การล้อมมอลตา (สงครามโลกครั้งที่สอง)

การล้อมมอลตา ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการทัพทางทหารในเขตสงครามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ถึง เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1942 การสู้รบเพื่อควบคุมเกาะมอลตาที่มีสำคัญทางยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นดินแดนอาณานิคมของบริติช การสู้รบระหว่างกองทัพอากาศและกองทัพเรือของอิตาลีและเยอรมันเข้าปะทะกับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร (RAF) และราชนาวี

การล้อมมอลตา
ส่วนหนึ่งของ เขตสงครามเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลางใน สงครามโลกครั้งที่สอง

บุคลากรทหารและพลเรือนกำลังกวาดเศษซากระเบิดจาก Kingsway ในวัลเลตตา ในปี ค.ศ. 1942
วันที่11 มิถุนายน ค.ศ. 1940 – 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942
(2 ปี, 5 เดือน, 1 สัปดาห์ และ 2 วัน)[1]
สถานที่
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตร
คู่สงคราม

 สหราชอาณาจักร

 ออสเตรเลีย
 แคนาดา
 นิวซีแลนด์
 แอฟริกาใต้

 อิตาลี
 ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร Andrew Cunningham
สหราชอาณาจักร William Dobbie
สหราชอาณาจักร Hugh Lloyd
สหราชอาณาจักร Keith Park
นาซีเยอรมนี Hans Geisler
นาซีเยอรมนี อัลแบร์ท เค็สเซิลริง
นาซีเยอรมนี Martin Harlinghausen
ราชอาณาจักรอิตาลี Francesco Pricolo
กำลัง
เครื่องบินขับไล่ 716 ลำ ตลอดช่วงเวลาของการทัพ[2] เครื่องบินขับไล่ ป. 2,000 ลำ ตลอดช่วงเวลาของการทัพ
ความสูญเสีย
เครื่องบินขับไล่ 369 ลำ(อากาศ)
เครื่องบินขับไล่ 64 ลำ (พื้นดิน)[2]
เรือรบ 1 ลำ[3]
เรือบรรทุกอากาศยาน 2 ลำ[3]
เรือลาดตระเวน 4 ลำ[4]
เรือพิฆาต 19 ลำ[4]
เรือดำน้ำ 38 ลำ[3]
นักบิน 2,301 นายที่เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ[5]
อาคารบ้านเรือน 30,000 หลังที่ถูกทำลายหรือเสียหาย[6]
พลเรือน 1,300 คนที่เสียชีวิต[6]
เครื่องบินเยอรมัน 357 ลำ
เครื่องบินอิตาลี 175 ลำ[2]
สูญเสียกองเรือขนส่งของกองทัพเรืออิตาลี คิดเป็น 72 เปอร์เซ็นต์
สูญเสียกองเรือเดินสมุทรของฝ่ายอักษะ คิดเป็น 23 เปอร์เซ็นต์[7]
จมเรือเดินสมุทร 2,304 ลำ[8]
มีผู้เสียชีวิตที่ทะเล 17,240 คน[9]
~เรืออูของเยอรมัน 50 ลำ(ในปฏิบัติการในเขตสงครามเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลางทั้งหมด)[3]
เรือดำน้ำอิตาลีสูญเสีย~16 ลำ[3]
แม่แบบ:Campaignbox Mediterranean and Middle East Theatreแม่แบบ:Campaignbox Mediterranean Campaign

การเปิดฉากแนวรบใหม่ในแอฟริกาเหนือในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ได้เพิ่มความสำคัญต่อมอลตามากขึ้นแล้ว กองทัพอากาศและกองทัพเรือบริติชบนเกาะได้เข้าโจมตีเรือฝ่ายอักษะที่ขนเสบียงทีสำคัญและการเสริมกำลังจากยุโรป เชอร์ชิลได้เรียกเกาะแห่งนี้ว่า"เรือบรรทุกเครื่องบินที่ไม่มีวันจม"[10] นายพลแอร์วีน ร็อมเมิล ในฐานะผู้บัญชาการภาคสนามโดยพฤตินัยของกองทัพฝ่ายอักษะในแอฟริกาเหนือ ได้ตระหนักความสำคัญอย่างรวดเร็ว ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941 เขาได้กล่าวเตือนว่า "หากปราศจากมอลตา ฝ่ายอักษะจะต้องพบจุดจบโดยสูญเสียการควบคุมแอฟริกาเหนือ"[1]

ฝ่ายอักษะได้ตัดสินใจที่จะทำการทิ้งระเบิดหรือไม่ก็ปิดล้อมเกาะมอลตาจนกว่าฝ่ายตรงข้ามจะยอมจำนน โดยทำการโจมตีท่าเรือ เมือง นคร และเรือขนส่งของฝ่ายสัมพันธมิตรที่คอยส่งเสบียงมายังเกาะ มอลตาเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนาแน่นที่สุดในสงคราม ลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศเยอรมัน) และ Regia Aeronautica (กองทัพอากาศอิตาลี) ได้ทำการบินทิ้งระเบิดทั้งหมด 3,000 ครั้ง ทิ้งระเบิดจำนวน 6,700 ตัน บริเวณแกรนด์ฮาร์เบอร์เพียงลำพัง ในช่วงเวลาสองปีในความพยายามทำลายการป้องกันของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรและท่าเรือ ความสำเร็จที่น่าจะเป็นไปได้ที่จะทำการยกพลขึ้นบกของกองกำลังผสมของเยอรมัน-อิตาลี (ปฏิบัติการเฮอร์คิวริส) ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทหารโดดร่มเยอรมัน (ฟัลเชียร์มเยเกอร์) แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้น ในเหตุการณ์นี้ กองเรือขนส่งของฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถขนส่งเสบียงและเสริมกองกำลัง ในขณะที่กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรทำการปกป้องน่านฟ้าบนเกาะ แม้ว่าราคาที่ดีในวัสดุและชีวิต ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1942 ฝ่ายอักษะได้พบความปราชัยที่ยุทธการที่อัลอะละมัยน์ครั้งที่สอง และกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรทำการยกพลขึ้นบกในโมร็อกโกและอัลจีเรียของวิชีฝรั่งเศส ภายใต้ปฏิบัติการคบเพลิง ฝ่ายอักษะได้หันเหความสนใจไปที่ยุทธการที่ตูนีเซียและการโจมตีมอลตาก็ได้ลดความสำคัญอย่างรวดเร็ว การปิดล้อมได้สิ้นสุดลงอย่างมีประสิทธิภาพในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1942[1]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1942 กองทัพอากาศและกองทัพเรือได้เปิดฉากจากมอลตาเพื่อทำการรุก เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 พวกเขาได้จมเรือฝ่ายอักษะ 230 ลำใน 164 ลำ อัตราการจมเรือที่สูงของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงคราม ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในมอลตามีบทบาทสำคัญในความสำเร็จในแอฟริกาเหนือ[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Taylor 1974, p. 182.
  2. 2.0 2.1 2.2 Bungay 2002, p. 64.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Spooner 1996, p. 5.
  4. 4.0 4.1 Spooner 1996, p. 3.
  5. Spooner 1996, p. 8.
  6. 6.0 6.1 Spooner 1996, p. 11.
  7. Bungay 2002, p. 66.
  8. Spooner 1996, p. 343.
  9. Spooner 1996, p. 326.
  10. Nora Boustany (July 13, 2001). "The Consummate Diplomat Wants Malta on the Map". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
  11. Spooner 1996, p. 337.