ในทางภาษาศาสตร์ ทวิภาษณ์ (อังกฤษ: diglossia) คือสถานการณ์ที่มีการใช้ภาษาสองภาษาหรือวิธภาษาสองวิธภาษาในชุมชนภาษาหนึ่ง ๆ โดยแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ นอกเหนือจากวิธภาษาท้องถิ่นหรือวิธภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันของชุมชน (เรียกว่า "วิธภาษาต่ำ") แล้ว ยังมีการใช้วิธภาษาที่สองซึ่งผ่านการจัดประมวล (เรียกว่า "วิธภาษาสูง") ในบางสถานการณ์ เช่น งานวรรณกรรม การเรียนรู้แบบเป็นทางการ พิธีศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานการณ์เฉพาะเจาะจงอื่น ๆ โดยไม่นำไปใช้อย่างปกติในการสนทนาทั่วไป[4] ในกรณีส่วนใหญ่ วิธภาษาสูงไม่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ แต่ผู้พูดมีระดับความคล่องแตกต่างกันไปในชุมชนที่วิธภาษาทั้งสองปรากฏอยู่ อนึ่ง คำว่า "สูง" และ "ต่ำ" ในที่นี้ไม่เกี่ยวข้องกับชั้นสังคมแต่อย่างใด[5]

ป้ายสถานีของสถานีรถไฟชุมทางฮาปูร์ในอินเดียเหนือ ปรากฏรูปเขียนสองแบบระหว่างทำเนียบภาษาทางการ 2 ภาษากับภาษาถิ่นฮินดูสตานี[1][2] ซึ่งเป็นตัวอย่างของ ไตรภาษณ์[3]

วิธภาษาสูงในภาวะทวิภาษณ์อาจเป็นรูปแบบที่เก่ากว่าของภาษาเดียวกัน (อย่างในยุโรปสมัยกลางที่ยังคงใช้ภาษาละตินในสถานการณ์ทางการ แม้ว่าภาษาพูดจะเริ่มแตกออกไปก็ตาม) อาจเป็นภาษาที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย หรืออาจเป็นภาษาย่อยที่ต่างออกไปแต่ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น ในโลกอาหรับมีการใช้ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ควบคู่ไปกับวิธภาษาอาหรับท้องถิ่น; ในประเทศกรีซ ภาษากรีกใหม่มีสองรูปแบบคือกาซาเรวูซาซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากภาษากรีกโบราณและใช้ในภาษาเขียนเป็นหลัก และดีโมตีจีซึ่งเป็นภาษาพูดที่นิยมใช้กันทั่วไป;[6] ในอเมริกากลาง วงศัพท์บางส่วนของภาษาการีฟูนามีภาวะทวิภาษณ์จากสถานะเพศ โดยชายและหญิงจะใช้คำที่แตกต่างกันสำหรับมโนทัศน์เดียวกัน[7]

สถานการณ์ที่มีการใช้ภาษามากกว่าสองภาษาหรือวิธภาษามากกว่าสองภาษาวิธภาษาในชุมชนภาษาเดียวกันโดยมีการแบ่งหน้าที่ของภาษาหรือวิธภาษาเหล่านั้นอย่างชัดเจนเช่นเดียวกับทวิภาษณ์ เรียกว่า พหุภาษณ์ (polyglossia)[8] ในกรณีที่มีสามภาษาหรือสามวิธภาษา อาจเรียกว่า ไตรภาษณ์ (triglossia) ตัวอย่างหนึ่งของสังคมไตรภาษณ์ ได้แก่ ประเทศลักเซมเบิร์ก มีวิธภาษาสูงสองวิธภาษาคือภาษาเยอรมันซึ่งใช้ในการศึกษาระดับประถม การศาสนา และวารสารสนเทศ และภาษาฝรั่งเศสซึ่งใช้ในการศึกษาระดับมัธยม ระบบราชการ และป้ายจราจร ส่วนวิธภาษาต่ำคือภาษาลักเซมเบิร์กซึ่งใช้ที่บ้านหรือที่ทำงานเป็นต้น[9]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Kachru, Braj B.; Kachru, Yamuna; Sridhar, S. N. (2008). Language in South Asia (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 316. ISBN 978-0-521-78141-1. English, the language of the despised colonial ruler, obviously was made unacceptable, and there emerged a general consensus that the national language of free and independent India would be "Hindustani," meaning Hindi/Urdu, essentially digraphic variants of the same spoken language, cf. C. King (1994) and R. King (2001). Hindi is written in Devanagari script and Urdu in a derivative of the Persian script, itself a derivative of Arabic.
  2. Cameron, Deborah; Panović, Ivan (2014). Working with Written Discourse (ภาษาอังกฤษ). SAGE Publishing. p. 52. ISBN 978-1-4739-0436-1. Hindi and Urdu, two major languages of the Indian subcontinent, have also featured frequently in discussions of digraphia, and have been described as varieties of one language, differentiated above all by the scripts normally used to write them.
  3. Goswami, Krishan Kumar (1994). Code Switching in Lahanda Speech Community: A Sociolinguistic Survey (ภาษาอังกฤษ). Kalinga Publications. p. 14. ISBN 978-81-85163-57-4. In a Hindi-Urdu speech community, we find Hindi (high), Urdu (high) and Hindustani in triglossia (Goswami 1976, 1978) where Hindi and Urdu are in the state of horizontal diglossia while Hindustani and Hindi-Urdu are in the vertical diglossia.
  4. Ferguson, Charles (1959). "Diglossia". Word. 15 (2): 325–340. doi:10.1080/00437956.1959.11659702. S2CID 239352211.
  5. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2553, หน้า 134.
  6. ทวิภาษณ์ ที่สารานุกรมบริตานิกา
  7. Devonish, Hubert (2002). "Notes on Gender, Ethnicity and Language: The Case of Indigenous Languages in the Caribbean". University of the West Indies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-05. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
  8. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2553, หน้า 346.
  9. Schiffman, Harold (2005). "Triglossia in Luxembourg". University of Pennsylvania School of Arts and Sciences. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.