ในทางภาษาศาสตร์ การสลับรหัส (อังกฤษ: code-switching) หรือ การสลับภาษา (language alternation) เกิดขึ้นเมื่อผู้พูดคนหนึ่งใช้ภาษามากกว่าหนึ่งภาษาหรือวิธภาษามากกว่าหนึ่งวิธภาษาสลับไปมาในระดับประโยค ผู้พูดหลายภาษาบางครั้งใช้ส่วนประกอบจากหลายภาษาเมื่อสนทนากัน ดังนั้น การสลับรหัสคือการใช้วิธภาษามากกว่าหนึ่งวิธภาษาในลักษณะที่สอดคล้องกับวากยสัมพันธ์และระบบเสียงของแต่ละวิธภาษา

มายา ดิยาบทำการสลับรหัสขณะพูดระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาอาหรับเลบานอน

ในคริสต์ทศวรรษ 1940 และ 1950 นักวิชาการหลายคนถือว่าการสลับรหัสเป็นการใช้ภาษาที่ต่ำกว่ามาตรฐาน[1] อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา นักวิชาการส่วนใหญ่มองว่าเป็นผลโดยธรรมชาติของการใช้สองภาษาและหลายภาษา[2][3]

ศัพท์ การสลับรหัส ยังมีการใช้นอกสาขาภาษาศาสตร์ นักวิชาการด้านวรรณกรรมบางคนใช้ศัพท์นี้เพื่ออธิบายลีลาวรรณกรรมที่มีส่วนประกอบจากภาษามากกว่าหนึ่งภาษา เช่นในนวนิยายของนักเขียนชาวอเมริกันเชื้อสายจีน อังกฤษเชื้อสายอินเดีย หรืออเมริกันเชื้อสายลาตินอเมริกา[4] ในการใช้งานทั่วไป บางครั้งจะใช้ศัพท์ การสลับรหัส เพื่ออ้างถึงการผสมภาษาอย่างไม่เป็นทางการแต่ค่อนข้างเสถียร เช่น สแปงกลิช, ทากลิช หรือฮิงกลิช[5] ทั้งในการใช้งานทั่วไปและในภาษาศาสตร์สังคม บางครั้งจะใช้ศัพท์ การสลับรหัส เพื่ออ้างถึงการสลับไปมาระหว่างภาษาย่อย วัจนลีลา หรือทำเนียบภาษา[6] ผู้พูดภาษาอังกฤษแบบอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาใช้การสลับเช่นนี้ในขณะที่พวกเขาย้ายจากสถานการณ์ที่เป็นทางการน้อยไปสู่สถานการณ์ที่เป็นทางการมากขึ้น[7] หากบุคคลสาธารณะเช่นนักการเมืองเป็นผู้ใช้การสลับดังกล่าว บางครั้งจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการส่งสัญญาณถึงความเสแสร้งหรือความไม่จริงใจ[8]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Weinreich, Uriel (1953). Languages in Contact. The Hague: Mouton.
  2. Goldstein, B.; Kohnert, K. (2005). "Speech, language and hearing in developing bilingual children: Current findings and future directions". Language, Speech, and Hearing Services in Schools. 36 (3): 264–67. doi:10.1044/0161-1461(2005/026). PMID 16175889.
    • Gutierrez-Clellen, V. (1999). "Language choice in intervention with bilingual children". American Journal of Speech-Language Pathology. 8 (4): 291–302. doi:10.1044/1058-0360.0804.291.
    • Kohnert, K.; Yim, D.; Nett, K.; Duran, P. F.; Duran, L. (2005). "Intervention with linguistically diverse preschool children: A focus on developing home language(s)". Language, Speech, and Hearing Services in Schools. 36 (3): 251–63. doi:10.1044/0161-1461(2005/025).
  3. Brice, A.; Brice, R. (2009). Language development: Monolingual and bilingual acquisition. Old Tappan, NJ: Merrill/Prentice Hall.
  4. Torres, Lourdes (2007). "In the Contact Zone: Code-Switching Strategies by Latino/a Writers". Melus. 32 (1): 75–96. doi:10.1093/melus/32.1.75.
  5. Zentella, Ana Celia (1997). Growing Up Bilingual. Malden, MA: Blackwell.
  6. Demby, Gene (3 April 2013). "How Code-Switching Explains The World". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2020. สืบค้นเมื่อ 20 September 2016.
  7. DeBose, Charles (1992). "Codeswitching: Black English and Standard English in the African-American linguistic repertoire". ใน Eastman, Carol (บ.ก.). Codeswitching. Clevedon: Multilingual Matters. pp. 157–167. ISBN 978-1-85359-167-9.
  8. Kanngieser, Anja (2012). "A sonic geography of voice: Towards an affective politics". Progress in Human Geography. 36 (3): 336–353. doi:10.1177/0309132511423969.