แม็กคี สถานภาพกลุ่มพิเศษ หรือสถานะทางการเมืองนี้หมายความว่านักโทษจะได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับนักโทษสวคราม เช่น ไม่ต้องสวมเครื่องแบบทัณฑสถานและไม่ต้องทำหน้าที่ในทัณฑสถาน[6] เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 1976 เมอร์ลีน รีส์ รัฐมนตรีแห่งไอร์แลนด์เหนือภายใต้รัฐบาลของวิลซันประกาศว่าผู้ที่ถูกตัดสินด้วยความผิดฐานก่อการร้ายจะไม่ได้รับสถานภาพกลุ่มพิเศษอีกต่อไป[1] นโยบายนี้ไม่ได้นำมาใช้กับนักโทษเดิม แต่จะนำมาใช้กับผู้ที่ถูกตัดสินจำคุกตั้งแต่ 1 มีนาคม 1976[7] การยกเลิกสถานภาพนี้เป็นภัยร้ายแรงต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งมีการนำของกองกำลังกึ่งกองทัพภายในทัณฑสถานสามารถมีต่อกำลังพลของตน เช่นเดียวกับการใช้โฆษณาชวนเชื่อ[6]

การประท้วงผ้าห่มและการประท้วงสกปรก แก้

 
ทอมมี แม็กเคียร์นีผู้ประท้วงผ้าห่ม, สกปรก และอดอาหารในปี 1980

ในวันที่ 14 กันยายน 1976 นักโทษใหม่ คีรัน นิวเจนท์เริ่มการประท้วงผ้าห่ม ที่ซึ่งนักโทษจาก IRA และกองกำลังแห่งชาติปลดปล่อยไอร์แลนด์ (INLA) ปฏิเสธการสวมใส่เครื่องแบบนักโทษ และเลือกเปลือยหรือใช้ผ้าห่มเป็นเครื่องนุ่งห่มแทน[7] ในปี 1978 หลังการปะทะจำนวนหนึ่งระหว่างเจ้าหน้าที่ทัณฑสถานและนักโทษซึ่งออกจากห้องขังเพื่ออาบน้ำและ "ระบายของเสีย" (slop out) ได้กลายเป็นการประท้วงสกปรก ที่ซึ่งนักโทษปฏิเสธการออกไปอาบน้ำและเริ่มนำเอาอุจจาระละเลงบนผนังของห้องขัง[8] การประท้วงเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อเรียกร้องสถานะทางการเมืองกลับมาตาม "หลักห้าประการ" (Five Demands):

  1. สิทธิในการไม่ต้องสวมเครื่องแบบนักโทษ
  2. สิทธิในการไม่ต้องปฏิบัติงานของทัณฑสถาน
  3. สิทธิในการสมาคมกับนักโทษอื่น และในการจัดกิจกรรมทางการศึกษาและนันทนาการ
  4. สิทธิในการได้รับผู้เข้าเยี่ยมหนึ่งคน, จดหมายหนึ่งฉบับ และ พัสดุหนึ่งซองต่อสัปดาห์
  5. การรื้อฟื้นการลดโทษที่หายไปขณะประท้วงทั้งหมด[9]

ในช่วงแรก การประท้วงไม่ได้รับความสนใจมากนัก และแม้แต่ IRA ยังเชื่อว่านี่เป็นเพียงปัญหาข้างเคียง และเล็กน้อยเมื่อเทียบกับแคมเปญติดอาวุธของกลุ่ม[10][11] การประท้วงเริ่มได้รับความสนใจหลังโทมาส โอ ไฟเอช อาร์คบิชอปแห่งอาร์มาก์เดินทางเยี่ยมทัณฑสถานและประนามสภาพของห้องขังที่นั่น[12] ในปี 1979 อดีตสมาชิกรัฐสภาเวอร์นาเดทท์ แม็กอะเลิสคีลงเลือกตั้งรัฐสภายุโรปโดยสนับสนุนการประท้วงของนักโทษ และได้รับคะแนนเสียง 5.9% จากไอร์แลนด์เหนือ ถึงแม้ว่าชินเฟน จะประกาศให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ[13][14]

การประท้วงอดอาหารปี 1980 แก้

ในวันที่ 27 ตุลาคม 1980 เริ่มการประท้วงอดอาหาร มีนักโทษรวม 148 คนอาสาเป็นส่วนหนึ่งของการประท้วงนี้ แต่ท้ายที่สุดมีเพียงเจ็ดคนที่ถูกคัดเลือกเพื่อให้เท่ากับจำนวนผู้ลงนามในประกาศสาธารณรัฐเมื่ออีสเตอร์ปี 1916[15][16] ประกอบด้วยสมาชิก IRA คือ เบรนดัน ฮิวส์, ทอมมี แม็กเคียร์นี, เรย์มันด์ แม็กคาร์ที, ทอม แม็กฟีลี, ฌอน แม็กเคนนา, ลีโอ กรีน และสมาชิก INLA จอห์น นิกซัน[16]

