การล้อมมารีอูปอล
การล้อมมารีอูปอล เป็นการสู้รบทางทหารอย่างต่อเนื่องระหว่างยูเครน รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย ระหว่าง การรุกรานทางตะวันออกของยูเครน และ การรุกรานทางใต้ของยูเครน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ที่เริ่มเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ และสิ้นสุดในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เมื่อรัสเซียประกาศว่ากองกำลังยูเครนที่เหลืออยู่ใน มารีอูปอล ยอมจำนนหลังจากที่พวกเขาได้รับคำสั่งให้ยุติการสู้รบ
การล้อมมารีอูปอล | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรุกยูเครนตะวันออกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรุกรานยูเครนของรัสเซีย | |||||||
สภาพถนนที่ได้รับความเสียหายระหว่างการล้อม | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ยูเครน | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
อะเลคซันดร์ ดวอร์นีคอฟ (ผู้บัญชาการกองกำลังรัสเซียในยูเครน)[4] มีฮาอิล มีซินต์เซฟ[5] (Head of the NDCC) อันเดรย์ ซูโฮเวตสกี †[6] (41st CAA, place of death disputed) |
วอลอดือมือร์ บารันยุก (เชลย)[7][8] (36th Separate Marine Brigade)[9] |
มารีอูปอลตั้งอยู่ในแคว้นดอแนตสก์ในยูเครน แต่ถูกสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์อ้างสิทธิ์ กองกำลังรัสเซียปิดล้อมเมืองอย่างสมบูรณ์ในวันพุธที่ 2 มีนาคม หลังจากนั้นพวกเขาก็ค่อย ๆ เข้ายึดเมืองได้ เมื่อถึงวันเสาร์ที่ 22 เมษายน กองกำลังยูเครนที่เหลือได้ถอยทัพไปยังโรงรีดเหล็กอาซอว์สตัลซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการป้องกันอย่างสูง
กาชาด อธิบายถึงสถานการณ์ดังกล่าวว่า "พังพินาศ" และทางการยูเครนกล่าวหารัสเซียว่าสร้างวิกฤตด้านมนุษยธรรมครั้งใหญ่ในเมือง โดยเจ้าหน้าที่ของเมืองรายงานว่ามีพลเรือนเสียชีวิตประมาณ 21,000 คน เจ้าหน้าที่ของยูเครนยังรายงานด้วยว่าอย่างน้อย 95% ของเมืองถูกทำลายระหว่างการสู้รบ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการทิ้งระเบิดของรัสเซีย
อ้างอิง
แก้- ↑ "Russia says separatists 'tightening the noose' around Mariupol -RIA". Reuters. 18 March 2022. สืบค้นเมื่อ 29 March 2022.
- ↑ Daniel Buffey; Lorenzo Tondo (18 March 2022). "Fighting reaches central Mariupol as shelling hinders rescue attempts". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2022. สืบค้นเมื่อ 20 March 2022.
- ↑ The Ukrainian authorities declare an end to the combat mission in Mariupol after weeks of Russian siege.
- ↑ Miriam Berger; Bryan Pietsch (11 April 2022). "What to know about Russia's new top commander in Ukraine". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
- ↑ "Russian 'Butcher of Mariupol' blamed for worst Ukraine war atrocities". The New York Post. 24 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2022. สืบค้นเมื่อ 25 March 2022.
- ↑ Batchelor, Tom; Dalton, Jane (3 March 2022). "Russian Major General Andrei Sukhovetsky killed by Ukrainians in 'major demotivator' for invading army". Independent (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2022. สืบค้นเมื่อ 3 March 2022.
- ↑ "Un teniente coronel ucraniano capturado: Nuestro gobierno nos engaño en Mariúpol". SANA News (ภาษาสเปน). 8 May 2022.
- ↑ "Foreign fighters seeking 'adventure' in Ukraine – captured Kiev colonel". Azerbaycan 24. 8 May 2022.
- ↑ "Two defenders of Mariupol became Heroes of Ukraine". 19 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2022. สืบค้นเมื่อ 19 March 2022.