ในวันที่ 1 ธันวาคม นักโทษสามรายที่คุกสตรีอาร์มากเข้าร่วมการประท้วงอดอาหาร ในจำนวนนี้รวมถึงไมเรด ฟาร์เรล ท่ามกลางสงครามประสาทระหว่างแกนนำ IRA กับรัฐบาลบริเตนนี้ แม็กเคนนาทรุดโทรมลง เข้าสู่ภาวะโคมา และเกือบเสียชีวิต รัฐบาลมีท่าทีจะยอมรับข้อเรียกร้องห้าประการภายใต้เอกสารขนาดสามสิบหน้าซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลง ขณะเอกสารกำลังเดินทางไปยังเบลฟาสท์ ฮิวส์ตัดสินใจที่จะช่วยชีวิตแม็กเคนนาและสิ้นสุดการประท้วงอดอาหารในวันที่ 18 ธันวาคม รวมระยะเวลา 53 วัน[9]

อนุสรณ์ แก้

 
อนุสรณ์สถานใกล้กับครอสแม็กเลน, มณฑลอามาก

ในปัจจุบันมีอนุสรณ์สถานและภาพเขียนเพื่อระลึกถึงการอดอาหารประท้วงในเมืองต่าง ๆ ทั่วไอร์แลนด์ เช่น เบลฟาสต์, ดับลิน, เดรี, ครอสแมกเลน และ คามโล[17] มีการระลึกประจำปีถึงผู้เสียชีวิตทุกคนทั่วทั่งไอร์แลนด์ และมีการเดินขบวนระลึกการประท้วงอดอาหารในเบลฟาสต์ทุกปี เช่นเดียวกับอาษิรวาทเกี่ยวกับประวัติชีวิตของบอบบี แซนส์[18][19] หลายเมืองในประเทศฝรั่งเศสมีถนนและสถานที่ตั้งชื่อตามบอบบี แซนส์ รวมทั้งในปารีสและเลอมังส์[2][20] รัฐบาลในเตหะราน ประเทศอิหร่าน เปลี่ยนขื่อถนนที่ตั้งสถานทูตสหราชอาณาจักรเป็นถนนบอบบี แซนส์ จากชื่อเดิม ถนนเชอร์ชิล[21][22]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "The Hunger Strike of 1981 – A Chronology of Main Events". CAIN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2007. สืบค้นเมื่อ 26 May 2007.
  2. 2.0 2.1 McKittrick, David (5 May 2006). "Remembering Bobby Sands". The Independent. UK. สืบค้นเมื่อ 26 May 2016.
  3. Taylor, Peter (1997). Provos The IRA & Sinn Féin. Bloomsbury Publishing. pp. 251–252. ISBN 0-7475-3818-2.
  4. Sweeney, George (1993). "Irish Hunger Strikes and the Cult of Self-Sacrifice". Journal of Contemporary History. 28 (3): 421–422. JSTOR 260640.
  5. 5.0 5.1 White, Robert (1993). Provisional Irish Republicans: An Oral and Interpretive History. Praeger Publishing. pp. 116–118. ISBN 978-0313285646.
  6. 6.0 6.1 6.2 Beresford, David (1987). Ten Men Dead. Atlantic Monthly Press. pp. 13–16. ISBN 0-87113-702-X.
  7. 7.0 7.1 "A Chronology of the Conflict – 1976". CAIN. สืบค้นเมื่อ 9 April 2007.
  8. Provos The IRA & Sinn Féin, p. 220.
  9. 9.0 9.1 Provos The IRA & Sinn Féin, pp. 229–234.
  10. Provos The IRA & Sinn Féin, p. 217.
  11. Holland, Jack; McDonald, Henry (1996). INLA Deadly Divisions. Poolbeg Press. p. 261. ISBN 1-85371-263-9.
  12. Beresford, David (5 October 1981). "The deaths that gave new life to an IRA legend". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 26 May 2007.
  13. Whyte, Nicholas (18 April 2004). "The 1979 European elections". CAIN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2007. สืบค้นเมื่อ 26 May 2007.
  14. Holland, Jack (7 March 2001). "A View North Anniversaries recall the rise of Sinn Féin". The Irish Echo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2007. สืบค้นเมื่อ 26 May 2007.
  15. White, Robert (2017). Out of the Ashes: An Oral History of the Provisional Irish Republican Movement. Merrion Press. p. 173. ISBN 9781785370939.
  16. 16.0 16.1 O'Rawe, Richard (2005). Blanketmen. New Island Books. pp. 103–104. ISBN 1-904301-67-3.
  17. "Hunger Strike Commemoration kicks off in Dublin". An Phoblacht. 8 March 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2007. สืบค้นเมื่อ 19 June 2007.
  18. "Remembering 1981: Hurson Anniversary marked across the country". An Phoblacht. 20 July 2006. สืบค้นเมื่อ 1 June 2007.
  19. "Collusion highlighted during Hunger Strike weekend". An Phoblacht. 6 May 2004. สืบค้นเมื่อ 1 June 2007.
  20. Randall, Colin (13 August 2004). "French intelligentsia ponders what should be done with killer". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 25 May 2007.
  21. Moallemian, Pedram (24 February 2004). "Naming Bobby Sands Street". The Blanket. สืบค้นเมื่อ 26 May 2007.
  22. O'Hearn, Denis (2006). Bobby Sands: Nothing But an Unfinished Song. Pluto Press. p. 377. ISBN 0-7453-2572-6.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้